พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืน
การขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นจำนอง และผลของการบอกกล่าวเลิกสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากเรือนพิพาทโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะทำสัญญาขายฝาก จำเลยไม่ได้ตกลงกับโจทก์ในเรื่องจำนองแต่อย่างใด นิติกรรมจำนองที่จำเลยทำจึงไม่มีอยู่เลย สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้ว คำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้ว คำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นจำนอง และผลของการบอกกล่าวเลิกสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากเรือนพิพาทโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายในขณะทำสัญญาขายฝากจำเลยไม่ได้ตกลงกับโจทก์ในเรื่องจำนองแต่อย่างใดนิติกรรมจำนองที่จำเลยทำจึงไม่มีอยู่เลยสัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้วคำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้วคำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลเกี่ยวกับการไถ่ถอนการขายฝาก และการเกิดหนี้ตามคำพิพากษา
คดีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้นั้น ศาลบังคับให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วัน ย่อมเป็นการบังคับทั้งโจทก์และจำเลย แต่เมื่อพ้นระยะเวลา 15 วันตามคำบังคับจะถือว่าเป็นอันหมดสิทธิไถ่ถอนยังไม่ได้ เพราะคำพิพากษามิได้กล่าวไว้เช่นนั้น เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วย่อมเกิดเป็นหนี้ตามคำพิพากษาขึ้น โจทก์จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น โดยโจทก์จำเลยต่างก็กลายสภาพเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันจะบังคับกันได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 หาใช่เป็นการขยายระยะเวลาไถ่ถอนไม่.
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วย่อมเกิดเป็นหนี้ตามคำพิพากษาขึ้น โจทก์จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น โดยโจทก์จำเลยต่างก็กลายสภาพเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันจะบังคับกันได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 หาใช่เป็นการขยายระยะเวลาไถ่ถอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาขายฝาก – จำนอง สิทธิในการนำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าความจริงจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 4,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี รวมกันเข้าไว้ในต้นเงินมีกำหนดเวลากู้กัน 1 ปี แต่โจทก์ขอให้ทำเป็นสัญญาขายฝากกันไว้ไม่ต้องทำสัญญากู้และจำนองสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง ข้อต่อสู้ของจำเลยดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกล่าวถึงความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดของสัญญาขายฝาก โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบพยานในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย มิใช่การสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (อ้างฎีกาที่ 295/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมและจำนอง โจทก์ห้ามใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายฝาก
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าความจริงจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 4,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี รวมกันเข้าไว้ในต้นเงินมีกำหนดเวลากู้กัน 1 ปี แต่โจทก์ขอให้ทำเป็นสัญญาขายฝากกันไว้ไม่ต้องทำสัญญากู้และจำนอง สัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง ข้อต่อสู้ของจำเลยดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกล่าวถึงความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดของสัญญาขายฝาก โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบพยานในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย มิใช่การสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
(อ้างฎีกาที่ 295/2508)
(อ้างฎีกาที่ 295/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นสัญญาจำนอง จำเลยมีสิทธิสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าความจริงจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 4,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี รวมกันเข้าไว้ในต้นเงินมีกำหนดเวลากู้กัน 1 ปี แต่โจทก์ขอให้ทำเป็นสัญญาขายฝากกันไว้ไม่ต้องทำสัญญากู้และจำนองสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง ข้อต่อสู้ของจำเลยดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกล่าวถึงความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดของสัญญาขายฝาก โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบพยานในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้ายมิใช่การสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (อ้างฎีกาที่ 295/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนโมฆะ แต่มีผลแสดงเจตนา หากมีเจตนาทำแทนสัญญากู้ สิทธิยังคงอยู่กับจำเลย
สัญญาขายฝากที่ดินมือเปล่าที่โจทก์นำมาฟ้องมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะและถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาทำแทนสัญญากู้ จำเลยมิได้มีเจตนาสละสิทธิการครอบครองแล้ว ถึงหากโจทก์จะได้ยึดถือที่พิพาทมาบ้าง เสียภาษีบำรุงท้องที่นา โจทก์ก็คงมีฐานะเพียงเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทในฐานะเป็นผู้แทนจำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ แต่มีผลแสดงเจตนา หากมีเจตนาทำแทนสัญญากู้ สิทธิการครอบครองยังอยู่กับจำเลย
สัญญาขายฝากที่ดินมือเปล่าที่โจทก์นำมาฟ้องมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะและถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาทำแทนสัญญากู้ จำเลยมิได้มีเจตนาสละสิทธิการครอบครองแล้ว ถึงหากโจทก์จะได้ยึดถือที่พิพาทมาบ้างเสียภาษีบำรุงท้องที่บ้างโจทก์ก็คงมีฐานะเพียงเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทในฐานะเป็นผู้แทนจำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้นย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาลวงที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้ว จะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น