พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายซองกระสุน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และการคืนหลักประกัน
สัญญาซื้อขายของกระสุนปืน เอ็ม .16 ซึ่งผลิตโดยโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตามสัญญาเรื่องการจัดการแก้ไขในกรณีที่ซองกระสุนปืนดังกล่าวไม่ถูกต้องจะมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไขก็ตาม แต่การแก้ไขชิ้นส่วนของซองกระสุนปืนเอ็ม .16 อันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม จึงพึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้โรงงานผู้ผลิตรับเอาซองกระสุนปืนไปแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งของตามสัญญาถึงวันครบกำหนดที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายซองกระสุนชำรุด: สิทธิบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการคืนหลักประกัน
สัญญาซื้อขายของกระสุนปืน เอ็ม .16 ซึ่งผลิตโดยโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตามสัญญาเรื่องการจัดการแก้ไขในกรณีที่ซองกระสุนปืนดังกล่าวไม่ถูกต้องจะมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไขก็ตาม แต่การแก้ไขชิ้นส่วนของซองกระสุนปืนเอ็ม .16 อันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม จึงพึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้โรงงานผู้ผลิตรับเอาซองกระสุนปืนไปแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งของตามสัญญาถึงวันครบกำหนดที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการนำทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นหลักประกันหนี้สิน โดยแสดงข้อความเท็จต่อเจ้าหนี้
จำเลยเบิกความในคดีที่บิดาจำเลยร้องขัดทรัพย์ว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่า บ้านที่โจทก์นำยึดเป็นของบิดาจำเลยแสดงว่าจำเลยรู้มาแต่แรกแล้วว่า บ้านไม่ใช่ของจำเลย การที่ จำเลยนำบ้านดังกล่าวประกันเงินกู้โจทก์โดยระบุในสัญญากู้ ว่าเป็นบ้านของจำเลย จึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้โจทก์ยอมให้จำเลย กู้เงินและส่งมอบเงินที่กู้ให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็น ความผิดฐานฉ้อโกง ปัญหาอายุความความผิดฐานฉ้อโกงในคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ การที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงในคดีที่บิดาจำเลยร้องขัดทรัพย์ว่า บ้านที่จำเลยนำไปประกันเงินกู้โจทก์นั้นเป็นบ้านของจำเลยหรือของบิดาจำเลยจึงต้องถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อคดีร้องขัดทรัพย์ถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อหลักประกัน – การสลักหลัง – สิทธิผู้ทรงเช็ค – การเรียกเงินคืน
หากได้ความตามความเป็นจริงดังที่โจทก์ฟ้องและฎีกาว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่บริษัท ส. เพื่อเป็นหลักประกันในการเข้าทำงานของโจทก์ แล้วจำเลยนำไปเข้าบัญชีของจำเลยโดยบริษัท ส. มิได้สลักหลังโอนเช็คให้ก็ถือได้ว่าไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทและจำเลยไม่ใช่ผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยหามีสิทธิเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ โจทก์ย่อมเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการพิจารณาต่อไปให้ได้ความว่าเป็นความจริงดังโจทก์ฟ้องหรือไม่ แต่มีคำสั่งงดสืบพยานของโจทก์จำเลยเสีย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันและการฟ้องร้องตามสัญญากู้
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, ค่าปรับ, การบอกเลิกสัญญา, หลักประกัน, การชดใช้ค่าเสียหาย
หลักประกันตามสัญญาซื้อขายของธนาคารที่จำเลยนำมามอบ แก่โจทก์เป็นการประกันเพื่อให้ปฏิบัติตามสัญญา หากผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิริบเมื่อถือว่าเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง ย่อมนำมาคิดหักกันได้จากค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะต้องซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นแพงขึ้น กรณีจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงซื้อขายให้แก่โจทก์เลย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และจำเลยยอมให้โจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่คู่กรณีสมัครใจทำกันขึ้น ทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ของ ประชาชน ย่อมมีผลผูกพันคู่กรณี โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าปรับได้ด้วย สินค้าที่ซื้อขายกันเป็นเงิน 37,400 บาท โจทก์ต้องซื้อสินค้าแพงขึ้น 25,125 บาท ซึ่งศาลพิพากษาให้ชดใช้ส่วนนี้แล้ว จำเลยผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังนาน 2ปี ค่าปรับกรณีผิดสัญญาคิดเป็นรายวันเป็นเงินถึง 50,000บาทเศษ ซึ่งสูงเกินส่วน ศาลลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก คงกำหนดค่าปรับให้โจทก์ 15,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธุรกิจเงินทุนและการประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 หมายความว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินใน ระยะสั้นเป็นทางค้าปกติคือให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ไม่เกินหนึ่ง ปีนับแต่วันให้กู้ยืม จะมีหลักทรัพย์เป็นประกันโดยการจำนอง จำนำ หรือค้ำประกันด้วยบุคคลหรือไม่มีหลักประกันดังกล่าวเลยก็ได้ ส่วนกิจการเครดิตฟองซิเอร์นั้นหมายความว่า กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้นแต่จำกัดว่าต้องมีหลักทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์มาจำนองเป็นประกันเงินกู้เท่านั้น จะเอาอสังหาริมทรัพย์มาจำนำหรือเอาบุคคลเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้นั้นไม่ได้ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่ 1 ยังนำที่ดินมาจำนองเป็นประกันเงินกู้อีกด้วยจึง เป็นการประกอบธุรกิจเงินทุนที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินและหลักประกัน: การกู้ยืมเงินโดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักประกัน ไม่ใช่การจำนำหุ้น
จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ซื้อหุ้นของโจทก์และทำสัญญากู้ยืมเงิน จากโจทก์มาชำระค่าหุ้น โดยจำเลยนำตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ยึดไว้เป็น หลักประกันในการกู้ยืมเงิน ดังกล่าวเท่านั้น กรณีมิใช่โจทก์รับจำนำหุ้นของตนไว้เป็นประกัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หาตกเป็นโมฆะไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินและหลักประกัน: การหักกลบลบหนี้และการคิดดอกเบี้ย
จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ซื้อหุ้นของโจทก์และทำสัญญากู้ยืมเงิน จากโจทก์มาชำระค่าหุ้นโดยจำเลยนำ ตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ยึดไว้เป็น หลักประกันในการกู้ยืมเงิน ดังกล่าวเท่านั้น กรณีมิใช่โจทก์รับจำนำหุ้น ของตนไว้เป็นประกัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นไป โดยชอบด้วยกฎหมาย หาตกเป็นโมฆะไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาของตัวแทนที่เกินอำนาจและการรับผิดของหลักประกันที่ยอมให้ใช้ชื่อ
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับ โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 มอบเช็คให้ ส.นำไปแลกเงินจาก โจทก์ โดยมีจดหมายไปถึงพนักงานสินเชื่อของโจทก์ให้จัดการ เรื่องแลกเช็คกระดาษที่เขียนก็เป็นกระดาษแบบพิมพ์ของ จำเลยที่ 1 มีตราและชื่อโรงพยาบาลบนหัวกระดาษข้อความก็ ระบุว่ากำลังขยายโรงพยาบาลจำเลยที่ 1เช่นนี้ ย่อมทำให้ โจทก์เข้าใจว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทรงและเงินที่แลกไปนั้นต้องนำไปใช้ในกิจการของ โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงชื่อสลักหลังแต่ผู้เดียว โดยมิได้ประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวจำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึง ต้องรับผิด
สิทธิเรียกร้องอันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินมี อายุความฟ้องร้อง 10 ปี
สิทธิเรียกร้องอันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินมี อายุความฟ้องร้อง 10 ปี