พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานช่วยเหลือการหลีกเลี่ยงภาษี แม้ไม่ใช่เจ้าของสินค้า จำเลยมีหน้าที่พิสูจน์ว่าสินค้าผ่านการเสียภาษีแล้ว
ผู้ที่พาของซึ่งมิได้ผ่านด่านและเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ถึงแม้จะมิได้เป็นเจ้าของก็ดี ต้องมีความผิดตาม ม.27 ข้างต้น หน้าที่นำสืบ ในเรื่องที่ว่าของกลางที่จับได้เป็นของที่ได้ผ่านด่านและเสียภาษีแล้วหรือยังเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบ ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.195 วรรค 1 ปัญหาข้อใดที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้ออ้างอิงมาแต่ชั้นศาลต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรด้วยการซ่อนเร้นสินค้า ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และเรือที่ใช้ในการกระทำผิดอาจถูกริบได้
เรือที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าซึ่งเจ้าของได้ปิดบังซ่อนเร้นเพื่อมิให้เสียภาษีนั้นย่อมเป็นของที่ต้องริบด้วย
ปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลเดิมปรับจำเลยคนละ 3300 บาทศาลอุทธรณ์แก้ไห้ปรับจำเลย 5000 บาท เช่นนี้เป็นการแก้น้อย ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลเดิมปรับจำเลยคนละ 3300 บาทศาลอุทธรณ์แก้ไห้ปรับจำเลย 5000 บาท เช่นนี้เป็นการแก้น้อย ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497-1498/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีหลีกเลี่ยงภาษี: โจทก์ต้องพิสูจน์การนำเข้าผิดกฎหมาย ไม่ใช่จำเลยพิสูจน์ความบริสุทธิ์
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยมีของกลางไว้โดยหลีกเลี่ยงจะไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากรเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบหาใช่จำเลยต้องนำสืบตาม ม.100 ไม่ อ้างฎีกาที่ 972/2479 หน้าที่นำสืบตาม ม.100 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ลักลอบหนีภาษีขาเข้าหรือขาออก หาเกี่ยวกับผู้ซื้อของจากพ่อค้าในตลาดเปิดเผยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินลดทุนบริษัทเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(4)(ง) การไม่นำมารวมคำนวณภาษีถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
ป.รัษฎากร มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้... (4) เงินได้ที่เป็น (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน" เดิมบริษัทมีทุนจดทะเบียน 35,000,000 วันที่ 27 เมษายน 2549 บริษัทจดทะเบียนลดทุนเหลือ 29,000,000 บาท งบดุลของบริษัทรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 ก่อนการคืนเงินลงทุนมีกำไรสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 จำนวน 14,888,824 บาท เมื่อหักเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น 4,900,000 บาท คงเหลือกำไรสะสมก่อนคืนเงินลดทุน 9,988,824 บาท การที่บริษัทจดทะเบียนลดทุนและจ่ายเงินลดทุนหรือเงินลงทุนคืนแก่ผู้ถือหุ้น 6,000,000 บาท จึงเป็นการจ่ายเงินลดทุนซึ่งส่วนที่จ่ายคืนนั้นไม่เกินกว่ากำไรสะสมก่อนคืนเงินลดทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ง) ที่โจทก์ทั้งสามต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี สัญญาเป็นโมฆะทั้งสิ้น คืนเงินมัดจำ
โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อจะขายที่ดิน 3 แปลง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินอื่นตามที่ระบุในสัญญาในราคารวม 56,000,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินดังกล่าว ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 1 และข้อ 3 ระบุว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นที่ดินเปล่าตามราคาประเมินของสำนักงานที่ดินอำเภอพระประแดงเป็นเกณฑ์ ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในข้อ 5 (3) โดยระบุว่าขายเฉพาะที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่ตรงกับความจริง จำเลยที่ 2 เบิกความรับว่าหากโจทก์ต้องการให้จดทะเบียนโอนสิ่งปลูกสร้างด้วย โจทก์ต้องรับผิดชอบเสียค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1,000,000 บาท การกระทำของโจทก์และจำเลยทั้งสองที่ตกลงกันตามสัญญาดังกล่าวในข้อ 3 บ่งชี้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมและค่าภาษีในการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามที่ซื้อขายกันจริง ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ส่วนข้อตกลงในการซื้อขายที่ดินรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินอื่นตามข้อ 1 นั้น แม้จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อข้อตกลงในข้อ 3 ไม่มีผลบังคับแล้วย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันดังกล่าวได้ ข้อตกลงในข้อ 1 จึงเป็นโมฆะตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้นโจทก์หรือจำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิและหน้าที่ต่อกันจึงไม่อาจบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหายต่อกันได้ ดังนั้นจำเลยทั้งสองต้องคืนเงินมัดจำจำนวน 5,600,000 บาท ให้แก่โจทก์ ซึ่งมิใช่กรณีอันเกิดจากการเลิกสัญญา จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดพร้อมด้วยดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13253/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการจ่ายเงินสนับสนุนแทนเงินปันผล ทำให้เกิดเงินได้พึงประเมินและหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
บริษัทโจทก์ บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเดียวกันคือ บริษัท อาเซียอา นิติบุคคลตามกฎหมายไทยถือหุ้นร้อยละ 51 และมีบริษัท เอบีบี อ. นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 49 ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัทโจทก์มีกำไรสะสม 101,754,580 บาท ซึ่งโจทก์ควรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ การจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท เอบีบี อ. ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศโจทก์ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 แต่โจทก์กลับจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเพียง 2,105,627 บาท แล้วนำกำไรอีก 99,000,000 บาท ไปจ่ายเป็นเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. โดยไม่ได้รับผลตอบแทนเพื่อให้บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้แก่บริษัท เอบีบี อ. ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เอบีบี อ. หลังจากโจทก์ให้เงินสนับสนุนแก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. เพียงสองวัน โจทก์และบริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทในวันเดียวกัน ปกติก่อนเลิกบริษัท หากโจทก์มีหนี้สินก็ควรนำเงินไปชำระหนี้ก่อนที่เหลือจึงนำแบ่งให้แก่ผู้ถือหุ้น การที่โจทก์จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. เป็นทางให้บริษัท อาเซียอา ผู้ถือหุ้นใหญ่ของโจทก์ขาดประโยชน์ที่พึงมีพึงได้จากกำไรสะสม 99,000,000 บาท ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลสมควรอันใดที่บริษัท อาเซียอา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีอำนาจบริหารในบริษัทโจทก์จะยอมให้โจทก์กระทำให้บริษัท อาเซียอา ต้องเสียเปรียบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท เอบีบี อ. โดยตรง กับใช้วิธีให้เงินสนับสนุนแก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ก็เพื่อที่โจทก์ไม่ต้องหักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้บริษัท เอบีบี อ. ตามมาตรา 70 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าบริษัท เอบีบี อ. ได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากกำไรสะสมที่โจทก์ได้จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ตามสัดส่วนของการถือหุ้นอันเป็นการเพิ่มพูนทรัพย์สินของบริษัท เอบีบี อ. อันอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 และเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) ที่จ่ายจากประเทศไทย โจทก์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีใหม่ การแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาด และการหลีกเลี่ยงภาษี กรณีเงินได้จากการเลี้ยงไก่ไข่และเช็ค
ตาม ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดใหม่ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการประเมินใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งก่อน แม้การประเมินที่ผิดพลาดดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกการประเมินและเจ้าพนักงานประเมินได้ยกเลิกการประเมินครั้งแรกแล้ว ต้องถือเสมือนว่าไม่มีการประเมินและในการประเมินครั้งใหม่ เจ้าพนักงานประเมินก็มิได้ประเมินในเรื่องอื่นนอกเหนือไปจากการประเมินครั้งแรก แต่เป็นการคำนวณเงินได้สุทธิ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มของโจทก์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อการประเมินครั้งใหม่ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงครั้งเดียว จึงไม่เป็นการประเมินซ้ำซ้อนหรือทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซ้ำซ้อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19349/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ - เครื่องหมายการค้า - ศุลกากร: จำเลยว่าจ้างขนดีวีดีละเมิดลิขสิทธิ์และหลีกเลี่ยงภาษีอากร ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 บัญญัติให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อของกลางที่ยึดได้ในคดีนี้เป็นดีวีดีที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 บัญญัติให้บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 70 ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ กรณีจึงไม่อาจนำดีวีดีที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งแปดและของผู้เสียหายที่ 8 ถึงที่ 11 ออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลให้แก่ผู้นำจับและเจ้าพนักงานผู้จับได้ และแม้จะยังมีดีวีดีบางส่วนที่ไม่ทราบตัวผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เป็นของกลางด้วยก็ตาม แต่เมื่อดีวีดีดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หากมีการนำออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายให้กระทำได้ จึงไม่อาจนำดีวีดีนั้นออกขายเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นสินบนและรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ได้ แม้การจ่ายสินบนและรางวัลในกรณีของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ พระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 7 วรรคสอง จะให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลก็ตาม แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยไม่ปรับ ตามระวางโทษที่มาตรา 27 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติไว้ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่า ราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจึงไม่มีเงินค่าปรับที่จะสั่งจ่ายเป็นสินบนร้อยละสามสิบของค่าปรับแก่ผู้นำจับและจ่ายเป็นรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับแก่เจ้าพนักงานผู้จับตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17216/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการตรวจค้นเพื่อสอบสวนภาษี: เหตุอันควรเชื่อว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นเพียงพอ
มาตรา 3 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนไม่ หากแต่เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจอธิบดีเข้าไปหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใดเพื่อทำการตรวจค้น ยึดหรืออายัดบัญชีเอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งต่อมาเมื่อมีการตรวจค้น ยึดหรืออายัดเอกสารมาตรวจสอบแล้ว ผลปรากฏว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ผู้เสียภาษียื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา 19 เป็นลำดับถัดไป คดีนี้เจ้าพนักงานทำการสืบสวนการดำเนินกิจการของโจทก์แล้วเห็นว่า โจทก์มียอดขายสูงกว่าที่ยื่นแบบและมิได้ออกใบกำกับภาษีแก่ผู้ซื้อสินค้าทันที แสดงว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพากรเข้าไปในสถานที่ทำการของโจทก์เพื่อทำการตรวจค้น ยึดหรืออายัดบัญชีเอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสียได้ แม้เจ้าพนักงานจะบันทึกว่า ได้มาทำการตรวจค้นตามคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดภาษีอากรค้างรายโจทก์ก็ตาม ก็หามีผลทำให้คำสั่งของอธิบดีที่ออกมาแล้วโดยชอบตามกฎหมายกลับเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบขึ้นมาได้ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในสถานประกอบการของผู้ประกอบการตามมาตรา 88/3 และมีอำนาจออกหมายเรียกตามมาตรา 88/4 ได้เองอยู่แล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19