คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุบัติเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมในผลละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัย
ข้อที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อนั้นชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้อุทธรณ์ข้อนี้ คงอุทธรณ์แต่เพียงว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 มากกว่าเท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เหตุรถชนกันครั้งนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ด้วยเท่า ๆ กับความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับประกันภัยไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิเต็มจำนวนความเสียหายโดยจะแบ่งความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดทั้งหมด จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างและจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวทั้งหมดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ หากไม่ได้เป็นผู้ขับหรือครอบครองรถในขณะเกิดเหตุ
แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุไว้ด้วย แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าในขณะเกิดเหตุจำเลยเพียงเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเท่านั้น โดยจำเลยมิได้เป็นผู้ขับหรือโดยสารไปด้วย จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์คันเกิดเหตุตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถบรรทุก: ศาลแก้ให้ชดใช้ค่าซ่อมจริงตามความเสียหายที่เกิดขึ้น
ทรัพย์สินของโจทก์ที่ถูกละเมิดเป็นรถยนต์บรรทุกช่วยรบขนาด 1.1 ตัน รุ่นยูนีมอกยี่ห้อเมอร์ซีเดส เบนซ์ สำหรับใช้ปฏิบัติการในการช่วยรบที่โจทก์เพิ่งซื้อมาใหม่เป็นพิเศษจากประเทศเยอรมันตะวันตกในราคา1,600,000บาทบริษัทธ.ได้ตรวจสอบความเสียหาย ปรากฏว่ารถได้รับความเสียหายรวม 52 รายการต้องใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ต้องสั่งจากประเทศเยอรมันตะวันตกโดยตรงเท่านั้น เมื่อรวมค่าขนส่งทางทะเลและค่าภาษีนำเข้าแล้วเป็นเงิน1,773,800 บาท และค่าแรงอีก 120,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น1,893,800 บาท จึงถือได้ว่าโจทก์เสียหายเป็นเงิน 1,893,800 บาทการที่โจทก์ขอค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมจำนวนดังกล่าว จึงเป็นค่าเสียหายที่ตรงต่อความจริงและโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขบวนรถไฟและผู้ขับรถยนต์กระบะจนเกิดอุบัติเหตุและมีผู้เสียชีวิต
จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์กระบะจะผ่านทางรถไฟ ซึ่งมีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างหน้าแสดงไว้ รวมทั้งมีป้ายสัญญาณ"หยุด" ในระยะ 5 เมตร ก่อนถึงทางรถไฟบอกไว้ แม้พนักงานเปิดปิดเครื่องกั้นยังไม่ได้นำแผงกั้นลงปิดทางรถยนต์ จำเลยที่ 2 ก็ควรใช้ความระมัดระวังดูแลความปลอดภัยให้แน่เสียก่อนโดยชะลอความเร็วและหยุดรถมองซ้ายขวา ต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถต่อไปได้แต่มิได้ปฏิบัติดังกล่าว กลับขับรถด้วยความเร็วสูงลอดเครื่องกั้นผ่านทางรถไฟจนเป็นเหตุให้รถยนต์กระบะเกิดชนกับขบวนรถไฟขึ้นแล้วมีคนที่นั่งมาในรถยนต์กระบะถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับขบวนรถไฟมิได้หยุดรถก่อนถึงถนนที่จะตัดกับทางรถไฟโดยที่ยังไม่ปรากฏสัญญาณอนุญาตให้ขบวนรถไฟผ่านได้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถพ.ศ. 2524 ข้อ 260 ที่กำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานขับรถไม่เห็นสัญญาณอนุญาตให้หยุดขบวนรถใกล้ถึงถนนผ่านเสมอระดับทาง และดูให้แน่ชัดว่าไม่มีสิ่งใดกีดขวางทางแล้ว ก็ให้นำขบวนรถผ่านไปได้ด้วยความระมัดระวัง ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการเดินรถไฟผ่านถนนที่ตัดกับรางรถไฟ เมื่อจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังโดยหยุดขบวนรถเสียก่อนจะถึงถนนดังกล่าว แล้วนำขบวนรถผ่านถนนไปด้วยความระมัดระวังได้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำเช่นนั้นไม่เมื่อเกิดการชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 2 ขับมาจำเลยที่ 1จึงเป็นผู้ขับขบวนรถไฟโดยประมาทต้องรับผิดในผลแห่งความตายของคนที่นั่งมาในรถยนต์กระบะด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ไม่ถือเป็นการตายจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน
เดิม อ.ลูกจ้างของบริษัท ร. เป็นคนแข็งแรงไม่เคยป่วยเจ็บก่อนถึงแก่ความตาย 5 - 6 เดือน ตอนเช้า อ.ไปทำงานตามปกติ ตอนสาย อ.ได้กลับไปที่บ้านและบอกให้โจทก์ซึ่งเป็นภรรยา อ. พาไปส่งโรงพยาบาลเนื่องจากปวดศีรษะ แล้วเป็นลมล้มฟุบลงที่โต๊ะอาหาร โจทก์พาไปส่งโรงพยาบาล แพทย์ตรวจแล้วแจ้งโจทก์ว่า อ.ถึงแก่ความตายเนื่องจากหัวใจหยุดทำงานโดยเฉียบพลันก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาล การตายของ อ. ยังถือไม่ได้ว่าถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการป่วยเจ็บเนื่องจากการทำงาน โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: ค่าใช้จ่ายโรงงานเป็นค่าเสียหายโดยตรง
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงาน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปาค่าใช้เครื่องจักร เครื่องมือกล และค่าควบคุม คือค่าใช้จ่ายบริหารส่วนกลางของโจทก์ เป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องมีแน่นอน และโจทก์ได้ใช้ไปในการซ่อมรถโบกี้ของโจทก์ที่ได้รับความเสียหาย จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการกระทำละเมิดโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายทั้งสองส่วนนี้ได้ เมื่อศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายลดลง และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีสินค้าที่ถูกทำลายจากอุบัติเหตุและการใช้ดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากรเมื่อโจทก์ฟ้องเอง
กรณีที่สินค้าที่นำเข้าถูกเพลิงไหม้ เป็นการถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ขณะอยู่บนเรือ เป็นดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากรที่จะสั่งยกเว้นภาษีได้ แต่เมื่อกรมศุลกากรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยผู้ซึ่งมีสิทธิที่จะร้องขอให้ยกเว้นภาษีเสียเองแล้ว ย่อมถือได้โดยปริยายว่า อธิบดีกรมศุลกากรได้ใช้ดุลพินิจไม่ยกเว้นค่าภาษีให้แก่จำเลย ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 95
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้นำของเข้าควรได้รับยกเว้นภาษีที่จะต้องเสีย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5),246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นค่าภาษีสินค้าที่เสียหายจากอุบัติเหตุทางเรือ ศาลมีอำนาจพิพากษายกเว้นได้ แม้เป็นดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากร
สินค้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรอาจยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นได้ตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 95 แต่ในกรณีกรมศุลกากรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยย่อมถือได้โดยปริยายแล้วว่า อธิบดีกรมศุลกากรได้ใช้ดุลพินิจไม่ยกเว้นค่าภาษีให้แก่จำเลยตามมาตรา 95 ดังกล่าวแล้ว กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 95 ที่ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ยกเว้นค่าภาษีแก่จำเลยได้ แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า สินค้าพิพาทถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ผู้นำเข้าควรได้รับการยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียแล้วพิพากษายกฟ้องเพื่อให้อธิบดีกรมศุลกากรใช้ดุลพินิจยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียให้แก่จำเลยหรือไม่ต่อไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติความผิดฐานไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุหลังเกิดอุบัติเหตุ และการใช้ดุลยพินิจลดโทษ
จำเลยขับรถพุ่งชนและทับไปบนร่างของผู้ตาย ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียง จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย อันจะทำให้ได้รับโทษหนักขึ้นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 และ 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรกเท่านั้น และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ และการไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ภายหลังจากเกิดเหตุรถชนกันแล้ว มีผู้นำผู้ตายและโจทก์ร่วมส่งโรงพยาบาล ผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ส่วนจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุประมาณ 2 นาทีแล้วหลบหนีไป ต่อมาอีก 6 วัน จำเลยจึงเข้ามอบตัวต่อสู้คดี ดังนี้ การที่จำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง
การที่รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันชนกันจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยเพียงแต่หลบหนีไปเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้
ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78วรรคแรก, 160 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
of 47