พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขืนใจ กรรโชกทรัพย์ และความรับผิดทางแพ่งในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันใช้อำนาจ ในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขืนใจ กรรโชกให้ผู้เสียหายมอบเนื้อกระบือชำแหละแล้ว 140 กิโลกรัม ให้แก่จำเลยกับพวก มิฉะนั้นจำเลยกับพวกจะยึดเนื้อกระบือชำแหละแล้ว 500 กิโลกรัม ไปตรวจสอบอันจะเป็นเหตุให้เนื้อดังกล่าวเสียหาย และจะจับกุมผู้เสียหาย กับพวก ทำให้ปราศจากเสรีภาพ ผู้เสียหายกับพวกจึงยอมมอบเนื้อ140 กิโลกรัม ให้จำเลยกับพวกไป เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่เป็นการกระทำของจำเลย ที่กระทำต่อผู้เสียหายโดยละเอียดครบถ้วนในลักษณะความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และมาตรา 337 แล้ว ทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 2 มาตราดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำต้องมีเจตนาทุจริตด้วยคำบรรยายฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องและได้ทรัพย์สิน จากผู้เสียหายคิดเป็นเงิน 6,000 บาทกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 432 คือจำเลยกับพวก ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น คำว่า 'ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน' หมายความว่า แต่ละคน จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง อันมีฐานะเช่นเดียวกับลูกหนี้ร่วม
ฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องและได้ทรัพย์สิน จากผู้เสียหายคิดเป็นเงิน 6,000 บาทกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 432 คือจำเลยกับพวก ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น คำว่า 'ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน' หมายความว่า แต่ละคน จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง อันมีฐานะเช่นเดียวกับลูกหนี้ร่วม
ฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานเลือกตั้งในการจัดการสิ่งพิมพ์หาเสียงนอกที่เลือกตั้ง และขอบเขตความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
สิ่งพิมพ์ตามกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ แผ่นประกาศ หรือสิ่งอื่นใดซึ่งใช้ในการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งแม้จะเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองใดก็ตามหากมิได้มีอยู่ภายในที่เลือกตั้งซึ่งเป็นสถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้งรวมถึงบริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบที่เลือกตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งก็ไม่มีอำนาจทำลาย ปกปิด หรือนำออกไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าแท็งก์น้ำของทางราชการซึ่งระบุชื่อ ป. และส.ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นตั้งอยู่ทั่วไปภายในเขตเลือกตั้ง มิใช่อยู่ภายในที่เลือกตั้ง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 10 วรรคสองผู้ที่มีหน้าที่ทำลายปกปิด ลบ หรือล้างข้อความ ภาพหรือรูปรอยดังกล่าวคือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2503มาตรา 3 ซึ่งให้นิยามไว้ว่าในเขตเทศบาลหมายความว่านายกเทศมนตรีในเขตสุขาภิบาลหมายความว่าประธานกรรมการสุขาภิบาลและในท้องที่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลหมายความว่านายอำเภอจำเลยไม่ใช่นายกเทศมนตรี ประธานกรรมการสุขาภิบาล หรือนายอำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการอนุญาตก่อสร้าง และการฟ้องคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2) ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาลเมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายและใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21, 22, 23 และมาตรา 24 นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการฟ้องคดีที่ถูกต้อง การฟ้องจำเลยที่ 1 (สุขาภิบาล) และจำเลยที่ 2 (เจ้าพนักงานท้องถิ่น)
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2)ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21,22,23 และมาตรา 24 นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาต ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่กรมการค้าต่างประเทศในการซื้อขายข้าวสำรอง และการส่งหนังสือทวงหนี้โดยชอบ
กระทรวงพาณิชย์มีวัตถุประสงค์รวมตลอดถึงการซื้อขายและ แลกเปลี่ยนสินค้าด้วยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของกระทรวงย่อมมีอำนาจมอบหมายให้ กรมการค้าต่างประเทศโจทก์ซึ่งเป็นกรมในสังกัด ปฏิบัติราชการ ส่วนใดส่วนหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงได้ เมื่อกระทรวง มอบหมายให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมควบคุมเกี่ยวกับการค้า ต่างประเทศโดยเฉพาะมีหน้าที่ควบคุมการอนุญาตให้ค้าข้าวส่งออก ไปต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อข้าวส่งออกไปต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อข้าวสำรองเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะตกลงทำ สัญญาซื้อข้าวสำรองเพื่อการบริโภคภายในประเทศกับจำเลยได้โดย ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามไปยังจำเลย ณ ที่ตั้งสำนักงานของ จำเลยตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการขายข้าวสำรองที่จำเลย ทำให้โจทก์ไว้ มีผู้ลงชื่อรับหนังสือทวงถามแล้ว แม้ จำเลยจะมีภูมิลำเนาตามที่ได้จดทะเบียนไว้แตกต่างออกไป ก็ต้องถือว่าที่ตั้งสำนักงานประกอบกิจการของจำเลยตามความ เป็นจริงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการศพ: ทายาทมีอำนาจหน้าที่เหนือวัด แม้ไม่มีทรัพย์มรดก
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก ทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใด ไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ. ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่นจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกหนี้เนื่องจากประพฤติผิดวินัยร้ายแรงจากการกู้ยืมเงินลูกค้าโดยอาศัยอำนาจหน้าที่
จำเลยประกอบกิจการธนาคาร มีคำสั่งห้ามพนักงานกระทำการเบียดเบียนลูกค้า โจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อซึ่งอำนาจหน้าที่ ของโจทก์มีส่วนเป็นคุณและเป็นโทษแก่ลูกค้าได้ โจทก์กู้ยืมเงินลูกค้าถึง 14 ราย เป็นเงิน 37,700 บาท หากโจทก์มีความจำเป็นต้องใช้เงินโดยสุจริตก็อาจกู้ยืมเพียงรายหนึ่งหรือสองรายก็น่าจะได้เงินพอกับจำนวนที่ต้องการ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการเบียดเบียนลูกค้าโดยอาศัยอำนาจหน้าที่และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็น กรณีร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทำงานในวันหยุดของลูกจ้างผู้บริหาร: การพิจารณาอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างและข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงแรงงาน
โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของจำเลย การที่โจทก์มีอำนาจออกคำเตือนพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นหนังสือและพนักงานที่ถูกคำเตือน 3 ครั้ง จะไม่ได้ขึ้นเงินเดือนก็ตาม แต่เมื่อหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ เป็นเพียงมีผลให้ผู้ถูกคำเตือนอยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนจากผู้มีอำนาจในการนี้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ และแม้โจทก์จะเป็นผู้เสนอขอเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ก็มิใช่เป็นผู้มีอำนาจที่จะเลื่อนชั้นเงินเดือน 2 ขั้น จึงถือไม่ได้อีกว่าโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ส่วนกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนในการจ้างลูกจ้างนั้น โจทก์ต้องมีอำนาจทำการแทนนายจ้างโดยตรง มิใช่เป็นกรณีผ่านการพิจารณาโดยผู้มีอำนาจมาก่อนซึ่งผู้มีอำนาจในการรับลูกจ้างเข้าทำงานนี้ได้แก่คณะกรรมการของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้างดังนั้น โจทก์มิใช่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง ตามข้อ 36(1)แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677-1678/2526)
เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ
โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ
เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ
โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการสาขาธนาคารกับการได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของจำเลย การที่ โจทก์มีอำนาจออกคำเตือนพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นหนังสือและพนักงานที่ถูกคำเตือน 3 ครั้งจะไม่ได้ขึ้นเงินเดือนก็ตาม แต่เมื่อหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ เป็นเพียงมีผลให้ผู้ถูกคำเตือนอยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนจากผู้มีอำนาจในการนี้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ และแม้โจทก์จะเป็นผู้เสนอขอเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ก็มิใช่เป็นผู้มีอำนาจที่จะเลื่อนชั้นเงินเดือน 2 ขั้น จึงถือไม่ได้อีกว่าโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ส่วนกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนในการจ้างลูกจ้างนั้น โจทก์ต้องมีอำนาจทำการแทนนายจ้างโดยตรง มิใช่เป็นกรณีผ่านการพิจารณาโดยผู้มีอำนาจมาก่อน ซึ่งผู้มีอำนาจในการรับลูกจ้างเข้าทำงานนี้ได้แก่คณะกรรมการของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง ดังนั้น โจทก์มิใช่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง ตามข้อ 36(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677-1678/2526) เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีที่ดินพิพาท: การพิจารณาความเป็นเจ้าของที่ดินก่อนวินิจฉัยละเมิด และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ ได้รับความเสียหายต้องสูญเสียที่ดินของโจทก์ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ มิใช่ของโจทก์ และจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แม้จำเลยจะมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดิน เป็นของจำเลย และตามคำฟ้องของโจทก์มิได้มีคำขอที่จะ บังคับแก่ที่ดินที่พิพาท แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่าที่ดินที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ อันเป็นการพิจารณาถึงความเป็นอยู่แห่งอสังหาริมทรัพย์จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่อันเป็นสาธารณประโยชน์อยู่ในอำนาจดูแลปกปักรักษาของนายอำเภอท้องที่ แม้โจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ครอบครองและทำ ประโยชน์ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อนายอำเภอโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะและดำเนินการที่จะเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ก็ชอบที่โจทก์จะฟ้องร้องนายอำเภอเพื่อขอให้ระงับการกระทำอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เพราะโจทก์จะเสียสิทธิในที่พิพาทหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่ มิใช่อยู่ที่การกระทำของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับที่อันเป็นสาธารณประโยชน์และถึงหากจำเลยจะมาช่วยเหลือในการรังวัดปักหลักเขตด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2527)
ที่อันเป็นสาธารณประโยชน์อยู่ในอำนาจดูแลปกปักรักษาของนายอำเภอท้องที่ แม้โจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ครอบครองและทำ ประโยชน์ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อนายอำเภอโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะและดำเนินการที่จะเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ก็ชอบที่โจทก์จะฟ้องร้องนายอำเภอเพื่อขอให้ระงับการกระทำอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เพราะโจทก์จะเสียสิทธิในที่พิพาทหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่ มิใช่อยู่ที่การกระทำของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับที่อันเป็นสาธารณประโยชน์และถึงหากจำเลยจะมาช่วยเหลือในการรังวัดปักหลักเขตด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2527)