คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาโตตุลาการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของคนต่างด้าว, อายุความค่าสิทธิประดิษฐ์, การบอกเลิกสัญญา, และการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ช.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลย หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้ประกอบธุรกิจบริการ โดยการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนการค้าไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 4 และตามบัญชี ก.ท้ายประกาศ หมวด 3(5)
ค่าสิทธิประดิษฐ์ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ฝึกสอนวิธีการประดิษฐ์กระเบื้องซีรามิคตามสัญญา ซึ่งมีการตกลงจ่ายเป็นงวด ๆ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย นั้น ไม่เข้าลักษณะการเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) (7) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
หนังสือของจำเลยตอบหนังสือของโจทก์ที่ถามความเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาว่าจำเลยตกลงใจไม่ต่อสัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิคกับโจทก์และโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่า โจทก์ตกลงตามที่จำเลยตัดสินใจ ดังนี้ หนังสือของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ แต่เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสนองตอบตามที่โจทก์ขอความเห็นหรือหารือล่วงหน้าก่อนครบกำหนดต่ออายุสัญญาว่า จะมีการต่ออายุสัญญาต่อไปหรือไม่โจทก์กลับมีหนังสืออันมีข้อความในลักษณะเป็นการตกลงตามที่จำเลยสนองตอบข้อหารือของโจทก์นั้น จึงเท่ากับตกลงที่จะไม่ต่ออายุสัญญากันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จำเลยมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ข้อขัดแย้งหรือข้อเรียกร้องใดซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้หรือการประพฤติปฏิบัติผิดสัญญานี้ คู่สัญญาจะทำความตกลงกันด้วยสันติวิธี ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้จะต้องชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ ดังนี้ สัญญามิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องตั้งอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน จึงจะฟ้องได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอิสลาม และบังคับตามคำชี้ขาดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
เมื่อบิดาโจทก์จำเลยถึงแก่กรรม บุตร 6 คนขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาท ต่อมาบุตร 4 คนยกที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้โจทก์จำเลยแล้วโจทก์จำเลยทำบันทึกตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแต่ยังมิได้รังวัดแบ่งแยกโฉนด ต่อมาสามีจำเลยและโจทก์ลงชื่อในฐานะคู่กรณี จำเลยลงชื่อในฐานะพยานในเอกสารมีข้อความว่า ทั้งสองฝ่ายยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และยอมให้นำเอกสารคำวินิจฉัยชี้ขาดเป็นหลักในการตัดสินชี้ขาดของศาล ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครเป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทของโจทก์จำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งหมด เมื่อคณะกรรมการฯ ทำคำชี้ขาดและแจ้งจำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามศาลต้องบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญา ก่อสร้าง: การวินิจฉัยของวิศวกรที่ปรึกษาผูกพันคู่สัญญา หากไม่ดำเนินการขออนุญาโตตุลาการภายในกำหนด
โจทก์เป็นผู้ประมูลก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำให้แก่จำเลยซึ่งมีบริษัทหนึ่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา หลังจากก่อสร้างเสร็จและส่งมอบงานแล้ว โจทก์ได้เรียกร้องเงินนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยผ่านวิศวกรที่ปรึกษาไปยังจำเลย จำเลยได้เสนอค่าเสียหายแก่โจทก์ในจำนวนที่ต่ำกว่าเงินที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์จึงได้เสนอเรื่องให้วิศวกรที่ปรึกษาของจำเลยชี้ขาดตามข้อสัญญา ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีฯ วิศวกรวินิจฉัย ให้จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์เป็นจำนวนหนึ่ง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง เรียกร้องค่าเสียหายตามคำวินิจฉัยของวิศวกรที่ปรึกษา ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้อง และผู้คัดค้าน กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธาน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการ จนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ. เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้ มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล กรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ. และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องและผู้คัดค้านกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธานศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการจนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ.เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาลแม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาลกรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ.และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหลังส่งมอบหม้อแปลง: สิทธิฟ้องศาลเมื่อไม่ใช่ข้อโต้แย้งตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ
สัญญาซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้าระหว่างโจทก์จำเลยมีความข้อหนึ่งว่าถ้ามีกรณีโต้แย้งขึ้นเกี่ยวกับข้อสัญญา ให้คู่สัญญาเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าหม้อแปลงเกิดชำรุดเพราะความบกพร่องของพนักงานของโจทก์หรือเพราะเสื่อมคุณภาพเนื่องจากใช้งาน ไม่ใช่ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายตามข้อสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ: การข่มขู่หลอกลวงและการบอกเลิกสัญญา
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้แบ่งมรดกตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลย การที่จำเลยบอกโจทก์ว่าตามศาสนาอิสลามโจทก์เป็นหญิงไม่มีสิทธิรับมรดก แต่จะแบ่งให้บ้างถ้าโจทก์ลงชื่อตั้งอนุญาโตตุลาการ มิฉะนั้นโจทก์จะอยู่ในบ้านที่เป็นมรดกไม่ได้ ดังนี้ หาเป็นการข่มขู่หลอกลวงให้ร่วมลงชื่อในสัญญาดังกล่าว นี้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกเลิกการตั้งอนุญาโตตุลาการไปยังคณะอนุญาโตตุลาการ จำเลยมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ: การข่มขู่หลอกลวงและการบอกเลิกสัญญา
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้แบ่งมรดกตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลย การที่จำเลยบอกโจทก์ว่าตามศาสนาอิสลามโจทก์เป็นหญิงไม่มีสิทธิรับมรดก แต่จะแบ่งให้บ้างถ้าโจทก์ลงชื่อตั้งอนุญาโตตุลาการ มิฉะนั้นโจทก์จะอยู่ในบ้านที่เป็นมรดกไม่ได้ ดังนี้ หาเป็นการข่มขู่หลอกลวงให้ร่วมลงชื่อในสัญญาดังกล่าวนี้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกเลิกการตั้งอนุญาโตตุลาการไปยังคณะอนุญาโตตุลาการ จำเลยมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอข้อพิพาทราคาเวนคืนที่ดินต่อนอกศาล และการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรม จึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกันได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ.ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่า ให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ.ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วย จึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเรื่องเวนคืนที่ดิน: การเสนอคดีต่อศาลต้องเป็นคำฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรมจึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกัน ได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ. ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่าให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ. ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วยจึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาทผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
of 28