พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากความผิด: ศาลมีอำนาจริบเงินได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่ของกลางในคดีปัจจุบัน
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี: ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินตั้งไว้เท่านั้น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 16 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์เท่านั้นจะไปตั้งประเด็นใหม่นอกเหนือไปจากประเด็นเดิมที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหาได้ไม่ ส่วนการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำการไต่สวนและเรียกพยานมาตรวจสอบเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 32 และมีอำนาจในการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง นั้น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวได้ต้องเป็นการดำเนินการในประเด็นเดียวกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ด้วย
คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้วเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 เป็นเงิน 33 บาทส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่ง ป.รัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน 25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสีย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 88, 88/2 และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่ง ป.รัษฎากร
คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้วเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 เป็นเงิน 33 บาทส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่ง ป.รัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน 25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสีย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 88, 88/2 และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำกัดเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้พิจารณาแล้วเท่านั้น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 16 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์เท่านั้นจะไปตั้งประเด็นใหม่นอกเหนือไปจากประเด็นเดิมที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหาได้ไม่ ส่วนการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำการไต่สวนและเรียกพยานมาตรวจสอบเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 32 และมีอำนาจในการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 31 วรรคสอง นั้น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวได้ต้องเป็นการดำเนินการ ในประเด็นเดียวกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ด้วย คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์2535 เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535เป็นเงิน 33 บาท ส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสียคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88,88/2และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินของผู้จัดการมรดกที่ไม่สุจริตและเกินขอบอำนาจ ไม่ผูกพันทายาท
เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ อ.ตามคำสั่งศาลแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และจะต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน ตามมาตรา 1728 หากในการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของ อ. จำเป็นต้องขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจนำที่ดินนั้นไปขายได้
หลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการจัดการมรดกหรือมีการทำบัญชีทรัพย์มรดก การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ก็มิใช่เพื่อจะนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทของ อ. แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินส่วนหนึ่งของเงินมัดจำที่โจทก์มอบให้ไว้ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไปใช้จ่ายในคดีล้มละลายที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง อีกทั้งก่อนโจทก์และจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทกัน จำเลยที่ 1 และโจทก์รู้อยู่แล้วว่าทายาทของ อ.ไม่ต้องการให้ขายที่ดินแปลงพิพาท โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ อ.ได้ยื่นคำขออายัดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ กับได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และศาลได้มีคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของอ.แทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ อ.ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ เมื่อมิใช่เป็นการทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ทั้งยังเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะจะขายกันโดยไม่สุจริต นอกจากนี้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1736 และมาตรา 1740 ได้ เพราะมิใช่กรณีที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นตามมาตรา 1736 หรือเป็นการขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 1740 ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์จึงไม่ผูกพันทายาทของ อ. โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ.ให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้
หลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการจัดการมรดกหรือมีการทำบัญชีทรัพย์มรดก การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ก็มิใช่เพื่อจะนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทของ อ. แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินส่วนหนึ่งของเงินมัดจำที่โจทก์มอบให้ไว้ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไปใช้จ่ายในคดีล้มละลายที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง อีกทั้งก่อนโจทก์และจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทกัน จำเลยที่ 1 และโจทก์รู้อยู่แล้วว่าทายาทของ อ.ไม่ต้องการให้ขายที่ดินแปลงพิพาท โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ อ.ได้ยื่นคำขออายัดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ กับได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และศาลได้มีคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของอ.แทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ อ.ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ เมื่อมิใช่เป็นการทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ทั้งยังเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะจะขายกันโดยไม่สุจริต นอกจากนี้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1736 และมาตรา 1740 ได้ เพราะมิใช่กรณีที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นตามมาตรา 1736 หรือเป็นการขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 1740 ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์จึงไม่ผูกพันทายาทของ อ. โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ.ให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ.ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้น แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น.คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจแม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามยื่นต่อศาลผิดอำนาจ แม้ศาลมีคำสั่งขยายเวลา แต่ไม่ชอบตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 229 ประกอบด้วย มาตรา 247 คู่ความจะต้องยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยคู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอน การขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมาไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนดังนี้ จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นฎีกาคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา การที่ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีซึ่งมิใช่ศาลที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้เพื่อขอขยาย ระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หาใช่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ไม่ อีกทั้งตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นไม่ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามมาตรา 229ประกอบมาตรา 247 ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: เหตุฉุกเฉิน, อำนาจตรวจค้น, ความผิดฐานขัดขวาง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างเหตุพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดนั้น ปัญหาว่าอาวุธปืนใช้ยิงได้หรือไม่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ปัญหาตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยอ้างเหตุว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันนั้นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ จึงไม่อาจตรวจค้นและจับกุมได้ จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมไม่เป็นความผิด แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ที่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนันเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ แต่เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จึงตรวจค้นในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92(2) ประกอบด้วยมาตรา 96(2) การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการตรวจค้นและจับกุมผู้เล่นการพนันโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคหนึ่ง การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่ 2 ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งอนุญาตลาออก, ผลการลาออก, และการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ
คำฟ้องของโจทก์กล่าวเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 จำเลยที่ 2เป็นผู้บริหารงานจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งอธิการบดี จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวไม่จ่ายเงินเดือนและเงินช่วยเหลือบุตรให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 1ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวเพราะเหตุใดโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 2มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวด้วยนั้น เป็นการนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507มาตรา 3,4 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 24(2) แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 กำหนดให้อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาออกจากราชการได้ และข้อ 7วรรคสี่ แห่งกฎทบวงดังกล่าวกำหนดว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วยกฎหมายปฏิบัติการตามที่ กฎหมายมอบหมาย ข้อ 8 อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมาย แสดงว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีอำนาจตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมายได้เมื่อที่การประชุม อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติอนุมัติในหลักการมอบอำนาจให้อธิการบดี ประธาน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาลาออกจากราชการแทนอ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการได้ การที่โจทก์ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่เริ่มรับราชการในหนังสือขอลาออกจากราชการ เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ทำให้หนังสือขอลาออกของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ส่วนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้กำหนดขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะขอลาออกจากราชการปฏิบัติเพื่อให้ระยะเวลาสำหรับผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาการสั่งอนุญาตการลาออกว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้ขอลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยดำเนินการทั้งนี้โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นสำคัญ ฉะนั้น แม้ผู้ขอลาออกจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตสละประโยชน์แห่งระยะเวลาดังกล่าวโดยสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการตามความประสงค์ของผู้ขอลาออกแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์โดยไม่จำต้องแจ้งคำสั่งอนุญาตการลาออกให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน ตามระเบียบดังกล่าว และที่และเมื่อระเบียบดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 94(4) และ (5) เท่านั้น ส่วนกรณีของโจทก์โจทก์ออกจากราชการตามมาตรา 94(3) กล่าวคือ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา 95 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันดังนี้ ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออกอนุญาตให้โจทก์ออกจากราชการในวันที่ 15 มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอลาออก ย่อมมีผลให้โจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันขอลาออกส่วนกรณีที่โจทก์ยังคงรับราชการต่อมาเพราะยังไม่ทราบคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการก็มีผล เพียงทำให้โจทก์ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปีบำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2522 มาตรา 18(1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ไว้เท่านั้น พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 18 ที่บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ ยื่นฟ้องบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 4 มิถุนายน 2535 ดังนี้ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 เดิมซึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการมอบฉันทะและขอบเขตการดำเนินการแทนจำเลยในเรื่องค่าธรรมเนียมศาล
ทนายความอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 เท่านั้น ส่วนกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่า เป็นกิจการสำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่า ทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายทำการแทนในกิจการต่อไปนี้ คือยื่นอุทธรณ์คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี รับทราบคำสั่งศาลเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี ตามใบมอบฉันทะไม่ทำให้เสมียนทนายจำเลยมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยลงชื่อในคำร้องเองได้
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่เป็นกรณีที่จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมและประกันหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิใช่เป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายทำการแทนในกิจการต่อไปนี้ คือยื่นอุทธรณ์คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี รับทราบคำสั่งศาลเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี ตามใบมอบฉันทะไม่ทำให้เสมียนทนายจำเลยมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยลงชื่อในคำร้องเองได้
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่เป็นกรณีที่จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมและประกันหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิใช่เป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมติที่ประชุมเจ้าหนี้และการร้องคัดค้านมติในคดีล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้ว มติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น