พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีซ้ำซ้อนและการดำเนินคดีโดยสมยอม: สิทธิฟ้องไม่ระงับหากเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส.โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส.มารดาเด็กหญิง ส.ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ใหม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส.โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส.มารดาเด็กหญิง ส.ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ใหม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีซ้ำสอง: คดีก่อนเป็นการสมยอมหรือไม่ หากเป็นการสมยอม สิทธิฟ้องของโจทก์ไม่ระงับ
หลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยทั้งจะต้องปรากฎว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฎว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกันแม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่าคดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537ของศาลชั้นต้นซึ่งเด็กหญิง ส. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริตเพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชายว.ผู้เสียหายคดีนี้เด็กหญิงส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลยเมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลยอีกทั้งเด็กหญิงส. โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฎด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วยและในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนางส. มารดาเด็กหญิงส. ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียวเป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูลข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้หากฟังได้ว่าเป็นความจริงย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้นย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา300กรรมเดียวกันนี้จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วโดยไม่สั่งให้ศาลศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค2พิจารณาพิพากษาให้ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา300ใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา38,160วรรคสองยังไม่ระงับแต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: การละเลยการร้องทุกข์เกิน 3 เดือน ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดที่ถูกฉ้อโกงและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าจำเลยเป็นคนฉ้อโกงตั้งแต่ก่อนวันที่1มิถุนายน2533แล้วเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่7ธันวาคม2533ซึ่งเกิน3เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6451/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน สัญญาไม่สมบูรณ์ สิทธิฟ้องบังคับจดทะเบียนไม่มี
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทรวม2แปลงจากจำเลยมีกำหนด30ปีสัญญาเช่าทำเป็นหนังสือกันเองรวม10ฉบับมีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ3ปีติดต่อกันโดยมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ภายหลังที่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าหมดแล้วดังนี้การเช่าที่ดินตามฟ้องมีระยะเวลาเช่าเกินกว่า3ปีเมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าที่ดินมีกำหนดเวลา30ปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความทำให้หนี้เช็คระงับ สิทธิฟ้องย่อมระงับตามกฎหมาย
มูลหนี้ตามเช็คคดีนี้โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งให้ชดใช้เงินแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ ป.พ.พ. มาตรา852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันหลังประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาโจทก์ระงับ
มูลหนี้ตามเช็คคดีนี้โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งให้ชดใช้เงินแล้วโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้วผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852ดังนั้นหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา7สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับช่วงสิทธิในคดีทำละเมิด: ผู้รับประกันต้องชำระค่าซ่อมก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง
โจทก์ผู้รับประกันไม่ได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันเกิดเหตุแก่ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการฟ้องคดีอาญาในชั้นฎีกาเนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษี: การส่งหมายแจ้งที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องบังคับให้รับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้รับทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้วโจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(1)(ก) บัญญัติไว้ การอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 นั้นโจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และเจตนาเป็นเจ้าของ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นการขาดสิทธิฟ้องได้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มอบให้จำเลยทั้งสองดูแลที่ดินพิพาทของโจทก์แทนจำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้และจำเลยทั้งสองครอบครองโดย เจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่ฟ้องภายใน1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทให้แต่ให้จำเลยทั้งสอง ครอบครองแทนและว่าจำเลยทั้งสองต้องบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนต่อไปเป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ขาดสิทธิฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครองแล้วหรือไม่ตามที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้องคำให้การและฟ้องอุทธรณ์