คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างข้ามประเทศ: สิทธิลูกจ้างตามสัญญาเดิมมีผลเหนือคู่มือพนักงานเฉพาะลูกจ้างในประเทศ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษโดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซียได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทยซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้นโจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิลูกจ้างจากหนังสือแจ้งผลการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง ศาลรับฟ้องได้หากมีผลต่อสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เมื่อ พ.ศ. 2523 โจทก์ผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งและรอการแต่งตั้งอยู่ระหว่างนั้นจำเลยมีคำสั่งที่ 30/2529 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายขึ้นใหม่ โดยจะตัดสิทธิไม่เลื่อนตำแหน่งพนักงานที่สอบได้หากไม่ได้รับการแต่งตั้งภายใน พ.ศ. 2530 และต่อมาจำเลยมีหนังสือที่ สอ.912/2529 แจ้งว่าโจทก์ถูกคัดชื่อออกจากรายชื่อพนักงานที่ผ่านการทดสอบ ฯ เพราะในระยะเวลาสามปีที่ผ่านไปโจทก์ไม่อุทิศตนและเวลาในการปฏิบัติงานให้แก่จำเลยเท่าที่ควรและมีวันลามาก ซึ่งไม่เป็นความจริงขอให้เพิกถอนคำสั่งและหนังสือดังกล่าว ดังนี้ หนังสือที่ สอ.912/2529 เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน เป็นเรื่องที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง หากข้ออ้างของจำเลยตามหนังสือดังกล่าวไม่เป็นความจริง โจทก์ชอบที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามผลการทดสอบได้ภายใน พ.ศ. 2530 ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะรับฟ้องส่วนนี้ไว้พิจารณาส่วนคำสั่งที่ 30/2529 นั้นจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือมิใช่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใด เพราะคำสั่งดังกล่าวยังให้โอกาสแก่โจทก์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งได้จนถึง พ.ศ.2530 หากข้ออ้างของจำเลยในการตัดชื่อโจทก์ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ ฯ ตามหนังสือที่ สอ.912/2529 ไม่เป็นความจริง โจทก์ก็ยังได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่ 30/2530 อยู่ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องส่วนนี้ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างถูกตัดชื่อจากบัญชีผู้ผ่านการทดสอบ การโต้แย้งสิทธิ และขอบเขตคำสั่งทางปกครอง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อพ.ศ.2523โจทก์ผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งและรอการแต่งตั้งอยู่ระหว่างนั้นจำเลยมีคำสั่งที่30/2529กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายขึ้นใหม่โดยจะตัดสิทธิไม่เลื่อนตำแหน่งพนักงานที่สอบได้หากไม่ได้รับการแต่งตั้งภายในพ.ศ.2530และต่อมาจำเลยมีหนังสือที่สอ.912/2529แจ้งว่าโจทก์ถูกคัดชื่อออกจากรายชื่อพนักงานที่ผ่านการทดสอบฯเพราะในระยะเวลาสามปีที่ผ่านไปโจทก์ไม่อุทิศตนและเวลาในการปฏิบัติงานให้แก่จำเลยเท่าที่ควรและมีวันลามากซึ่งไม่เป็นความจริงขอให้เพิกถอนคำสั่งและหนังสือดังกล่าวดังนี้หนังสือที่สอ.912/2529เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงหากข้ออ้างของจำเลยตามหนังสือดังกล่าวไม่เป็นความจริงโจทก์ชอบที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามผลการทดสอบได้ภายในพ.ศ.2530ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะรับฟ้องส่วนนี้ไว้พิจารณาส่วนคำสั่งที่30/2529นั้นจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือมิใช่ก็ตามก็ไม่กระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใดเพราะคำสั่งดังกล่าวยังให้โอกาสแก่โจทก์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งได้จนถึงพ.ศ.2530หากข้ออ้างของจำเลยในการตัดชื่อโจทก์ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบฯตามหนังสือที่สอ.912/2529ไม่เป็นความจริงโจทก์ก็ยังได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่30/2530อยู่ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องส่วนนี้ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การลาศึกษาต่อ และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จของลูกจ้าง
ครั้งแรกจำเลยที่1มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จและเป็นการเลิกจ้างที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยโจทก์จึงอุทธรณ์ต่อประชาชนกรรมการของจำเลยที่1คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้โจทก์รอการบรรจุไว้โดยให้รอผลการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของจำเลยที่1ต่อไปจำเลยที่1จึงได้ออกคำสั่งตามมติของคณะกรรมการอันเป็นผลให้คำสั่งเดิมไม่มีผลบังคับต่อไปการเลิกจ้างโจทก์โดยคำสั่งครั้งแรกจึงไม่เกิดขึ้นกรณีไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการเลิกจ้างตามคำสั่งนั้นเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ จำเลยที่1ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรงจึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงานและเกิดความประหยัดเป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่1การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยที่1อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา2ปีโดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้นโจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่1อยู่โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมาขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลาแต่จำเลยที่1ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่1กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่1 ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ฉบับที่10(พ.ศ.2522)ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ข้อ6.2ว่าเวลาป่วยลาพักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงานโจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่1ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือนโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการจ้างไม่ใช่การเลิกจ้าง แม้การประปานครหลวงจะไม่นับอายุงานต่อเนื่อง
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี การโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่มีอยู่เช่นเดิม และให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกัน การที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวง และจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้น พฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวง ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดเกษียณก่อนกำหนดตามระเบียบบริษัท มิใช่การลาออก จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คู่มือพนักงานฯหมวดที่5ข้อ5.3การครบเกษียณอายุตามข้อ5.3.1นั้นปกติพนักงานชายจะเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แต่มีข้อยกเว้นตามข้อ5.3.3ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานชายที่มีอายุ55ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ละฝ่ายอาจขอให้รับการปลดเกษียณก่อนมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ก็ได้ซึ่งหากจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานผู้เป็นลูกจ้างขอให้รับการปลดเกษียณก่อนดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเป็นการปลดเกษียณโดยได้รับเงินบำเหน็จด้วยเช่นเดียวกันส่วนการลาออกตามข้อ5.2นั้นเป็นเรื่องที่ลูกจ้างขอเลิกสัญญาจ้างแรงงานกรณีที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิขอให้ได้รับการปลดเกษียณตามข้อ5.3.3หรือมีสิทธิตามข้อ5.3.3แต่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะให้ได้รับสิทธิเช่นนั้นเท่านั้นโจทก์มีหนังสือแจ้งแก่จำเลยว่าโจทก์ขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดขอได้พิจารณาอนุมัติตามระเบียบต่อไปจึงเป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดตามข้อ5.3.3แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ไว้ด้วยก็เป็นเพียงเหตุที่โจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานจนมีอายุครบ60บริบูรณ์จึงขอใช้สิทธิตามข้อ5.3.3เท่านั้นรูปเรื่องจึงมิใช่ขอลาออกตามข้อ5.2แต่เป็นเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุแล้วจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดไม่ถือเป็นค่าทำงานวันหยุด หากจำเลยไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันหยุด
การที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ตามจำนวนวันที่ออกไป ปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัด เป็นการให้เงินตอบแทนการทำงานในช่วงเวลา ที่ทำงานในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานปกติหรือวันหยุดประจำสัปดาห์ มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน และจำเลยก็มิได้มีคำสั่งหรือระบุเจาะจงว่า โจทก์จะต้องทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะเลือกปฏิบัติงานในวันใดเวลาใดก็ได้ในระหว่างช่วงเวลานั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันหยุด โจทก์ไม่มีสิทธิได้ ค่าทำงานในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยปริยายจากเหตุโรงงานเสียหาย และสิทธิการทำงานกับนายจ้างใหม่
หลังจากโรงงานของจำเลยถูกไฟไหม้แล้วเป็นเวลา1 ปีเศษ จำเลยมิได้ดำเนินกิจการแต่ประการใด และไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเปิดดำเนินกิจการอีกเมื่อใด การที่จำเลยให้โจทก์เข้าทำงานที่บริษัทซึ่งเปิดกิจการทำนองเดียวกันแต่โจทก์ไม่ยอมทำตามจะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไปทำงานกับบริษัทใหม่หรือไม่ก็ได้จึงถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเกษียณอายุ แม้นายจ้างมีหนังสือแจ้งให้ใช้สิทธิลาพักผ่อน แต่ยังไม่ได้กำหนดวันหยุด
คำสั่งของจำเลยแจ้งให้พนักงานของจำเลยใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปีรวมทั้งวันลาสะสมที่มีอยู่ให้หมดในปีที่พนักงานผู้นั้นจะเกษียณอายุหาใช่เป็นการกำหนดให้พนักงานหยุดพักผ่อนในช่วงเวลาใดที่กำหนดไว้แน่นอนไม่และไม่ปรากฏว่าหัวหน้าฝ่ายหัวหน้ากองและหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานของจำเลยได้จัดวันหยุดให้พนักงานในสังกัดลาพักผ่อนประจำปีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ตามข้อ45แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21-23/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ผูกพันตามกฎหมาย
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใด ๆ เอากับจำเลยนั้น เป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย
ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมาย โจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใด ๆ อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่ การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย เป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ไม่มีผลใช้บังคับ
of 17