พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยหลอกลวงให้ส่งมอบเช็ค และเจตนาไม่ชำระหนี้
จำเลยมาบ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วขอดูเช็คจำนวน 11 ฉบับที่จำเลยมอบแก่ผู้เสียหายที่ 1 ไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ว่ามียอดเงินรวมทั้งหมดเท่าใด ผู้เสียหายที่ 1 หลงเชื่อมอบเช็คทั้ง 11 ฉบับให้จำเลยดู จำเลยได้เอาเก็บใส่กระเป๋าทำทีรื้อค้นของในกระเป๋าอยู่ครู่หนึ่ง เสร็จแล้วบอกผู้เสียหายที่ 1 ว่าเช็คของจำเลยหมดขอมอบเช็คเอกสารหมาย จ.1 แก่ผู้เสียหายที่ 1 ไว้แทนซึ่งเป็นเช็คที่จำเลยทราบว่าผู้ออกเช็คเพิ่งถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุในวันเดียวกันนั้น และบอกว่าวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 จำเลยจะนำเงินมาชำระให้โดยไม่ต้องนำเช็คเอกสารหมาย จ.1 ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยยืนยันว่าเป็นเช็คที่ได้รับชำระหนี้มา ถึงวันนัดจำเลยไม่นำเงินมาชำระกลับบอกให้ผู้เสียหายทั้งสองนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ผู้เสียหายที่ 1 ให้ผู้เสียหายที่ 2นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน2532 แล้ว ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายที่ 1จึงทวงถามเงินจากจำเลย จำเลยกลับเพิกเฉยพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ให้มอบเช็ค 11 ฉบับคืนให้จำเลยโดยจำเลยเจตนาที่จะไม่ชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวให้ผู้เสียหายที่ 1 มาแต่ต้น ในขณะที่กล่าวหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1นั้น แล้วเป็นเหตุให้จำเลยได้ไปซึ่งเช็ค 11 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินตามกฎหมายของผู้เสียหายที่ 1 ไปจากผู้เสียหายที่ 1 โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ออกเช็คถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว เช็คเอกสารหมาย จ.1 ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยฉ้อโกงผู้เสียหาย โจทก์ไม่อุทธรณ์คำขอดังกล่าวจึงยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้นโจทก์จะขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวในชั้นฎีกาอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฉ้อโกงโดยอ้างเป็นทนายความ ปลอมเอกสารคำฟ้องเพื่อหลอกลวงโจทก์
จำเลยมิได้จดทะเบียนเป็นทนายความ แต่บอกแก่โจทก์ร่วมว่าจำเลยมีอาชีพทนายความ โจทก์ร่วมจึงปรึกษาจำเลยเรื่องจะดำเนินคดีแก่นาง ส.และนาย ส. และมอบเอกสารกับค่าจ้างว่าความให้จำเลยไป แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินคดีให้โจทก์ร่วม และต่อมาจำเลยแจ้งแก่โจทก์ร่วมว่าได้ฟ้องนาง ส. และนาย ส.แล้ว กับทำสำเนาคำฟ้องนาง ส.และนาย ส.อันเป็นเอกสารปลอมมอบให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม การปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวมีเหตุเกี่ยวเนื่องจากการที่จำเลยรับจะดำเนินคดีให้โจทก์ร่วม แต่ไม่สามารถดำเนินคดีให้ได้ จำเลยจึงมีเจตนาที่แท้จริงคือปลอมเอกสารสำเนาคำฟ้องเพื่อแสดงให้โจทก์ร่วมเห็นว่าจำเลยได้ดำเนินการตามที่ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมไว้เพื่อฉ้อโกงเอาเงินของโจทก์ร่วมนั่นเอง แม้การกระทำจะต่างวาระกัน การกระทำผิดของจำเลยก็เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นทนายความ ปลอมแปลงเอกสารเพื่อหลอกลวงเอาเงินจากผู้เสียหาย
จำเลยมิได้จดทะเบียนเป็นทนายความ แต่บอกแก่โจทก์ร่วมว่า จำเลยมีอาชีพทนายความ โจทก์ร่วมจึงปรึกษาจำเลยเรื่องจะดำเนินคดีแก่นาง ส.และนายส. และมอบเอกสารกับค่าจ้างว่าความให้จำเลยไป แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินคดีให้โจทก์ร่วมและต่อมาจำเลยแจ้งแก่โจทก์ร่วมว่าได้ฟ้องนาง ส. และนาย ส.แล้วกับทำสำเนาคำฟ้องนางส.และนายส.อันเป็นเอกสารปลอมมอบให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม การปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวมีเหตุเกี่ยวเนื่องจากการที่จำเลยรับจะดำเนินคดีให้โจทก์ร่วม แต่ไม่สามารถดำเนินคดีให้ได้จำเลยจึงมีเจตนาที่แท้จริงคือปลอมเอกสารสำเนาคำฟ้องเพื่อแสดงให้โจทก์ร่วมเห็นว่าจำเลยได้ดำเนินการตามที่ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมไว้เพื่อฉ้อโกงเอาเงินของโจทก์ร่วมนั่นเองแม้การกระทำจะต่างวาระกัน การกระทำผิดของจำเลยก็เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตฐานฉ้อโกงประชาชน ต้องพิสูจน์การหลอกลวงโดยแสดงข้อความเท็จ หรือปกปิดความจริง
เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจดำเนินการสร้างอาคารชุดต่อไปได้เพราะขาดทุนดำเนินการ และ ส. ประธานกรรมการหลบหนีไปก็ได้รีบดำเนินการงดรับเงินค่าซื้ออาคารชุดงวดต่อ ๆ มาต่อผู้เสียหาย และยังหาทางชดใช้เงินผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่มีเจตนากระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและเป็นเพียงผู้ลงชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นคู่สัญญากับผู้เสียหายเท่านั้นหากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็เป็นเรื่องซึ่งจะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ความประสงค์หรือการกระทำของจำเลยที่ 1 แสดงออกโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำผิดตามฟ้องจึงเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงให้เข้าใจผิดเพื่อหวังผลประโยชน์ และการยอมความมีเงื่อนไขที่ไม่ทำให้สิทธิในการฟ้องอาญา ระงับ
จำเลยเพียงแต่หลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยจะช่วยติดต่อให้ผู้เสียหายเข้าทำงานเป็นสารวัตรทหารได้โดยไม่ต้องสอบเท่านั้นผู้เสียหายหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยไป ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายให้เงินจำเลยไปเพื่อให้จำเลยนำไปให้ข้าราชการทหารคนใดกระทำการอย่างใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายใช้ให้ผู้ใดกระทำผิดกฎหมาย ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ได้ ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำบันทึกกันไว้ว่า ถ้าจำเลยนำเงินมาคืนผู้เสียหายภายในกำหนด ผู้เสียหายก็จะไม่เอาเรื่องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา มิใช่เป็นการยอมความโดยสิ้นเชิง หากแต่เป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไข การยอมความในลักษณะเช่นนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมื่อจำเลยชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงให้เสียทรัพย์และการยอมความมีเงื่อนไข ไม่ทำให้สิทธิฟ้องอาญาขาดอายุ
จำเลยเพียงแต่หลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยจะช่วยติดต่อให้เข้าทำงานเป็นสารวัตรทหารได้โดยไม่ต้องสอบเท่านั้น ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยไปไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายให้เงินจำเลยไปเพื่อให้จำเลยนำไปให้ข้าราชการทหารคนใดกระทำการอย่างใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายใช้ให้ผู้ใดกระทำผิดกฎหมายผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีได้ ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำบันทึกกันไว้ ถ้าจำเลยนำเงินมาคืนผู้เสียหายภายในกำหนด ผู้เสียหายก็จะไม่เอาเรื่องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินคืนผู้เสียหายเสียก่อน ผู้เสียหายจึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ชำระเงินคืนแก่ผู้เสียหายจึงมิใช่เป็นการยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการเพื่อหลอกลวงและรับเงิน กรณีศาลลดโทษรอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลอมเอกสารเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง หาจำต้องบรรยายด้วยว่าผู้หนึ่งผู้ใดนั้นเป็นใครหรือชื่ออะไรคำฟ้องของโจทก์ก็สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว จำเลยกรอกข้อความและลงลายมือชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินของกรุงเทพมหานคร และลงลายมือชื่อปลอมพร้อมประทับตราของบุคคลอื่นลงในใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง โดยปราศจากอำนาจจึงเป็นการปลอมเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใช้เอกสารปลอมหลอกลวงกู้เงิน – ฟ้องซ้ำ – ถอนฟ้อง – ลดโทษ
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำโฉนดที่ดินที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นโฉนดที่ดินปลอมไปใช้หลอกลวงโจทก์ร่วมเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมให้กู้เงินตามที่จำเลยทั้งสามต้องการ เป็นการร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 266 และฉ้อโกงโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2เป็นคดีนี้ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้แล้วฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) และแม้การออกเช็คอันเป็นมูลที่โจทก์ร่วมนำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวกับการใช้โฉนดที่ดินปลอมอันเป็นมูลที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2ในคดีนี้ จะเป็นการกร ะทำโดยมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วมเช่นเดียวกันแต่คดีดังกล่าวโจทก์ร่วมขอถอนฟ้องและศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) และการที่โจทก์ร่วมถอนฟ้องคดีดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโก์ในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากละเมิด: การทำร้ายร่างกายทำให้เสียโฉม, ความเสียหายทางจิตใจ, และการหลอกลวง
จำเลยใช้มีดกรีดใบหน้าโจทก์แผลยาว 3 นิ้วครึ่ง ลึก 1 นิ้ว เมื่อบาดแผลหายแล้วมีแผลเป็นทำให้โจทก์มีใบหน้าเสียโฉมอย่างติดตัวการที่โจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ เป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446ศาลกำหนดให้โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์และความร้ายแรง แห่งละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการหลอกลวงและปกป้องทรัพย์สินจากหนี้สินที่ถูกสร้างขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปแก่โจทก์ สหกรณ์ผู้ร้องร้องสอดว่า ในขณะที่จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ของผู้ร้องได้ทุจริตเบียดบังเอาเงินของผู้ร้องไป ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อเรียกเงินคืนคดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันได้สมคบกับโจทก์แสดงเจตนาลวงทำสัญญากู้ยืมเงินแกล้งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ตามฟ้อง เพื่อมิให้ผู้ร้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ ขอให้พิพากษาว่าสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นโมฆะ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องมีความจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ไม่ให้จำเลยทั้งสองโอนทรัพย์ไปเสียอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย จึงร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)