คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หย่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสเมื่อยังไม่ได้หย่า การแยกกันอยู่ไม่ได้ถือเป็นการแบ่งสินสมรส
คดีฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัยมาตรา 1533 ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนหลังหย่า: มีได้เฉพาะเมื่อฟ้องหย่าโดยอ้างเหตุตาม ม.1516(1) เท่านั้น
ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคแรก จะมีได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุที่สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉัน ภริยา หรือภริยามีชู้ ตามมาตรา 1516(1) เท่านั้นฉะนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่อุปการะเลี้ยงดูและยกย่อง หญิงอื่นฉัน ภริยาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนหลังหย่า: ศาลยกฟ้องเมื่อฟ้องหย่าหลังจดทะเบียนหย่าแล้ว
ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคแรก จะมีได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุที่สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือภริยามีชู้ ตามมาตรา 1516(1)เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากของขวัญแต่งงานและเข็มขัดทองหมั้น การคืนทรัพย์สินหลังหย่า
ของขวัญที่เป็นของใช้ในครอบครัวซึ่งญาติและเพื่อนของคู่สมรสมอบให้เนื่องในวันสมรสนั้นผู้ให้ย่อมมีเจตนาที่จะให้คู่สมรสได้ใช้สอยเมื่ออยู่ร่วมกันถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ให้รายใดได้แสดงเจตนาไว้เป็นพิเศษว่ามอบให้แก่คู่สมรสฝ่ายใดโดยเฉพาะแล้วแม้จะเป็นของที่มอบให้ก่อนวันแต่งงาน1วันก็ตามก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสตกเป็นสินสมรสตามป.พ.พ.มาตรา1474(1) ของใช้ในครอบครัวแม้จะเป็นของขวัญวันแต่งงานหรือเป็นของที่ซื้อมาหลังการสมรสแล้วก็ตามก็เป็นสินสมรส เข็มขัดทองซึ่งเป็นของหมั้นให้แก่โจทก์นั้นเมื่อจำเลยได้ใช้ให้บุคคลภายนอกไปเอาคืนมาจากบิดาโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดคืนให้แก่โจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่า: การด่าทอในครอบครัวและการพิสูจน์เหตุฟ้องหย่าจากทัณฑ์บน
โจทก์จำเลยทะเลาะกันเกือบทุกวัน เพราะจำเลยหึงหวงโจทก์เข้าใจว่าโจทก์ซึ่งเป็นภริยามีชู้ เมื่อโจทก์จำเลยด่าทอกันเป็นปกติวิสัยตลอดจนสิ่งแวดล้อมและอุปนิสัยของโจทก์จำเลย โจทก์จะเอาข้อความที่จำเลยกล่าวในการด่าทอหลังกลับจากไปเที่ยวที่บางแสนโดยมีชายอื่นไปด้วยที่ว่า 'โคตรแม่มึงไม่สั่งสอน มึงมันดอกทอง' มาเป็นข้ออ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง เพื่อเป็นเหตุฟ้องหย่าหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า: ลูกหนี้ร่วม, สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดู
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน
สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียว ดังนี้ ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ร่วมกันในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า โดยมิได้ตกลงเรื่องค่าใช้จ่าย
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียวดังนี้ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินที่จดทะเบียนมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์
การแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าย่อมมีผลบังคับผูกพัน ภริยาจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่สามียังมิได้จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของภริยาร่วมกับสามีอยู่หาได้ไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1406/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: การตกลงแบ่งทรัพย์สินในขณะจดทะเบียนหย่าย่อมมีผลผูกพัน
การแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าย่อมมีผลบังคับผูกพัน ภริยาจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่สามียังมิได้จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของภริยาร่วมกับสามีอยู่หาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1406/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา แม้จดทะเบียนสมรสและหย่าภายหลัง
ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสกันในปี พ.ศ. 2518 และจดทะเบียนหย่ากันในปี พ.ศ. 2520 ขณะแต่งงานกันต่างฝ่ายต่างไม่มีทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยอยู่กินด้วยกันก่อนจดทะเบียนสมรสจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์รวม แม้ภายหลับผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสและหย่าขาดจากกันโดยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวเป็นอย่างอื่น ทรัพย์สินนั้นจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยอยู่ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยจากการยึด
of 29