คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4591/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาเช็คต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย มิฉะนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
การออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หนี้ตามเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินโดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้แนบสัญญากู้เงินมาท้ายฟ้องด้วย คำฟ้องโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ที่ไม่ใช่หนี้ต่อโจทก์ สัญญาจำนองเป็นโมฆะ
การที่จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์นั้น แท้จริงแล้วเป็นการจำนองประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อ ล. โจทก์ผู้รับจำนองจึงมิได้เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่จำเลยจำนองที่ดินเป็นประกัน สัญญาจำนองจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงบังคับจำนองแก่จำเลยมิได้
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า การจำนองที่ดินตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ต้นเงินที่จำเลยได้รับมาปล่อยกู้จาก ล. และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระรวมกัน แล้วใช้ชื่อโจทก์เป็นผู้รับจำนอง จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องเป็นการนำสืบเพื่ออธิบายถึงที่มาของหนี้ตามสัญญาจำนองว่าไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายหาใช่เป็นการนำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับเงินตามเอกสารดังกล่าวไม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีหนี้ เจ้ามรดก ผู้ค้ำประกัน และผลของการไม่ฟ้องร้องภายในกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการตายลูกหนี้: ทายาท/ผู้ค้ำประกันมีสิทธิยกอายุความได้ หากเจ้าหนี้ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้ หากมีหลักฐานหนี้จริง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กำหนดให้ตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น ใช้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานด้วย ดังนั้น เมื่อคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 ได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์โดยมีสัญญากู้ยืมเงินมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัญชีเดินสะพัด: สิทธิหน้าที่ ความรับผิด และอายุความของหนี้
คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยระบุข้อเท็จจริงตรงกันว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่จำเลยกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดขอนแก่นเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นกล่าวอ้าง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัดฯ มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือ แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคาร ท. กับโจทก์ และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยเพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิตเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตามคำฟ้องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท เท่านั้น มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก และการคิดดอกเบี้ยจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ผ. ชำระค่าปรับตามสัญญารับรองการขออนุญาตเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวแก่โจทก์ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2537 ผ. เพิกเฉยไม่ชำระถือว่า ผ. เป็นฝ่ายผิดนัดตั้งแต่วันที่ 31มีนาคม 2537 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันที่ ผ. ผิดนัดโดยเป็นผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวสงวนสิทธิไว้ในหนังสือแจ้งให้ ผ. ชำระเงินแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ ผ. จึงเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ผ. ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินของ ผ. ทุกชนิด ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกันกับ ผ. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกในฐานะทายาทโดยธรรม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ ผ. ต้องรับผิดใช้ให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ ผ. ผิดนัดจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามที่โจทก์แจ้งจึงไม่ชอบ เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2และที่ 3 จะต้องรับผิดเป็นส่วนตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้ของผู้อื่น: ทายาทที่เข้ามาดำเนินคดีแทนผู้ถึงแก่กรรม ไม่ผูกพันต้องรับผิดในหนี้เดิม
การที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องนางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 นางสาว ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้นางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม – การคำนวณดอกเบี้ย – ทายาทรับผิดชอบหนี้ – แก้คำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องโดยได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการคิดคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์แล้วว่าคำนวณอย่างไร ไม่จำเป็นต้องระบุยอดหนี้ที่ค้างชำระในแต่ละเดือนว่าเป็นเท่าไรหรือโจทก์คำนวณดอกเบี้ยทบต้นหรือไม่อีกเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้เห็นได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ไม่ได้ฟ้อง ร.ในฐานะทายาทของจำเลยที่2ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เกินความจำเป็นในการบังคับคดี การพิจารณาความเหมาะสมระหว่างราคาทรัพย์สินที่ยึดกับจำนวนหนี้
โจทก์เคยบริหารกิจการของจำเลยมานับแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลย ย่อมทราบว่าจำเลยมีเครื่องจักรขนาดใหญ่อยู่หลายเครื่องรวมทั้งราคาของเครื่องจักรดังกล่าวด้วยโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยเพียงไม่กี่แสนบาท จึงน่าจะมุ่งยึดเครื่องจักรที่มีราคาใกล้เคียงกับจำนวนหนี้ ประกอบกับจำเลยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อธนาคารอื่นทั้ง ก. ซึ่งมีที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์หลายแปลงก็เต็มใจให้โจทก์นำไปหักชำระหนี้ได้โดยที่โจทก์ไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ อีกด้วย จึงเห็นได้ว่า โจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคหนึ่ง และโจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามมาตรา 284 วรรคสอง โดยคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีของจำเลยตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
of 145