คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ระบุเงื่อนไขการแจ้งอัตราดอกเบี้ย
โจทก์ผู้ให้กู้เป็นธนาคารพาณิชย์จะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่นั้น ย่อมสุดแท้แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้กู้ หากในสัญญาระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ หากผู้ให้กู้ไม่แจ้ง ย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยได้
ตามหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทมีข้อความว่า ถ้าปรากฏว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้เบิกเงินเกินจากบัญชีกระแสรายวันไปเกินกว่าวงเงินที่ตกลงกันผู้เบิกเงินเกินบัญชียินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในส่วนเบิกเกินไปนั้น ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้สำหรับการให้กู้ยืมในขณะนั้นได้และยินยอมให้ธนาคารนำดอกเบี้ยนี้คำนวณทบต้นตามธรรมเนียมและประเพณีของธนาคารที่กล่าวไว้แล้วได้ด้วย และแม้ก่อนจะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ก็ตามก็ไม่ตัดสิทธิของธนาคารที่จะบอกเลิกสัญญาหรือที่จะลดวงเงินหรือที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารจะเห็นสมควร โดยธนาคารจะแจ้งให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีทราบหรือไม่ก็ตามผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงยินยอมและขอปฏิบัติตามทุกประการโดยพลัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงแจ้งชัดแล้วว่า การที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ แม้จะไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร, ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้วมีการเดินสะพัดทางบัญชีในบัญชีกระแสรายวันตลอดมาโดยมีการทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว แม้ยังไม่มีการทำบันทึกต่ออายุสัญญาครั้งต่อไปแต่โจทก์ยังยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาอีกจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้สัญญาเดินสะพัดดังกล่าวยังมีผลต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา การที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกฉบับหนึ่งโดยให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันในบัญชีกระแสรายวันเดิมและต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกเป็นรายลักษณ์ อักษรโดยกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาเช่นเดียวกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ฉบับที่ 2 ดังนี้แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลย ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 โจทก์กับจำเลย ตกลงเดินสะพัดตามบัญชีเดินสะพัดคือบัญชีกระแสรายวันเดิม โดยถือเงื่อนไขตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกและ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 รวมกัน ซึ่งการคิดดอกเบี้ย ต้องนำยอดหนี้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ละฉบับ มาคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันในแต่ละสัญญาแยกกันก่อน แล้วจึงนำดอกเบี้ยมารวมยอดกันเพื่อทบเป็นต้นเงินใหม่ การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดยอดหนี้ที่จำเลย ต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า จำเลยนำเงินเข้าบัญชี หักชำระหนี้หมดแล้วในวันที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ฉบับที่ 2 แล้วจึงเบิกถอนเงินออกไปใหม่อีกในวันเดียวกัน การคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เบิกถอนออกไปใหม่ยังพอที่ศาล จะพิพากษากำหนดวิธีการคิดยอดหนี้เฉพาะดอกเบี้ยตามอัตรา ที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องคิดคำนวณเป็นตัวเลขให้จำเลย ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์ควรได้รับชำระหนี้ จากลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญากู้เงิน: ศาลมีอำนาจลดหากสูงเกินส่วน
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาท ได้กำหนดไว้เป็น 2อัตรา คืออัตราสูงสุดสำหรับกรณีผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 16 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดลงได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆเมื่อดอกเบี้ยอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดซึ่งใช้สำหรับกรณีที่ผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญา จึงแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาว่าประสงค์จะให้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยกำหนดเป็นค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อัตราดอกเบี้ย, เบี้ยปรับ, สัญญาจำนองค้ำประกัน, และผลบังคับใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 16.25 ต่อปีอยู่แล้วการที่ข้อต่อมากำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ย ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไว้ว่าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีนั้น ก็คือการที่จำเลยสัญญาให้เบี้ยปรับในฐาน ผิดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 2.25 ต่อปี นั่นเอง ซึ่งเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนก็มีอำนาจ ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้ มีสิทธิใช้ดุลพินิจนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ได้ทดรองจ่ายไป แทนผู้กู้ไปลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัดที่ผู้กู้มีอยู่กับผู้ให้กู้ เพื่อให้ผู้กู้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีต่อผู้ให้กู้ต่อไป และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 2 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัย ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้จำเลยจดทะเบียนจำนองทรัพย์ให้ไว้แก่โจทก์ก่อนเปิดบัญชีเดินสะพัดและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตามแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง กำหนดว่า หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อ เหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริงก็ประกันได้และมาตรา 707กำหนดว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร ดังนั้น แม้ว่าสัญญาจำนองจะเป็นหนี้อุปกรณ์แต่ก็สามารถค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ในอนาคตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้ ศาลมีอำนาจลดจำนวนได้ตามสมควร แต่ไม่มีอำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
เมื่อสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี โดยผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนอย่างน้อยเดือนละ 29,000 บาท ภายในวันที่ 11 ของทุกเดือน หากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและ พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.มาตรา 654หาทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ไม่เป็นเบี้ยปรับไม่
ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ประสงค์จะให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าเบี้ยปรับตามสัญญาเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติใน ป.พ.พ.มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราปกติที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ก่อนผิดนัด จึงมีผลเท่ากับเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราตามที่ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญากู้เงิน: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร แต่ไม่มีอำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
เมื่อสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี โดยผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนอย่างน้อยเดือนละ 29,000 บาท ภายในวันที่ 11 ของทุกเดือนหากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 หาทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ไม่เป็นเบี้ยปรับไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ประสงค์จะให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าเบี้ยปรับตามสัญญาเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราปกติที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ก่อนผิดนัด จึงมีผลเท่ากับเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญากู้ยืม: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ แต่ไม่มีอำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
จำเลยเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี หากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี จึงเป็นเรื่องที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์ คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอันเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนก็ปรับลดเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและ พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าไม่เป็นเบี้ยปรับ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี จากต้นเงิน 2,230,000 บาท เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป อันเป็นอัตราปกติที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ก่อนผิดนัด จึงมีผลเท่ากับเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระ ให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย ศาลฎีกา เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3311/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับ, การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย, สัญญาเงินกู้, ข้อกำหนดสัญญา
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ระบุว่าผู้กู้หรือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ย ให้แก่ผู้ให้กู้หรือโจทก์เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญา ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้น และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารฯ หรือตามหนังสือสัญญาจำนองก็ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เช่นเดียวกัน ดังนั้น นับแต่วันแรกที่จำเลยรับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ โจทก์ก็สามารถคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำเลยได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ จำเลยผิดนัดภายใต้การควบคุมหรือตามประกาศกระทรวงการคลัง จึงไม่ต้องด้วยข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ที่กำหนด ให้ลูกหนี้หรือจำเลยใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตน ไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราขั้นต่ำแก่จำเลยในระยะเริ่มแรก แล้วค่อย ๆ ปรับให้สูงขึ้นถือเป็นการให้ความอนุเคราะห์แก่ ลูกค้า ซึ่งไม่อาจแปลข้อกำหนดในเรื่องอัตราดอกเบี้ยธรรมดา ทั่ว ๆ ไปให้กลายเป็นเบี้ยปรับอันอาจก่อให้เกิดเป็นโทษ แก่โจทก์ได้ จึงไม่ควรที่จะลดดอกเบี้ยของโจทก์ลงเหลืออัตรา ร้อยละ 17 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลลดดอกเบี้ยเกินสมควร
เบี้ยปรับคือสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้ เงิน จำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ ถูกต้องสมควร แต่สัญญากู้เงินมีใจความชัดเจนว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี สัญญาจำนองที่ดินและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองก็มีใจความว่าผู้จำนองตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ ก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเองจากจำเลยทั้งสองอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้อยู่แล้ว ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในสัญญา กู้เงินจึงไม่ใช่เบี้ยปรับแม้ทางปฏิบัติโจทก์จะผ่อนผันให้โดย คิดดอกเบี้ยไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี โดยเริ่มแรกคิดดอกเบี้ยเพียง ร้อยละ 9.5 ต่อปี และเมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ได้ปรับอัตราดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้ กลายเป็นเบี้ยปรับแต่อย่างใด ส่วนข้อตกลงในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้ไม่ว่างวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดได้นั้น หมายถึง กรณีผู้กู้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้ที่ต้องชำระเป็นรายเดือน แล้วผู้ให้กู้เพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 19 ต่อปีดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่า ร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าศาลเห็นว่าสูง เกินส่วนจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือน้อยกว่า ร้อยละ 19 ต่อปีไม่ได้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจาก อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ลงมาเหลือเพียงร้อยละ 15 ต่อปี โดยอ้างว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายอนุญาต
อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่การลดนั้นจะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าตามปกติที่สัญญากำหนดไว้ ซึ่งไม่เกินอัตราที่กฎหมายอนุญาตให้โจทก์คิดได้ มิใช่ลดลงมาต่ำกว่าอัตราดังกล่าว สัญญากู้ข้อ 2 ระบุให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญา และโจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญา แต่หลังจากวันที่ประกาศของโจทก์ลงวันที่ 5 มีนาคม 2541 ข้อ 2 ที่ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดได้ไม่เกินอัตราดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยผู้กู้จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นลดจำนวนเบี้ยปรับโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องร้อยละ 15 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราที่ระบุในประกาศข้อ 2 ดังกล่าว จึงไม่ชอบ
of 32