พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดทางอาญา: การท้าทายวิวาทและการป้องกันตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หลังจากจำเลยและพวกวิ่งหลบหนีเข้าบ้านแล้วประมาณ 10 นาทีจำเลยจึงวิ่งขึ้นไปบนบ้านของ ม. และนำอาวุธปืนออกมายืนหน้าบ้านเพื่อจะขู่กลุ่มของผู้เสียหายให้กลับไป เมื่อผู้เสียหายถือมีดดาบและขวดจะเข้าทำร้ายจำเลยห่างประมาณ3 เมตร จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงกลุ่มของผู้เสียหาย พฤติการณ์ของจำเลย เช่นนี้แสดงว่าจำเลยสมัครใจทะเลาะวิวาทกับกลุ่มของผู้เสียหาย เพราะขณะจำเลยกับพวกวิ่งหลบหนีเข้าบ้าน ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายหมดสิ้นไปแล้ว หากจำเลยไม่ประสงค์จะทะเลาะวิวาทอีกต่อไป จำเลยก็ไม่น่าจะนำอาวุธปืนออกมายืนอยู่หน้าบ้าน อันเป็นการท้าทายกลุ่มของผู้เสียหายซึ่งเป็นวัยรุ่น จำเลยย่อมไม่อาจยกเอาการป้องกันตัวขึ้นมาอ้างเพื่อให้การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5669/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารและความรับผิดทางอาญา
การที่ขณะเกิดเหตุ ผู้เยาว์อายุ 16 ปีเศษอยู่ที่บ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดาที่จังหวัดอุตรดิตถ์กับ อ. พี่ชายอายุ 18 ปี ผู้เสียหายฝากด. ซึ่งเช่าบ้านอยู่ติดกันเป็นผู้ดูแลและให้เงินเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนผู้เสียหายไปทำงานที่กรุงเทพมหานครนั้น ไม่ทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายหมดไปผู้เยาว์ยังคงอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหาย
การที่ผู้เยาว์ออกจากบ้านไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดา แล้วจำเลยพาผู้เยาว์ไปค้างคืนที่บ้านจำเลยตลอดมาเพราะรักใคร่ชอบพอกันฉันชู้สาว โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ถือได้ว่า จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดาเป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของผู้เสียหายขณะเกิดเหตุ จำเลยอายุ 31 ปี มีภรรยาและบุตรแล้ว ไม่มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก
การที่ผู้เยาว์ออกจากบ้านไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดา แล้วจำเลยพาผู้เยาว์ไปค้างคืนที่บ้านจำเลยตลอดมาเพราะรักใคร่ชอบพอกันฉันชู้สาว โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ถือได้ว่า จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดาเป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของผู้เสียหายขณะเกิดเหตุ จำเลยอายุ 31 ปี มีภรรยาและบุตรแล้ว ไม่มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำกัดสิทธิการฎีกาในข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลอุทธรณ์ พร้อมแก้ไขโทษทางอาญา
ฎีกาจำเลยที่ 2 เพียงแต่หยิบยกพยานหลักฐานบางส่วนในสำนวนขึ้นเป็นข้อฎีกา แต่ในการรับฟังพยานหลักฐานลงโทษจำเลยที่ 2ศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนประกอบการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจึงวินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 2 และในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ก็หาได้นอกเหนือหรือคลาดเคลื่อนไปจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมลงมือกระทำความผิดปลอมเอกสารราชการกับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการรับแจ้งการย้ายทะเบียนบ้านของ ก.ให้มีชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน และเพิ่มชื่อ ส. เข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งปลอมใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ก. และ ส. แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้มอบซองเอกสารเกี่ยวกับการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเท็จของผู้ที่อ้างชื่อ ก. และ ส. ให้จ่าสิบเอก อ. ไปมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อดำเนินการปลอมเอกสารราชการดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,161,165 ประกอบมาตรา 86 เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นในการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเพียงสำเนาทะเบียนบ้านและใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ มิใช่เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265 แล้ว กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาซ้ำซ้อนและขอบเขตการลงโทษจำคุกกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147,157, 265 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำเลยกระทำความผิด 23 กระทง เรียงกระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 115 ปี และมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265,268 แต่ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 265 จำเลยกระทำความผิด 23 กระทง เรียงกระทงลงโทษ จำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก23 ปี รวมโทษจำคุก จำเลยทั้งหมด 138 ปี แต่ให้จำคุกจำเลยเพียง 50 ปี ตามป.อ. มาตรา 91 (3) ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามป.อ. มาตรา 147 , 265, 268 กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดจำคุก 5 ปีและไม่ปรับบทกระทำผิดของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงทำนองว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ถ้าศาลฎีกาฟังว่าจำเลยกระทำความผิด ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษแก่จำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ร้องทุกข์ต้องมีอำนาจในฐานะผู้เสียหายหรือได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย
ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ยานยนต์ฯ จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของห้างฯผู้เสียหายไปแล้วไม่ได้ส่งเงินค่างวดและได้นำรถจักรยานยนต์ไปขายให้บุคคลอื่น ส.จึงมาร้อยทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหายักยอก ข้อความในคำร้องทุกข์ไม่ได้ระบุว่า ส.เกี่ยวข้องกับห้างฯ ผู้เสียหายอย่างไรและไม่ได้ระบุว่า ส.ได้ร้องทุกข์ในนามของห้างฯ ผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฎรอยตราของผู้เสียหายในช่องผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด จึงไม่อาจแปลเจตนาได้ว่า ส.ร้องทุกข์ในนามของผู้เสียหาย แม้ตามข้อเท็จจริง ส.จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหายก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อห้างฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมกระทำความผิดอาญา: เจตนาช่วยเหลือให้กระทำผิด
จำเลยที่ 2 มีความเกี่ยวพันเป็นอาเขยของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 2 มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง การที่จำเลยที่ 1 ยอมเปลี่ยนเป็นคนขับรถจักรยานยนต์แทนจำเลยที่ 2 ก็เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 ที่นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์จะได้ใช้อาวุธปืนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่อจำเป็นจะต้องใช้ และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจกำลังติดตามตรวจค้นจำเลยทั้งสอง ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงจ่าสิบตำรวจ ม.ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะทางอาญา: การกระทำผิดหลังถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
จำเลยที่ 1 ชนไหล่และท้าจำเลยที่ 2 ชกต่อย และมีการชกต่อยกันเมื่อจำเลยที่ 2 ล้มลง จำเลยที่ 1 ชักมีดพกปลายแหลมของตนออกมาแทงจำเลยที่ 2 ก่อน ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ถูกจำเลยที่ 1 ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ฉะนั้น หลังจากที่มีดดังกล่าวหลุดจากมือของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ได้ใช้มีดนั้นแทงจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำผิดด้วยบันดาลโทสะซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้ผู้บริโภคสับสน และความรับผิดทางอาญาของผู้มีส่วนร่วม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้น แต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้ผู้กระทำผิดไม่ใช่กรรมการบริษัท แต่เป็นผู้ดำเนินการกิจการก็ต้องรับผิดทางอาญา
แถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้แล้วใช้ผ้าพื้นสีกรมท่าตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง แต่ที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKDA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้ว อาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น ในความรับผิดทางอาญานั้น หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก. ที่กระทำความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดด้วย แม้จำเลยจะมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนมาแสดงว่าจำเลยมิใช่กรรมการของบริษัทก. ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้สนับสนุนการกระทำผิด และการแบ่งบทบาทตัวการร่วม
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระภิกษุร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปในห้องเกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 2 จากไปด้วยอาการรีบร้อน เป็นพฤติการณ์ที่เปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ลงมือทำร้ายและลักทรัพย์ของผู้เสียหาย และอาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 ก็เป็นอาวุธปืนกระบอกเดียวกับที่จำเลยที่ 2 นำไปฝากไว้แก่พยานโจทก์ และจำเลยที่ 2 ไปขอคืนมาในตอนเช้าวันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 ยังไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดเท่านั้น
ก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไปชี้ห้องที่เกิดเหตุเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้สนับสนุน มิใช่ตัวการร่วมกระทำผิด แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 4ให้ถูกต้องได้
ก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไปชี้ห้องที่เกิดเหตุเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้สนับสนุน มิใช่ตัวการร่วมกระทำผิด แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 4ให้ถูกต้องได้