คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในเช็คและการจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1,2 ร่วมกันลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต่อมาได้เลิกกิจการ จำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4058/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง: ผู้ดูแลปั๊มมีส่วนร่วมความผิดกับห้างหุ้นส่วน
คำว่า ผู้จำหน่ายน้ำมัน ที่ให้ความหมายไว้ว่า สถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นหมายความว่าถ้าสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นดำเนินการโดยนิติบุคคลก็ถือว่านิติบุคคลนั้นเป็นผู้จำหน่ายน้ำมัน ถ้าดำเนินการโดยบุคคลธรรมดา ก็ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้จำหน่ายน้ำมัน มิได้กำหนดเอาเฉพาะนิติบุคคลเท่านั้นที่จะดำเนินการเป็นสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ดูแลกิจการปั๊มน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ซึ่งมีช. สามีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ขายน้ำมันดีเซลโดยกำหนดให้ผู้ซื้อต้องซื้อสินค้าอื่นด้วย อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งนายกรัฐมนตรีและเป็นความผิดตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันของคู่สัญญา และการยอมรับหนี้ร่วมกันของห้างหุ้นส่วน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนทำไว้มีใจความว่า จำเลยที่ 2 โดย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการ และ ท. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินทั้งสิ้น 107,704 บาท 50 สตางค์ ให้แก่โจทก์ โดยตกลงชำระงวดแรกในเดือนที่ตกลงกันเป็นเงิน 20,000บาท ต่อไปชำระทุกเดือน เดือนละ 10,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หากผิดสัญญายอมให้ฟ้องร้องดำเนินการทางแพ่งอย่างเดียว ส่วนการร้องทุกข์คดีอาญาโจทก์ไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อไป ข้อความเช่นนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้ ช. หุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของห้าง ฯ แต่เมื่อมีข้อความระบุไว้แจ้งชัดว่า ช. เป็นผู้ทำความตกลงในนามของห้าง ฯ ถือได้ว่าห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงชดใช้เงินให้แก่โจทก์อันมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ จึงต้องผูกพันรับผิดตามข้อความในบันทึกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันของคู่สัญญาและผู้ลงนามในนามห้างหุ้นส่วน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนทำไว้มีใจความว่า จำเลยที่ 2 โดย ช.หุ้นส่วนผู้จัดการและท. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินทั้งสิ้น 107,704 บาท 50 สตางค์ให้แก่โจทก์ โดยตกลงชำระงวดแรกในเดือนที่ตกลงกันเป็นเงิน 20,000บาท ต่อไปชำระทุกเดือน เดือนละ 10,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หากผิดสัญญายอมให้ฟ้องร้องดำเนินการทางแพ่งอย่างเดียว ส่วนการร้องทุกข์คดีอาญาโจทก์ไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อไป ข้อความเช่นนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้ ช. หุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของห้าง ฯ แต่เมื่อมีข้อความระบุไว้แจ้งชัดว่า ช. เป็นผู้ทำความตกลงในนามของห้าง ฯ ถือได้ว่าห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงชดใช้เงินให้แก่โจทก์อันมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ จึงต้องผูกพันรับผิดตามข้อความในบันทึกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการขอให้ล้มละลายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน และขอบเขตความรับผิดของผู้ออกจากหุ้นส่วน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ไม่ใช่เรื่องอายุความ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ออกจากหุ้นส่วนให้รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน บทบัญญัติดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้เมื่อจำเลยทำสัญญารับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นลูกหนี้กรมสรรพากร การชำระหนี้ต้องชำระในนามของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้นำเงินส่วนตัวชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 แล้วจำเลยจึงต้องรับชำระเงินตามจำนวนนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนที่ออกจากห้างหุ้นส่วน: สัญญาตกลงพิเศษมีผลเหนือบทบัญญัติมาตรา 1068
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ไม่ใช่เรื่องอายุความ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ออกจากหุ้นส่วนให้รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วนบทบัญญัติดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนคู่กรณีจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อจำเลยทำสัญญายอมรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นลูกหนี้กรมสรรพากรการชำระหนี้ต้องชำระในนามของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้นำเงินส่วนตัวชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 แล้วจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ: ฟ้องห้างฯ หรือฟ้องผู้จัดการส่วนตัว?
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมัน "ทองคำบริการ"รับรถยนต์ของโจทก์ไว้อัดฉีดแล้วประมาทเลินเล่อปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เอารถคันดังกล่าวของโจทก์ไป ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดทองคำบริการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากรับทำการอัดฉีดรถของโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้ทำแทนห้างฯ มิได้ทำในฐานะส่วนตัวเมื่อฟ้องโจทก์มิได้ระบุถึงความรับผิดของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และไม่ได้ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดประการใดเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้จำเลยรับผิดในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างดังกล่าวไม่ได้ ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนโดยมิได้รับมอบหมาย และผลของการไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วน จำกัด และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชดใช้เงินทดรองซึ่งโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนผู้+ ได้ออกทดรองไปคืนแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การปัดความรับผิดด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ไม่ได้ให้การว่าการที่โจทก์ออกเงินทดรองไปเป็นการเอื้อมเข้าไปจัดการงานของห้างโดยพลการซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยื มาตรา 1043 ให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยจัด+นอกสั่ง และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแพ้คดีแล้ว จำเลยฎีกาว่าการทำของโจทก์เป็นการที่หุ้นส่วนอันมิ+ผู้จัดการเอื้อมเข้าไปจัดการงานของห้างโดยพลการ ซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการจัดการงานนอกสั่ง ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่าข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ - มาตรา 225,249 จะยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำลอง & ความรับผิดชอบของห้างหุ้นส่วน: การกระทำของหุ้นส่วนที่ผูกพันห้าง และผลกระทบต่อการบังคับชำระหนี้
ม.ทำสัญญาเช่าซื้อเครื่องปรับอากาศระบุชื่อโรงแรมสุริยาตรโฮเต็ลและ ม.ลงชื่อประทับตราของห้างสุริยาตรโฮเต็ล ผู้ร้องนำของนี้ไปใช้ในโรงแรมผู้ร้อง ไม่มีโรงแรมสุริยาตรที่อื่นอีก โจทก์ผู้เช่าซื้อก็คือผู้ร้องนั่นเอง ผู้ร้องยอมให้ ม. แสดงออกเป็นตัวแทนต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดจากสัญญาเช่าซื้อซึ่งโจทก์แพ้คดีจำเลย
of 23