คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ้นสุดสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา แม้ทำงานเกิน 120 วัน
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับกำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำแต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ46แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538 ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปี กลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไป แต่อย่างใดไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความ ค่าจ้างเหมาสมเหตุสมผล การคิดค่าจ้างตามส่วนงานที่ทำสำเร็จเมื่อสัญญาสิ้นสุด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อประมาณพ.ศ.2515 ฉ.ตกลงว่าจ้างให้ว. เป็นทนายความดำเนินการขับไล่ผู้เช่าให้ออกไปจาก ที่ดินของฉ.และว. ตกลงรับจ้างจัดการขับไล่ผู้เช่า ทั้งหมด โดยตกลงเหมากันทำให้แล้วเสร็จ ในอัตราค่าจ้าง1,000,000 บาทกำหนดชำระค่าจ้างกันเมื่อได้ขับไล่ผู้เช่าทั้งหมดออกไปแล้วดังนี้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฉ. มีความประสงค์ที่จะขับไล่ผู้อยู่ในที่ดินให้ออกไปเพื่อใช้ที่ดิน ปลูกสร้างอาคารจึงได้ไปปรึกษากับว.และตกลงจ้างว.ที่ว. รับออก ค่าใช้จ่ายไปก่อนก็ เพราะฉ.เป็นเพื่อนสนิทกับว.เป็นกรณีที่ว.ออก ค่าใช้จ่ายทดรองไปก่อนโดยสุจริต. ถือไม่ได้ว่า ว. ยุยงส่งเสริมให้มีการ ฟ้องคดีกัน ทั้งค่าจ้างที่ ฉ.ตกลงให้ว.ก็ไม่มากเกินสมควร.ส่วนที่ฉ. จะให้ ค่าจ้างเป็นเงิน 1,000,000 บาท หรือถ้าไม่มีเงินให้ก็ จะให้เป็น ตึกแถว 2 ห้องนั้นก็เป็นข้อเสนอและความประสงค์ ของฉ.เองซึ่งฉ. จะให้เป็นเงินก็ได้ทั้งตึกแถว 2 ห้องนั้นก็มิใช่เป็นทรัพย์ที่พิพาทกัน ในคดีจึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของว.เป็นการ แสวงหาประโยชน์ จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน และคิดค่าจ้าง โดยแบ่งเอาจากทรัพย์สิน ที่เป็นมูลพิพาทดังนี้ สัญญาจ้างหาตกเป็นโมฆะไม่
ฉ.ตกลงจ้างว.ให้ดำเนินการขับไล่ผู้เช่าให้ออกไป จากที่ดินเป็นเงิน 1,000,000บาท และว.ได้กระทำการ ตามที่ฉ.ว่าจ้างไปบ้างแล้ว.ต่อมาทั้งฉ. และว.ถึงแก่ความตายสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงฉ.จำต้องใช้สินจ้าง ตามส่วนของการงานที่ได้ทำไปแล้วอันเป็นประโยชน์ แก่ฉ.ซึ่งศาล กำหนดให้เป็นเงิน 450,000 บาทนั้น เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่านาและการมีอำนาจฟ้องขับไล่ ต้องพิจารณาตามขั้นตอนกฎหมายที่กำหนด
บันทึกการประชุมของคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลที่กระทำต่อหน้าปลัดอำเภอซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งให้เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ ระบุให้จำเลยเช่านาทำต่อไปอีกเพียง 1 ปี นั้น ไม่ถือว่าการเช่านาของจำเลยสิ้นสุดก่อนกำหนดระยะเวลาการเช่านา ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 31 (3) เพราะมติที่ประชุมดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการมิได้มีความหมายว่าจำเลยตกลงเลิกการเช่านา ทั้งมิได้กระทำ ต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย ดังนั้น แม้จำเลยจะลงลายมือชื่อในบันทึกการประชุมดังกล่าวต่อหน้าปลัดอำเภอ ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกการเช่านาต่อกัน นอกจากนี้การที่โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและประธานคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลนั้น ก็ปรากฏว่าคณะกรรมการยังมิได้พิจารณาการบอกเลิกการเช่าตามหนังสือดังกล่าวตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 34 และ 36 ได้บัญญัติไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเสนอคดีต่อศาล การเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุดโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่านาและการมีอำนาจฟ้องขับไล่ ต้องพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
บันทึกการประชุมของคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลที่กระทำต่อหน้าปลัดอำเภอซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งให้เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ ระบุให้จำเลยเช่านาทำต่อไปอีกเพียง 1 ปี นั้น ไม่ถือว่าการเช่านาของจำเลยสิ้นสุดก่อนกำหนดระยะเวลาการเช่านา ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 31(3)เพราะมติที่ประชุมดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการมิได้มีความหมายว่าจำเลยตกลงเลิกการเช่านา ทั้งมิได้กระทำ ต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย ดังนั้น แม้ จำเลยจะลงลายมือชื่อในบันทึกการประชุมดังกล่าวต่อหน้าปลัดอำเภอ ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกการเช่านาต่อกัน นอกจากนี้การที่โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและประธานคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลนั้น ก็ปรากฏว่าคณะกรรมการยังมิได้พิจารณาการบอกเลิกการเช่าตามหนังสือดังกล่าวตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 34 และ 36 ได้บัญญัติไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเสนอคดีต่อศาล การเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุดโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ และ เรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว เจ้าของใหม่มีสิทธิไล่ที่ แม้จำเลยมีข้อตกลงพิเศษกับเจ้าของเดิมก็ใช้ไม่ได้
ขณะโจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทแล้วแจ้งให้จำเลยขนย้ายออกไป เป็นระยะเวลาที่สัญญาเช่าเดิมสิ้นสุดลงแล้วและไม่มีการทำสัญญาใหม่โจทก์ไม่เคยยินยอมให้เช่าต่อไป จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้จำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนเป็นพิเศษกับเจ้าของเดิม สัญญานี้ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับป.พ.พ. ม.569 จำเลยไม่มีสิทธิเอาข้อตกลงดังกล่าวมายกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้เช่า: สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องขับไล่โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากบ้านเช่าอันมีค่าเช่าเดือนละ 600 บาท แม้โจทก์จะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเดือนละ 3,000 บาท แต่ก็เป็นค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็เป็นการมิชอบ เพราะถือว่าข้อเท็จจริงนั้นได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าที่ทำกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้เช่า: สิทธิของผู้ให้เช่าและการสิ้นสุดสัญญาเช่า
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากบ้านเช่าอันมีค่าเช่าเดือนละ 600 บาท แม้โจทก์จะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเดือนละ 3,000 บาท แต่ก็เป็นค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็เป็นการมิชอบ เพราะถือว่าข้อเท็จจริงนั้นได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าที่ทำกับโจทก์ไว้ให้เช่าเมื่อจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงสัญญาเช่า-การโอนสิทธิ: สัญญาเช่ามีผลผูกพันตามระยะเวลาที่จดทะเบียน แม้มีข้อตกลงให้สิ้นสุดเมื่อมีการขาย
คำฟ้องฎีกาของโจทก์มี ช. ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ช. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ช. จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ตามมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น คำฟ้องฎีกาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3381/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก. ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือน โดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้ แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)
of 21