พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่ไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน และความไม่ชัดเจนของข้อตกลงค่าก่อสร้าง ทำให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจที่จำเลยมอบอำนาจให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการจัดทำแบบแปลนและก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดของจำเลย มิได้มีข้อกำหนดว่าใครจะเป็นผู้ออกเงินค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินเท่าใดและโจทก์ในฐานะ ผู้รับมอบอำนาจจะได้รับค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์อย่างใดบ้าง ใบมอบอำนาจดังกล่าวยังไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนคงถือได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อประสานงานและเสนอขออนุมัติแบบแปลน แผนผัง การวางเงินมัดจำกับทางจังหวัดและกรมธนารักษ์เท่านั้น ส่วนการก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดจะได้มีการตกลงทำสัญญากันอีกต่างหาก
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าโจทก์คิดค่าก่อสร้างแล้ว เมื่อหักค่าใช้จ่ายออกโจทก์จะมีกำไรเป็นจำนวนเงินดังกล่าวในฟ้องแต่ โจทก์ก็มิได้บรรยายว่าโจทก์จะคิดค่าก่อสร้างจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงอะไร เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ทำสัญญากันไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่แจ้งชัดพอที่จะฟังได้ว่าโจทก์ขาดประโยชน์เพราะอะไรและโจทก์จะมีกำไรจากการก่อสร้างอย่างไร โจทก์จึงขอให้จำเลยชดใช้ค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวไม่ได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าโจทก์คิดค่าก่อสร้างแล้ว เมื่อหักค่าใช้จ่ายออกโจทก์จะมีกำไรเป็นจำนวนเงินดังกล่าวในฟ้องแต่ โจทก์ก็มิได้บรรยายว่าโจทก์จะคิดค่าก่อสร้างจากจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงอะไร เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ทำสัญญากันไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่แจ้งชัดพอที่จะฟังได้ว่าโจทก์ขาดประโยชน์เพราะอะไรและโจทก์จะมีกำไรจากการก่อสร้างอย่างไร โจทก์จึงขอให้จำเลยชดใช้ค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่า, สิทธิทายาท, อายุความฟ้องแย้ง, การจดทะเบียนเช่า
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลงและถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้คู่สัญญาจะตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็ต้องตกทอดไปยังทายาท
สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ฉ. ผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และมีข้อตกลงให้เช่าช่วงได้ เมื่อจำเลยเช่ายังไม่ครบกำหนดและให้เช่าช่วงตามข้อตกลง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีอำนาจฟ้อง และที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. จดทะเบียนการเช่า เป็นการให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้จดทะเบียนการเช่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังนี้ จำเลยจึงฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าได้
การจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ให้เช่าที่จะต้องกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมหน้าที่ดังกล่าวย่อมตกทอดไปยังทายาท การที่ผู้เช่าฟ้องบังคับให้จดทะเบียนสิทธิการเช่าถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่ผู้เช่าทราบว่าผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม.
สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ฉ. ผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และมีข้อตกลงให้เช่าช่วงได้ เมื่อจำเลยเช่ายังไม่ครบกำหนดและให้เช่าช่วงตามข้อตกลง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีอำนาจฟ้อง และที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. จดทะเบียนการเช่า เป็นการให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้จดทะเบียนการเช่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังนี้ จำเลยจึงฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าได้
การจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ให้เช่าที่จะต้องกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมหน้าที่ดังกล่าวย่อมตกทอดไปยังทายาท การที่ผู้เช่าฟ้องบังคับให้จดทะเบียนสิทธิการเช่าถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่ผู้เช่าทราบว่าผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: การตีความลักษณะสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษหรือไม่ และผลต่อการบังคับสัญญา
สัญญาเช่าห้องพิพาทไม่มีข้อความบ่งว่ามีข้อตกลงพิเศษที่โจทก์จะให้เช่าถึง 10 ปี ที่จำเลยเข้าซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงห้องพิพาทกับจ่ายเงินกินเปล่าแก่โจทก์ จึงเป็นธรรมดาของผู้เช่าที่จะต้องกระทำเพื่อซ่อมแซมตกแต่งปรับปรุงให้สวยงามและมีความสะดวกในการใช้สอยให้ได้รับอย่างสมประโยชน์ ส่วนเงินกินเปล่าย่อมถือเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า สัญญาเช่าห้องพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ประเด็นนอกประเด็นข้อพิพาทเดิม ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยและจำเลยรับจะโอนที่พิพาทเป็นการตอบแทนโจทก์หรือไม่ ดังนี้การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาโอนที่พิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งโจทก์จะชำระราคาในวันจดทะเบียนโอน แต่โจทก์มิได้ขอชำระหนี้หรือนำเงินที่ต้องชำระแก่จำเลยไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ จำเลยจึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา นั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ความรับผิดของลูกหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน แม้ชื่อสัญญาจะเป็นค้ำประกัน
แม้สัญญาระบุชื่อว่าสัญญาค้ำประกัน แต่ข้อความในสัญญามีว่าจำเลยที่ 3 จ้างโจทก์ประกันตัวจำเลยที่ 1 ไปจากศาลแล้วจำเลยที่ 3 จะปฏิบัติตามนัดทุกครั้ง โดยการมอบตัวจำเลยที่ 1 ณ สถานที่ส่งตัว ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่สามารถส่งตัวจำเลยที่ 1 ได้เพราะจำเลยที่ 1 หลบหนีเป็นเหตุให้โจทก์ถูกปรับเป็นเงินมากน้อยเท่าใด จำเลยที่ 3 ยอมชดใช้เงินแทนโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทนธรรมดาที่ใช้บังคับกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ชำระหนี้คือส่งตัวจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยตรง หาใช่เป็นการผูกพันตนเข้าชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้อันเป็นการค้ำประกันไม่ ฉะนั้นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ว่าไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689, 700 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในลักษณะ 11 เรื่องค้ำประกันจะนำมาใช้กับคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยทั้งสามทำสัญญากับโจทก์ยอมชดใช้เงินค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระต่อศาลฐานผิดสัญญาประกันรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระให้โจทก์สิ้นเชิง จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วนั้น แม้โจทก์แก้ฎีกายอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วบางส่วนแต่ก็เป็นการได้รับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี หาเป็นเหตุให้หนี้ที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญา ลดลงไม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเต็มจำนวน.
จำเลยทั้งสามทำสัญญากับโจทก์ยอมชดใช้เงินค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระต่อศาลฐานผิดสัญญาประกันรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระให้โจทก์สิ้นเชิง จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วนั้น แม้โจทก์แก้ฎีกายอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วบางส่วนแต่ก็เป็นการได้รับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี หาเป็นเหตุให้หนี้ที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญา ลดลงไม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเต็มจำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าเดิมเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ และการงดสืบพยานหลักฐาน
คำฟ้องแย้งของจำเลยเพียงแต่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าตึก พิพาทกับจำเลยอีก 13 ปี นับแต่วันครบกำหนดสัญญาเช่าเดิม ตามที่จำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงกันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนด 12 ปี จำเลยจะนำสืบว่ามีข้อตกลงกับผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อนี้ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึก พิพาทเช่นนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ทำให้คดีเสร็จไปเฉพาะ แต่ประเด็นบางข้อ เป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา228(3) หาใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และต่อสู้ว่าการเช่า ตึก พิพาทมีข้อตกลงให้จำเลยออกค่าก่อสร้างโดยผู้ให้เช่าจะให้จำเลยเช่า ตึก พิพาทมีกำหนดไม่น้อยกว่า25 ปี เพียงแต่ทำสัญญาเช่าไว้มีกำหนด 12 ปีก่อน จำเลยชอบที่จะนำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิเช่า ต่ออีกเพราะได้ออกเงินค่าก่อสร้างเป็นการตอบ แทนเท่ากับเป็นการนำสืบหักล้างสัญญานั้นว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมพิจารณาฟ้องแย้งค่าเสียหายกับฟ้องเดิมในสัญญาต่างตอบแทน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่า บ้านและอาคารโจทก์โดยไม่ได้ทำสัญญาเช่าขอให้ขับไล่ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ขอให้ศาลบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนโดยยินยอมให้จำเลยเช่า อาคารและบ้านมีกำหนดเวลา20 ปี หากโจทก์ไม่อาจให้เช่า ได้ก็ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 500,000 บาท คำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายจึงเกี่ยวเนื่องกับคำขอที่บังคับให้ปฏิบัติตามสัญญานั่นเอง เมื่อศาลล่างยอมรับฟ้องแย้งในส่วนที่ขอให้บังคับตามสัญญาต่างตอบแทน คำขอในส่วนค่าเสียหายเดือนละ500,000 บาท จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลล่างจึงต้องรับฟ้องแย้งในส่วนนี้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3165/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังเลิกสัญญา: การหักกลบหนี้และการคืนเงินล่วงหน้า
การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา392บัญญัติให้เป็นไปตามมาตรา369ซึ่งบัญญัติว่า'ในสัญญาต่างตอบแทนนั้นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด'เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางกับจำเลยโดยจำเลยต้องจ่ายเงินล่วงหน้าร้อยละ10ของค่าจ้างและเงินจำนวนนี้ยอมให้หักคืนร้อยละ15จากงวดที่4ถึงงวดสุดท้ายซึ่งจำเลยได้หักไปแล้วจำนวนหนึ่งเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโอกาสที่จำเลยจะหักเงินคืนจึงไม่มีโจทก์จะต้องคืนเงินที่รับล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ยังเหลืออยู่นั้นให้แก่จำเลยส่วนจำเลยก็จะต้องชำระส่วนที่เป็นการงานอันโจทก์ได้กระทำให้แก่จำเลยเมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้คืนเงินจำนวนที่มากกว่าเงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินที่ค้างชำระโจทก์อยู่ก่อนเลิกสัญญาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนโอนสิทธิการขายแผงลอย: แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยตกลงโอนสิทธิการขายสินค้าบนแผงลอยในตลาดนัดเทศบาลเมืองพระประแดงแก่โจทก์ โดยโจทก์เสียค่าตอบแทนให้จำเลยเป็นเงิน ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ใช่การเช่าช่วง สัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนโอนสิทธิการขายบนแผงลอย แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องบังคับได้
จำเลยตกลงโอนสิทธิการขายสินค้าบนแผงลอยในตลาดนัดเทศบาลเมืองพระประแดงแก่โจทก์โดยโจทก์เสียค่าตอบแทนให้จำเลย เป็นเงิน ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ใช่ การเช่าช่วง สัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้