คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินบริคณห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์และการฟ้องขับไล่ผู้เช่า รวมถึงความเสียหายพิเศษของผู้ให้เช่า
สามีเอาบ้านของภรรยาอันเป็นสินบริคณห์ ไปให้ผู้อื่นเช่าอยู่อาศัยนั้น ต้องถือว่าสามีเป็นผู้จัดการตามอำนาจของกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 ฉะนั้น เมื่อภรรยาผู้เป็นเจ้าของได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าฯลฯ ให้เข้าอยู่ในบ้านเช่านั้นได้ ก็เท่ากับสามีผู้มีอำนาจจัดการได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าฯให้เข้าอยู่ด้วย สามีจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯลฯ มาตรา 16(6)
ผู้ให้เช่าบอกเลิกการเช่าบ้านกับผู้เช่า ให้ผู้เช่าออกจากบ้านไปภายในกำหนด และยังบอกกล่าวไปชัดแจ้งว่าถ้าผู้ให้เช่าเข้าบ้านเช่านั้นตามกำหนดไม่ได้ ก็จะทำให้ผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบบ้านอีกหลังหนึ่ง ที่ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วให้แก่ผู้ซื้อได้ตามกำหนดและจะถูกผู้ซื้อปรับเป็นรายวัน ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เช่าได้ทราบความเสียหายเป็นพิเศษของผู้ให้เช่าแล้ว ถ้าผู้เช่าผิดสัญญาไม่ออกจากบ้านเช่าภายในกำหนด ทำให้ผู้ให้เช่าผิดสัญญากับผู้ซื้อและถูกผู้ซื้อปรับเอาตามสัญญาไปเท่าใด ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิเรียกเอาจากผู้เช่าได้เท่าจำนวนที่เสียไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยภรรยาที่ใช้เงินสินบริคณห์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี เกินกำหนด 1 ปี
ภรรยาเอาเงินสินบริคณห์ระหว่างตนกับสามี ไปชำระราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายแล้วให้หลานเป็นผู้รับซื้อที่ดิน ทำนิติกรรมซื้อขายและโอนโฉนดแก้ทะเบียนลงชื่อหลานเป็นผู้ซื้อ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากสามีเมื่อสามีทราบแล้ว ไม่ได้บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับจากวันทราบแล้ว ก็จะบอกล้างในภายหลังไม่ได้ (คดีมีปัญหาฉะเพาะโจทก์บอกล้างเกิน 1 ปีหรือไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากภรรยาใช้เงินสินบริคณห์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี เกินกำหนด 1 ปี
ภรรยาเอาเงินสินบริคณห์ระหว่างตนกับสามี ไปชำระราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อขาย แล้วให้หลานเป็นผู้รับซื้อที่ดินทำนิติกรรมซื้อขายและโอนโฉนดแก้ทะเบียนลงชื่อหลานเป็นผู้ซื้อ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากสามี เมื่อสามีทราบแล้ว ไม่ได้บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับจากวันทราบแล้ว ก็จะบอกล้างในภายหลังไม่ได้(คดีมีปัญหาเฉพาะโจทก์บอกล้างเกิน 1 ปีหรือไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินบริคณห์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ โมฆียะ และหน้าที่นำสืบของผู้โต้แย้ง
ภริยาเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ไปทำนิติกรรมโอนขายโดยสามีมิได้ยินยอมเป็นหนังสือ ดังนี้ขัดต่อ ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1476
การที่จำเลยยกอายุความบอกล้างโมฆียะกรรมขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 143 ก็ดีและต่อสู้ว่า โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ซึ่งเป็นเรื่องยกข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ตามมาตรา 6 ทั้ง 2 ประการนี้เป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสินบริคณห์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ และหน้าที่การนำสืบข้อเท็จจริงของผู้โต้แย้ง
ภริยาเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ไปทำนิติกรรมโอนขายโดยสามีมิได้ยินยอมเป็นหนังสือดังนี้ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476
การที่จำเลยยกอายุความบอกล้างโมฆียะกรรมขึ้นต่อสู้ตามมาตรา 143 ก็ดีและต่อสู้ว่า โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตซึ่งเป็นเรื่องยกข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ตามมาตรา 6 ทั้ง 2 ประการนี้เป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบก่อน หากจำเลยไม่สืบต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหนี้สินบริคณห์ของภรรยา การอนุญาตจากสามี และการพิสูจน์หนี้เงินฝาก/ค่าเซ้ง
การที่หญิงมีสามีฟ้องเรียกหนี้และส่วนมรดกของบุตรสาวที่ตายจากบุตรเขยนั้น เกี่ยวกับการเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1469 จะต้องได้รับอนุญาตจากสามีเมื่อสามีร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมขอรับชำระหนี้และส่วนมรดกด้วยนั้น พอถือว่าเป็๋นหลักฐานที่สามีอนุญาต
ทนายโจทก์ที่ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น แม้จะยื่นในชื่อของทนายเองก็ใช้ได้ เพราะเป็นการทำการแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินบริคณห์ของภริยา, การอนุญาตจากสามี, และการพิสูจน์หลักฐานหนี้สิน
การที่หญิงมีสามีฟ้องเรียกหนี้และส่วนมรดกของบุตรสาวที่ตายจากบุตรเขยนั้นเกี่ยวกับการเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 จะต้องได้รับอนุญาตจากสามีเมื่อสามีร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมขอรับชำระหนี้และส่วนมรดกด้วยนั้นพอถือว่าเป็นหลักฐานที่สามีอนุญาต
ทนายโจทก์ที่ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น แม้จะยื่นในชื่อของทนายเองก็ใช้ได้ เพราะเป็นการทำแทนตัวโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินบริคณห์โดยภรรยา และกรรมสิทธิ์ของผู้รับซื้อโดยสุจริต
ภรรยาเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ไปขาย ผู้ซื้อรับซื้อไว้แล้วไปขายต่ออีกทีหนึ่งโดยทำนิติกรรมซื้อขายกันที่อำเภอทั้งสองครั้ง เมื่อการซื้อขายครั้งที่ 2 เป็นไปโดยสุจริตแล้ว ผู้รับซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น สามีผู้ขายจะมาขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างผู้รับซื้อคนแรกกับผู้รับซื้อคนหลังไม่ได้และจะเรียกเอาที่ดินกลับคืนก็ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาและการบังคับชำระหนี้จากสินบริคณห์
ที่จะถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาได้นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่า เป็นหนี้ที่ต้องด้วยลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ตาม ม.1482
หากเป็นหนี้ที่ภริยาไปทำขึ้นโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต และสามีได้บอกล้างแล้ว เจ้าหนี้จะยึดสินบริคณห์ทั้งหมดมาชำระหนี้มิได้ เจ้าหนี้ต้องขอแบ่งแยกสินบริคณห์ส่วนของภริยาออกชำระหนี้ทางศาล ตาม ม.1483 ถ้าเจ้าหนี้มิได้ขอแบ่งสินบริคณห์ ศาลจะสั่งแยกไปทีเดียวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาและการบังคับชำระหนี้จากสินบริคณห์ กรณีสามีไม่ได้ยินยอมและบอกล้าง
ที่จะถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาได้นั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่า เป็นหนี้ที่ต้องด้วยลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ตาม มาตรา 1482
หากเป็นหนี้ที่ภริยาไปทำขึ้นโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต และสามีได้บอกล้างแล้ว เจ้าหนี้จะยึดสินบริคณห์ทั้งหมดมาชำระหนี้มิได้ เจ้าหนี้ต้องขอแบ่งแยกสินบริคณห์ส่วนของภริยาออกชำระหนี้ทางศาล ตามมาตรา 1483ถ้าเจ้าหนี้มิได้ขอแบ่งสินบริคณห์ ศาลจะสั่งแยกไปทีเดียวไม่ได้
of 15