คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาเงินกู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้จากการสู่ขอและเงินสินสอด แม้ไม่จดทะเบียนสมรสก็ใช้บังคับได้
ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1436 เพราะเป็นการแต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะแต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลยโดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าว เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้วจำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา: ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่ใช้เป็นหลักฐานการกู้ได้
หนังสือกู้ลงจำนวนเงินรวมดอกเบี้ยเกินอัตราเข้าด้วยตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราแต่ใช้เป็นหลักฐานการกู้ฟ้องบังคับให้ใช้เงินต้นที่กู้กันจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาเงินกู้: กำหนดจากสัญญา หรือ เงินทดรอง?
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยทุกเดือน แม้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ผู้ให้กู้เรียกค่าดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันกู้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ออกเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์แทนจำเลยไปและจำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ จำเลยไม่ชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องตามสัญญากู้มีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่เรียกเงินที่ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหลักประกัน vs. สัญญาเงินกู้: การนำสืบพยานบุคคลในข้อต่อสู้ของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินที่กู้ยืมไป จำเลยให้การถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้ว่าบุตรจำเลยไปสู่ขอบุตรสาวโจทก์เป็นภรรยา โจทก์เรียกเงินตกทอดและเงินค่าเลี้ยงดูแขกในวันสมรสจากจำเลย ซึ่งจำเลยตกลง ข้อตกลงของจำเลยจึงเป็นสัญญาอย่างหนึ่งส่วนที่โจทก์ได้ให้จำเลยทำเป็นสัญญากู้ไว้เพราะโจทก์ไม่ไว้ใจเกรงว่าจำเลยจะปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ สัญญากู้จึงเป็นแต่เพียงหลักประกันเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่และเมื่อจำเลยให้การไว้ด้วยว่าจำเลยมิได้กู้เงินและรับเงินตามฟ้องไปจากโจทก์ และว่าได้ชำระเงินค่าตกทอดและค่าเลี้ยงแขกให้โจทก์ไปครบถ้วนแล้ว ซึ่งถ้าเป็นจริงดังจำเลยต่อสู้ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องจำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามข้อต่อสู้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้และค้ำประกัน, การเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความ, และการพิสูจน์ลายมือชื่อ
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารและจำเลยได้ลงชื่อในสัญญานั้นด้วย เมื่อศาลได้พิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกับลายเซ็นตัวอย่างที่จำเลยมอบให้ธนาคารไว้และกับลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายแล้ว เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ประกอบกับมีพยานบุคคลมายืนยันด้วย สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงไม่ใช่สัญญาปลอม
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 50,000 บาท ต่อมาจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีผลักใช้หนี้เป็นคราวๆ แสดงถึงฐานะของจำเลยว่ามีทางจะชำระหนี้ได้ ธนาคารจึงยอมให้เบิกเงินเกินกว่าสัญญากู้อันเป็นประเพณีของธนาคาร การเบิกเงินเกินบัญชีนี้ถือว่าเป็นเรื่องของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยเบิกเงินไปมากกว่าวงเงินที่ทำสัญญากู้ไว้ ต้องรับผิดในยอดเงินที่เกินนั้น ส่วนผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดในวงเงินเท่าที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้เท่านั้น
อายุความใช้สิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้ เรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ธนาคารจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปี ทั้งนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้เฉพาะที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ต่อแต่นั้นไปเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา(ฎีกาที่ 658-659/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้ต้องมียินยอมชัดแจ้ง การชำระหนี้ภายใต้การถูกบีบบังคับไม่ถือเป็นความยินยอม
โจทก์กู้เงินจากจำเลยโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ต่อมาจำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เสนอขอขึ้นดอกเบี้ยแก่โจทก์เป็นร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอของจำเลย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสนองรับข้อเสนอของจำเลยแต่กลับเป็นการแสดงเจตนาปฏิเสธโดยปริยาย ข้อเสนอของจำเลยจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยตามสัญญากู้เดิม
การที่โจทก์ยอมชำระดอกเบี้ยให้จำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีก็เพราะถูกจำเลยบีบบังคับ มิฉะนั้นจำเลยจะไม่ยอมให้โจทก์ไถ่จำนองถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและการที่จำเลยได้รับดอกเบี้ยเกินจากที่ตกลงไว้จากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยต้องคืนเงินดอกเบี้ยส่วนที่เกินนั้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาที่แท้จริงของสัญญา: สัญญาซื้อขายแฝงในสัญญาเงินกู้ การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามารถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่โจทก์จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาท การทำสัญญากู้จึงเป็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญากู้เงิน มิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริง ในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่ แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่ง เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืนโดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้า จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริง จำเลยมีสิทธิจะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ที่มีข้อความเพิ่มเติมเรื่องการขายที่ดิน ไม่ถือเป็นสัญญาจะขาย
ทำสัญญากู้เงินและมอบโฉนดไว้เป็นประกันโดยมีข้อความเพิ่มเติมไว้ด้วยว่าที่ดินแปลงนี้จะขายให้แก่ผู้ให้กู้ จะไม่ช่วยให้ใครภายใน 3 ปี ตามราคาสองหมื่นบาทเมื่อถึงราคาสองหมื่นบาทจึงจะขาย จึงจะโอนให้ ดังนี้ เป็นเรื่องกู้เงินเท่านั้น ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจะขาย เป็นเพียงคำปรารภของผู้กู้ฝ่ายเดียว มิใช่มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ จึงไม่ใช่คำมั่นหรือสัญญาจะขายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์สัญญาเงินกู้: การนำสืบพยานและการพิสูจน์การกู้จริง
ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างด้วยว่าสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามฟ้องของโจทก์นั้นทำขึ้นโดยสมยอมกัน มิใช่ทำขึ้นตามวันเวลาที่ลงไว้ในสัญญาแต่ทำปลอมขึ้นภายหลัง ศาลกำหนดให้ผู้ร้องนำสืบก่อน ผู้ร้องขาดนัดพิจารณาโจทก์นำพยานเข้าสืบฝ่ายเดียว แม้โจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญากู้ต่อศาลโดยมิได้ส่งสำเนาให้ผู้ร้อง ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟังไม่ได้ว่ามีการกู้กันจริง เพราะว่าตามความจริงโจทก์ก็ไม่จำต้องส่งสัญญากู้เป็นพยานในชั้นขัดทรัพย์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทอัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: จำเป็นต้องมีการนำสืบหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อตกลงที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยและเรียกดอกเบี้ยร้อยละ15 ต่อปีจำเลยให้การต่อสู้ว่า ในสัญญากู้คิดดอกเบี้ยตามกฎหมายแต่โจทก์กลับคิดร้อยละ 15 ต่อปีสำเนาสัญญากู้ไม่ถูกต้องย่อมเห็นได้ชัดว่า จำเลยให้การปฏิเสธว่าสัญญากู้ไม่มีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังที่โจทก์ฟ้องอ้างสำเนาสัญญากู้มีข้อความว่าคิดดอกเบี้ยตามกฎหมายร้อยละ 15 ต่อปี ติดมาท้ายคำฟ้องทั้งต้นฉบับสัญญากู้ก็ยังไม่มีปรากฏในสำนวนดังนี้ถือว่า ข้อเท็จจริงเรื่องดอกเบี้ยยังไม่ยุติ คู่ความต้องนำสืบความข้อนี้กันต่อไป
of 16