พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4987/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจำนอง: จำนองที่ดินผิดวัตถุประสงค์ ทำให้โมฆะ
โจทก์มอบให้ ช. พนักงานของสหกรณ์การเกษตรจำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนจำนองประกันเงินกู้ของโจทก์ที่จะกู้จากจำเลยแต่ ช. กลับนำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนจำนองประกันเงินกู้ของ ล. จึงเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ นิติกรรมจำนองที่ดินดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเพราะโจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ผิดสัญญาและการบอกเลิกสัญญาต้องพิจารณาความสาระสำคัญและโอกาสแก้ไข
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่า ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้วโจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าเป็นเกณฑ์จัดประเภท
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใด ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปและเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภท กรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอันเป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าในประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าต้องใช้เป็นเกณฑ์จัดประเภท แม้มีลักษณะหลายด้าน
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใดประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป และเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทกรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอัน เป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้ จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าใน ประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏ ว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 และ 249: ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมรวมจำคุกจำเลยที่ 1, ที่2 และที่ 3 คนละ 5 ปี และปรับคนละ 1,000 บาท ลงโทษปรับจำเลยที่ 4 เป็นเงิน 11,000 บาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนเงิน 1,997,400 บาท แก่ผู้เสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสี่ใช้เงินแก่ผู้เสียหายเพียง 1,985,400 บาท เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7,27 มิใช่มาตรา 7,28 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7,28 ทั้งมาตรา 27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
ที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7,27 มิใช่มาตรา 7,28 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7,28 ทั้งมาตรา 27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลงโทษฐานรับของโจร แม้ฟ้องฐานปล้นทรัพย์ - ข้อเท็จจริงไม่แตกต่างในสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่ กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญอันเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันภัยปิดบังเจ็บป่วยที่เป็นสาระสำคัญ
ย. ผู้เอาประกันชีวิตละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่เคยเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์และเป็นโรคตับโตตัวเหลืองเป็นไข้และท่อน้ำดีอักเสบย. ย่อมรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร การที่ ย. ละเว้นไม่เปิดเผยความจริงแห่งโรคที่ตน รู้ว่าเคยเป็นและเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญในการรับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ย. กับจำเลยย่อมตก เป็นโมฆียะ เมื่อจำเลยได้บอกล้างแล้วสัญญาย่อมเลิกกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันภัย สัญญาประกันเป็นโมฆียะ
ผู้เอาประกันชีวิตรู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนป่วยเป็นโรคตับโตและดีซ่านกับทั้งยังเคยเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แต่แถลงถ้อยคำในคำขอเอาประกันชีวิตและต่อนายแพทย์ผู้ตรวจสุขภาพก่อนทำสัญญาประกันชีวิตว่าไม่เคยเป็นหรือเคยถูกรักษาโรคตับ ลำไส้ ไตหรือกระเพาะปัสสาวะ และไม่เคยเจ็บไข้หรือบาดเจ็บนอกเหนือจากข้อซักถามเกี่ยวกับโรคในข้ออื่น ๆ เช่นนี้ เป็นการละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงแห่งโรคที่ตนรู้ว่าเคยเป็นและเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วอันเป็นสาระสำคัญในการรับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะเมื่อจำเลยบอกล้างแล้วสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการถือเอาสาระสำคัญของสัญญาเช่าซื้อ การบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า การชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่สองงวดขึ้นไป ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนทันที แต่ในทางปฏิบัติเมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ตรงตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาตลอดมา โจทก์ก็ยอมรับชำระโดยมิได้อิดเอื้อน จึงเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลย โจทก์ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดที่ติดค้างอยู่ต่อเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้นโจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อเท็จจริงเรื่องความเป็นมาของเช็ค ไม่ถือเป็นการแก้ไขคำฟ้องในสาระสำคัญ แต่ฟ้องขาดอายุความ
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องเป็นใจความว่า ก่อนนำเช็คพิพาทมาฟ้อง โจทก์ได้นำเช็คพิพาทกับเช็คอีกฉบับหนึ่งไปฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาแล้ว ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญา เนื่องจากจำเลยตกลงขอผ่อนชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คอีกฉบับหนึ่งให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยมิได้ผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์กรณีหาใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้สมบูรณ์ โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179(1)(2) ไม่ แต่เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของเช็คพิพาท จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอแก้ไขในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทลงวันที่ 24 สิงหาคม 2527 เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงได้นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คในวันที่ 27 สิงหาคม2528 ซึ่งพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันเช็คถึงกำหนดแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทลงวันที่ 24 สิงหาคม 2527 เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงได้นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คในวันที่ 27 สิงหาคม2528 ซึ่งพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันเช็คถึงกำหนดแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริม)