พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ: ฟ้องห้างฯ หรือฟ้องผู้จัดการส่วนตัว?
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมัน "ทองคำบริการ"รับรถยนต์ของโจทก์ไว้อัดฉีดแล้วประมาทเลินเล่อปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เอารถคันดังกล่าวของโจทก์ไป ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดทองคำบริการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากรับทำการอัดฉีดรถของโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้ทำแทนห้างฯ มิได้ทำในฐานะส่วนตัวเมื่อฟ้องโจทก์มิได้ระบุถึงความรับผิดของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และไม่ได้ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดประการใดเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้จำเลยรับผิดในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างดังกล่าวไม่ได้ ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้, เบี้ยปรับ, การแปลงหนี้, การบังคับจำนอง, และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
ธนาคารให้กู้เงินคิดดอกเบี้ยร้อยละ 9 ต่อปี มีข้อสัญญาว่าถ้าผิดนัดให้เรียกเบี้ยปรับร้อยละ 6 ต่อปี ดังนี้ ไม่ขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฯไม่เป็นโมฆะ ศาลลดลงเป็นให้ชำระร้อยละ 3 ได้
หนังสือรับสภาพหนี้ขอผ่อนชำระ และเจ้าหนี้อนุมัติ ไม่มีการเปลี่ยนสารสำคัญแห่งหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ จำนองไม่ระงับ
หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ที่ห้างกู้เงินผู้จำนองประกันหนี้ของห้างไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างต้องบังคับชำระหนี้เงินกู้ก่อน จึงจะบังคับหนี้จำนองอันเป็นอุปกรณ์
บรรยายฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ ตอนท้ายอ้างบันทึกรับสภาพหนี้ เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงให้ชัดขึ้นไม่ขัดแย้งไม่เคลือบคลุม
หนังสือรับสภาพหนี้ขอผ่อนชำระ และเจ้าหนี้อนุมัติ ไม่มีการเปลี่ยนสารสำคัญแห่งหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ จำนองไม่ระงับ
หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ที่ห้างกู้เงินผู้จำนองประกันหนี้ของห้างไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างต้องบังคับชำระหนี้เงินกู้ก่อน จึงจะบังคับหนี้จำนองอันเป็นอุปกรณ์
บรรยายฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ ตอนท้ายอ้างบันทึกรับสภาพหนี้ เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงให้ชัดขึ้นไม่ขัดแย้งไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ของหุ้นส่วนผู้จัดการทำให้หุ้นส่วนอื่นเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอกทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียเองนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งย่อมเป็นผู้เสียหาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนในการตรวจบัญชีและการแสดงบัญชีของหุ้นส่วนผู้จัดการ
สามีจำเลยกับโจทก์ร่วมกันเข้าหุ้นตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตายโจทก์จำเลยตกลงให้กิจการของห้างดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากสามีจำเลยเป็นจำเลย ทรัพย์สินของสามีจำเลยซึ่งมีอยู่ในห้างย่อมเป็นมรดกได้แก่จำเลย เมื่อจำเลยตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์แทนที่สามีจำเลยก็เท่ากับจำเลยได้ลงหุ้นแล้ว
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในคดีจัดการห้างหุ้นส่วน: การโอนทรัพย์สินชำระหนี้เป็นอำนาจจัดการของหุ้นส่วนผู้จัดการ
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโอนขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัดเพื่อชำระหนี้จำนองของห้าง เป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ที่จะทำได้
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าว เพราะการฟ้องคดีเป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจที่จะฟ้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าว เพราะการฟ้องคดีเป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจที่จะฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการสืบพยาน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียนผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ 3 คน โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจัดการห้างหุ้นส่วนได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1035 หุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คนลงชื่อในใบแต่งทนายก็ใช้ได้หาจำเป็นต้องให้หุ้นส่วนผู้จัดการทั้งสามร่วมทำการแทนไม่
จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานครั้งแรกอ้างว่าทนายความคนหนึ่งป่วยทนายความอีกคนหนึ่งไปเป็นพยานที่อื่น ครั้งที่สองและสามอ้างว่าจำเลยป่วยในวันสืบพยานทุกครั้งไม่มีพยานจำเลยมาศาล และจำเลยมิได้จัดการขอหมายเรียกพยานมาด้วย โดยเฉพาะในวันสืบพยานครั้งที่สองศาลสั่งว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใดๆ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานครั้งแรกอ้างว่าทนายความคนหนึ่งป่วยทนายความอีกคนหนึ่งไปเป็นพยานที่อื่น ครั้งที่สองและสามอ้างว่าจำเลยป่วยในวันสืบพยานทุกครั้งไม่มีพยานจำเลยมาศาล และจำเลยมิได้จัดการขอหมายเรียกพยานมาด้วย โดยเฉพาะในวันสืบพยานครั้งที่สองศาลสั่งว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใดๆ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในการกระทำผิดของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือน ภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนและเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับ ดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม
จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือน ภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนและเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับ ดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดร่วมของหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะตัวแทนของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนแต่ละเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้นเมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนแต่ละเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้นเมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278-2279/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของหุ้นส่วนผู้จัดการในการรักษาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโรงงานฆ่าสัตว์ โจทก์เป็นลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนและอาศัยอยู่ในโรงงานฆ่าสัตว์ ซึ่งเป็นสำนักงานของห้างหุ้นส่วน จำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จำเลยกับพวกไปที่โรงงานยื่นบันทึกให้โจทก์ส่งมอบเงินกับบัญชีและอายัดทรัพย์ปิดไว้ที่ตู้เซฟ ประตูห้องโจทก์ และเอาไม้ตีประตูชั้นล่างของโรงงาน เพราะเกรงว่าจะมีสิ่งของหายไป เช่นนี้จำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการแต่งตั้งทนายความของหุ้นส่วนผู้จัดการ และความชอบของฟ้องคดีในนามห้างหุ้นส่วน
ซ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโจทก์ แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความ แม้ว่าในใบแต่งทนายจะระบุว่า ซ. เป็นผู้แต่งตั้งทนาย แต่ ซ. ได้ลงชื่อและประทับตราของห้างหุ้นส่วนโจทก์ไว้ด้วยแสดงถึงอำนาจในการแต่งตั้งทนายความแทนห้างหุ้นส่วนโจทก์ไว้แล้ว ส่วนด้านหลังใบแต่งทนาย แม้ ป. ผู้รับเป็นทนายจะระบุรับเป็นทนายให้ ซ. โดยมิได้ระบุถึงห้างหุ้นส่วนโจทก์ซึ่ง ซ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่อาจแปลได้ว่า ป. รับเป็นทนายในฐานะส่วนตัวของ ซ. ดังนั้น การที่ ป. ลงชื่อเป็นผู้ฟ้องคดีของห้างหุ้นส่วนโจทก์ จึงหาเป็นการไม่ชอบไม่