พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการยกข้อต่อสู้ช้าเกินไป
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง เพราะจะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จำเลยจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง. เพราะจะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย. ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 ได้บัญญัติไว้. ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น. จำเลยจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนอธิกรณ์ของพระภิกษุ ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172, 173
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 จะบัญญัติให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาก็ดี ก็มีแต่เพียงอำนาจสอบสวนอธิกรณ์และสั่งลงโทษพระภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเท่านั้น หามีอำนาจรับแจ้งความเกี่ยวกับการกระทำผิดอาญา และมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาไม่ ฉะนั้น จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172,173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี การชำระหนี้ค่าซื้อขาย และอำนาจสอบสวน
จำเลยออกเช็คเป็นการชำระหหี้ค่าปลาป่นที่ซื้อจากผู้เสียหาย ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยจำเลยไม่มีเงินในบัญชีพอจ่าย จำเลยออกเช็คนั้นที่โรงงานปลาป่นของผู้เสียหาย ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา เพราะซื้อขายกันที่นั้น แต่ผู้เสียหายต้องไปเบิกเงินที่ธนาคารที่อำเภอหาดใหญ่ ความผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน พนักงนสอบสวนอำเภอเมือสงขลามีอำนาจสอบสวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิชำระหนี้, อำนาจสอบสวนคดีอาญา
จำเลยขำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพียง 10,000 บาทแล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ 10,000 บาท เป็ฯ 70,0100 บาท ต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เพราถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็ฯเอาสารที่แ้จริงแล้ว เจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป 60,000 บาท การปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 264 แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้ แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอาสารสิทธิตามมาตรา 265 และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 ด้วย ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ตามอัตราโทษในมาตรา 265
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ทำปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินให้ที่บ้านในท้องที่บุบผาราม จำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฎ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้ง ส่วนจำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย.
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ทำปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินให้ที่บ้านในท้องที่บุบผาราม จำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฎ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้ง ส่วนจำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน การกำหนดอำนาจสอบสวน
จำเลยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพียง 10,000 บาทแล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ 10,000 บาท เป็น 70,000 บาท ต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายเพราะถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงแล้ว เจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป 60,000 บาทการปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 264 แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้วจำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา 265 และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 ด้วยต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ตามอัตราโทษในมาตรา 265
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินที่บ้านในท้องที่บุบผาราม.จำเลยที่1และที่2อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฏ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้งส่วนจำเลยที่2ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินที่บ้านในท้องที่บุบผาราม.จำเลยที่1และที่2อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฏ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้งส่วนจำเลยที่2ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต้องเป็นไปตามเขตท้องที่ หากสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าไม่มีการสอบสวน พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยมีที่อยู่ ถูกจับ และเหตุเกิดในเขตอำเภอสอบสวนของพนักงานสอบสวนอำเภอหนึ่ง หากพนักงานสอบสวนอำเภออื่นจะเป็นผู้สอบสวน จำเลยจะคัดค้านอำนาจสอบสวนหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนนั้นกลับเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายได้ เท่ากับไม่มีการสอบสวน พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต้องอยู่ในเขตท้องที่ที่เกิดเหตุและที่จับกุม หากไม่มีอำนาจ การสอบสวนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมีที่อยู่ ถูกจับ และเหตุเกิดในเขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนอำเภอหนึ่งหากพนักงานสอบสวนอำเภออื่นเป็นผู้สอบสวน จำเลยจะคัดค้านอำนาจสอบสวนหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนนั้นกลับเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายได้เท่ากับไม่มีการสอบสวนพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434-435/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนผู้จัดการนิติบุคคล: เมื่อการกระทำมีมูลความผิดอาญา แม้เป็นกิจการบริษัท ก็สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้จัดการของนิติบุคคลกระทำการซึ่งมีมูลเป็นความผิดทางอาญา แม้จะกระทำในกิจการของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้จัดการนั้นก็อาจถูกควบคุมในระหว่างสอบสวนได้ในเมื่อตกเป็นผู้ต้องหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์และการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ไม่ได้รับมอบหมายอำนาจ
การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้(อ้างฎีกาที่ 755/2502) และกฎหมายก็ไม่ได้บังคับให้ร้องทุกข์ได้เฉพาะต่อพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเสมอไปเท่านั้น