คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางพิพาทต่อเนื่องโดยได้รับอนุญาตและเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวบ้าน
โจทก์ทั้งสิบซึ่งมีที่ดินและบ้านเรือนอยู่ด้านหลังที่ดินจำเลยและชาวบ้านใกล้เคียงได้ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นคันดินร่องสวนในที่ดินโฉนดเลขที่3818 ของจำเลยเดินออกสู่ถนนสาธารณะมาประมาณ 50 ปี โดยเจ้าของเดิมไม่ได้ห้ามปราม และเมื่อจำเลยซื้อที่ดินดังกล่าวมาก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ห้ามปรามยังคงให้เดินผ่านตลอดมา แม้จำเลยปลูกสร้างรั้วในที่ดินก็ยังเว้นทางเดินให้อยู่นอกรั้วที่จำเลยก่อสร้าง เมื่อโจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านเดินเข้าออกในทางพิพาทเกิน10 ปี ติดต่อกันโดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ใด และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวบ้านในท้องถิ่นที่เอื้อเฟื้อกัน กรณีผู้ที่อยู่ในสวนลึกจะต้องอาศัยเดินผ่านสวนของผู้อื่นออกสู่ทางสาธารณะการยินยอมอนุญาตดังกล่าวเป็นการยินยอมอนุญาตโดยทั่วไปที่ไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตน ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน เป็นภาระจำยอมที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ จึงมิใช่การอนุญาตด้วยความคุ้นเคยเป็นการเฉพาะตัวหรือเป็นการถือวิสาสะ ดังนี้โจทก์ทั้งสิบจึงได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าการเดินเผชิญสืบในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวเป็นการเพียงพอที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดเดินเผชิญสืบจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.กำหนดอัตราค่าทนายความในคดีไม่มีทุนทรัพย์ขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ 3,000 บาท คดีนี้แม้มีโจทก์ 10 คน แต่ฟ้องรวมเป็นคดีเดียว โจทก์ทั้งสิบจึงมีสิทธิได้ค่าทนายความอย่างสูงเพียง 3,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางโดยอาศัยอนุญาต ไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
เมื่อจำเลยซื้อที่ดินมาแล้วก็ได้สร้างกำแพงกั้นตลอดแนวระหว่างที่ดินของโจทก์จำเลย คงเว้นเป็นช่องกว้าง 3.85 เมตร เพื่อให้โจทก์ใช้ผ่านเข้าออกแต่ได้สร้างประตูเหล็กบานเลื่อนกั้นไว้ในที่ดินของจำเลย มีสายยูคล้องกุญแจและสามารถใส่กุญแจได้เมื่อไม่ประสงค์ให้โจทก์ใช้ แสดงถึงการหวงกันมิให้โจทก์หรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทโดยพลการ จึงถือได้ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิและการอนุญาตให้ใช้จากฝ่ายจำเลย ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางข้ามที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยอนุญาต ไม่เป็นภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องนาน
เมื่อจำเลยซื้อที่ดินมาแล้วก็ได้สร้างกำแพงกั้นตลอดแนวระหว่างที่ดินของโจทก์จำเลย คงเว้นเป็นช่องกว้าง 3.85 เมตรเพื่อให้โจทก์ใช้ผ่านเข้าออกแต่ได้สร้างประตูเหล็กบานเลื่อนกั้นไว้ในที่ดินของจำเลย มีสายยูคล้องกุญแจและสามารถใส่กุญแจได้เมื่อไม่ประสงค์ให้โจทก์ใช้ แสดงถึงการหวงกันมิให้โจทก์หรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทโดยพลการ จึงถือได้ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิและการอนุญาตให้ใช้จากฝ่ายจำเลยดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาข้ามกำหนดระยะเวลา และการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายในการขออนุญาตฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5บัญญัติว่า ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น และคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539 ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาฎีกา, การขยายเวลา, และการยื่นคำร้องอนุญาตฎีกาหลังหมดกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา216บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟังทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/5บัญญัติว่าถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้นและคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่27กันยายน2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่17ตุลาคม2539แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16ตุลาคม2539ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก15วันซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตเมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/3วรรคสองบัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้วจึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่31ตุลาคม2539จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่29ตุลาคม2539ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมายส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ซึ่งยื่นเมื่อวันที่18พฤศจิกายน2539นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตามแต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางในที่ดินของผู้อื่น: การได้รับอนุญาตไม่ใช่สิทธิภารจำยอม, การโอนสิทธิเมื่อเจ้าของเปลี่ยน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่610เป็นของบิดาจำเลยที่1เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วนเมื่อบิดาจำเลยที่1ถึงแก่ความตายจำเลยที่1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสองขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่1บิดาจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่1ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าวการที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาทจึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่1และตัวจำเลยที่1นั่นเองโจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่งเมื่อปรากฎว่าโจทก์ที่1เพิ่งจะซื้อที่่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2524โจทก์ที่2ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2527นับถึงวันฟ้องวันที่31มกราคม2534ยังไม่ครบ10ปีถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1ก็หาอาจได้สิทธิภารจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่ ที่โจทก์ที่2อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่1จำเลยที่1เคยทำสัญญาไว้ว่าเมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้นก็ปรากฎว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่1กับส.มิได้กระทำกับโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่2ได้หย่าขาดกับส.แล้วและมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภารจำยอมไว้ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างจำเลยที่1กับส. ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่2จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่1ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้ ขณะที่โจทก์ที่2สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่2จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาตเมื่อจำเลยที่2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีกโจทก์ที่2จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออกเมื่อโจทก์ที่2ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่2จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่2ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานหลังพ้นกำหนดเวลา เมื่อมีเหตุสมควรและไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ภายในเวลากำหนดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายก็มิได้ตัดโอกาสที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเสียทีเดียว คงให้โอกาสแก่คู่ความฝ่ายที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานได้ หากปรากฏตามคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานว่ามีเหตุสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ และถ้าศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจำเป็นที่จะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น ศาลก็อนุญาตตามคำร้อง โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเหตุว่าส.ทนายความคนก่อนของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากเป็นทนายความโดยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เป็นเหตุให้ ส.ยุติการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความตั้งแต่วันนั้นและจากวันดังกล่าวส. ก็ไม่ได้มาศาล ดังนี้เมื่อการไม่ยื่นบัญชีระบุพยานเป็นความบกพร่องของทนายความซึ่งโจทก์ไม่อาจทราบได้ จึงนับว่ามีเหตุอันสมควร ที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดได้ และเพื่อให้ การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่กำหนดไว้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ทั้งจำเลยก็ไม่ได้สืบพยานแต่ประการใดกรณีไม่อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ จึงชอบที่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจโดยชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้"บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตาม ศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่ จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้ว แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจโดยชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคสองที่บัญญัติว่า"ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้"บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตามศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้วแม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์
ในการเจรจาเรื่องค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 2 เจรจาแทนฝ่ายผู้ต้องหา มีการตกลงใช้ค่าเสียหายแก่ญาติของผู้ตายเป็นเงิน 150,000 บาท หลังจากนั้นมีการจ่ายเงิน 100,000 บาท ที่บริษัทจำเลยที่ 1 บ.มารดาผู้ตาย และ จ.บิดาผู้ตายได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายที่บริษัทจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาทที่โจทก์ที่ 1 และ บ.แถลงในรายงานกระบวนพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้น ซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ โจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 3 เป็นจำเลยว่าร่วมกันได้รับชดใช้เงินจากจำเลยที่ 3 อีก 60,000 บาท ไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลยที่ 3 ต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3แล้ว แต่สำหรับโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์โดยโจทก์ที่ 1 ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องคดีแทนนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 แทนโจทก์ที่ 2 การประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ตามป.พ.พ.มาตรา 1574 (12) หากมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจกระทำได้ การประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2
ปัญหาเรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นเรื่องกระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบกับมาตรา 246 และ 247
of 94