พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทาง (ทางจำเป็น) เมื่อที่ดินถูกแบ่งแยก ทำให้ที่ดินแปลงในไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
ที่ดินของโจทก์และจำเลยเดิมรวมอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกันเมื่อมีการแบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ด้านในไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะบนที่ดินของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ส่วนปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทได้เท่าใดนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าทางพิพาทกว้าง 2 เมตร จำเลยปฏิเสธว่าไม่กว้างเท่าที่อ้าง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและค่าทดแทน: แม้ไม่ฟ้องแย้งในคดีก่อน ก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ในคดีหลังได้ หากประเด็นต่างกัน
คดีก่อนซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์นั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินของจำเลยตกอยู่ในที่ล้อม จำเลยมีสิทธิผ่านที่ดินของโจทก์ซึ่งล้อมอยู่ไปสู่คลองและทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้องแย้งในคดีนั้นเรียกค่าทดแทนความเสียหายจากการที่จำเลยจะใช้ที่ดินของโจทก์ ศาลจึงไม่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหายให้แก่โจทก์ และว่าหากโจทก์ประสงค์จะได้ค่าทดแทนความเสียหายก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยใช้ค่าทดแทนที่โจทก์เปิดทางเดินให้ดังนี้ ในคดีก่อนมีประเด็นเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยจะต้องให้ค่าทดแทนเพื่อการใช้ทางผ่านนั้นแก่โจทก์หรือไม่ ประเด็นคนละอย่างกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-985/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ทางภารจำยอมขยายถึงผู้เช่าซื้อและผู้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินสามยทรัพย์
ที่ดินที่จดทะเบียนเป็นภารจำยอมให้ใช้ทางเข้าออกนั้นคำว่า บริวาร หมายความรวมถึงบุคคลผู้อาศัยสิทธิของผู้อยู่ในที่ดินสามยทรัพย์ด้วยไม่ใช่เฉพาะแต่บุตรภริยาเท่านั้น จึงรวมถึงผู้เช่าซื้อและผู้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินสามยทรัพย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อแบ่งแยกที่ดิน: โจทก์มีสิทธิใช้ทางเดิมในที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกจากโฉนดซึ่งมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ถ้าไม่ออกทางนี้โจทก์ไม่มีทางออก โจทก์มีสิทธิใช้ทางนี้ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น: ผู้ใช้ทางฟ้องเปิดทางได้ แม้ยังไม่ชำระค่าทดแทน
ผู้ใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ต้องใช้ค่าทดแทน แต่เมื่อเจ้าของที่ดินที่ทางผ่านยังไม่เรียกร้องผู้ใช้ทางก็ฟ้องให้เปิดทางได้ โดยไม่ต้องเสนอใช้ค่าทดแทนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: สิทธิใช้ทางรถยนต์เมื่อที่ดินถูกล้อม
สภาพแห่งทางจำเป็นนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าอย่างเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. ทางภารจำยอม: สิทธิใช้ทางเมื่อเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นสาธารณะ แม้จะอยู่ในโฉนดจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างทางพิพาทเพื่อเป็นทางเข้าออกสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกขายและโจทก์ได้ใช้ทางนี้ตลอดมาเป็นเวลานานกว่า10 ปี จึงกลายสภาพเป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทได้ โดยไม่ให้จำเลยปิดกั้น ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้ว อันเป็นเหตุที่จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลยทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิมเพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลยทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิมเพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางน้ำ: สิทธิการใช้ทางเรือและทางน้ำร่วมกัน แม้สภาพที่ดินเปลี่ยนแปลง
คูพิพาทใช้เป็นทางเรือและทางน้ำให้เรือผ่านเข้าออกมาหลายสิบปี ซึ่งอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์จำเลย. ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำหนังสือรับรองว่าคูพิพาทเป็นทางเรือและทางน้ำที่โจทก์จำเลยใช้ร่วมกัน. จำเลยจะไม่ก่อสร้างอะไรลงในคูพิพาท. ดังนั้นคูพิพาทจึงเป็นภารจำยอม จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายและตามคำรับรองที่ให้ไว้กับโจทก์. ต้องงดเว้นการกระทำหรือสร้างสิ่งใดลงในคูพิพาทเพื่อมิให้เสื่อมประโยชน์แก่โจทก์. ตามสิทธิแห่งภารจำยอมที่มีอยู่เหนือคูพิพาทนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิใช้ทาง แม้ไม่ติดที่ดิน, ผู้เช่าก็ละเมิดได้
เมื่อคดีฟังได้ว่าทางพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมซึ่งโจทก์ได้มาโดยอายุความจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ทางพิพาทตั้งอยู่ก็ไม่มีอำนาจจะปิดทางพิพาท ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินมาจากผู้อื่น ก็ไม่มีสิทธิล้อมรั้วกินทางพิพาทนั้นเข้าไปได้ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์อยู่ในตัว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้
สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ระหว่างหรือจะต้องข้ามทางสาธารณะไปก็ดี ก็อาจเป็นภารจำยอมได้
สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ระหว่างหรือจะต้องข้ามทางสาธารณะไปก็ดี ก็อาจเป็นภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณประโยชน์ & ภารจำยอม: การอุทิศที่ดินโดยปริยาย & การละเมิดสิทธิในการใช้ทาง
บรรยายฟ้องว่าทางเดินตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ และตอนต่อไปบรรยายว่าทางเดินนี้ตกเป็นทางสาธารณะประโยชน์แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะทางเดินอาจตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินรายอื่น และก็อาจกลายสภาพเป็นทางสาธารณได้ ซึ่งเมื่อเป็นทางเดินสาธารณะแล้ว สิทธิ์ในภารจำยอมของเจ้าของที่ดินรายอื่นก็ย่อมถูกกลืนหมดสภาพไปในตัว
พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย
รับซื้อที่ดินที่เจ้าของเดิมได้อุทิศบางส่วนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปโดยปริยายแล้ว แม้ที่ดินส่วนนั้นจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินที่รับซื้อไว้ ผู้ซื้อที่ดินนั้นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดถือเอาเป็นของตนได้ และแม้จะมีผู้ทำหลังคาและชายคารุกล้ำที่ดินส่วนนั้นผู้ซื้อที่ดินก็มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องให้ตัดหลังคาและชายคาได้
กั้นรั้วสังกะสีปิดหน้าบ้านของโจทก์จนโจทก์ไม่มีทางที่จะออกไปสู่ทางสาธารณประโยชน์และทำการค้าขายไม่ได้ตามที่เคย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของจำเลยตั้งแต่วันฟ้อง ซึ่งศาลพิพากษาบังคับให้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (4) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต
พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย
รับซื้อที่ดินที่เจ้าของเดิมได้อุทิศบางส่วนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปโดยปริยายแล้ว แม้ที่ดินส่วนนั้นจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินที่รับซื้อไว้ ผู้ซื้อที่ดินนั้นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดถือเอาเป็นของตนได้ และแม้จะมีผู้ทำหลังคาและชายคารุกล้ำที่ดินส่วนนั้นผู้ซื้อที่ดินก็มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องให้ตัดหลังคาและชายคาได้
กั้นรั้วสังกะสีปิดหน้าบ้านของโจทก์จนโจทก์ไม่มีทางที่จะออกไปสู่ทางสาธารณประโยชน์และทำการค้าขายไม่ได้ตามที่เคย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของจำเลยตั้งแต่วันฟ้อง ซึ่งศาลพิพากษาบังคับให้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (4) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต