คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเงินทดแทนจากคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การปฏิบัติตามประกาศกระทรวง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 25 ว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ยื่นฟ้องต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ย่อมมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนโดยจะยื่นฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงหมาดไทยฉบับดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีมามาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเงินทดแทนเกินกำหนด 30 วันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นเหตุให้หมดสิทธิฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 25 ว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ยื่นฟ้องต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ย่อมมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โดยจะยื่นฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมแรงงาน: การอุทธรณ์คำสั่งเงินทดแทนและการกระทำในฐานะผู้แทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานพิจารณาชี้ขาดอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ได้นั้น ถือได้ว่าอธิบดีกรมแรงงานกระทำในฐานะผู้แทนกรมแรงงานโดยตำแหน่งหน้าที่ ทั้งกรมแรงงานก็เป็นส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานโดยตรง โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมแรงงานซึ่งโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 215/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทน: กรมแรงงานในฐานะผู้แทนกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานพิจารณาชี้ขาดอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ได้นั้น ถือได้ว่าอธิบดีกรมแรงงานกระทำในฐานะผู้แทนกรมแรงงานโดยตำแหน่งหน้าที่ ทั้งกรมแรงงานก็เป็นส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานโดยตรง โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมแรงงานซึ่งโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 215/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียชีวิตจากการถูกรถชนก่อนเข้าทำงาน ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน จึงไม่เข้าข่ายการจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างยืนอยู่ภายนอกหน้าประตูโรงงานก่อนถึงเวลาเริ่มทำงาน มีรถยนต์ที่แล่นมาตามถนนพุ่งเข้าชนตาย ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างคำสั่งอุทธรณ์ที่ให้จ่ายเงินทดแทนไม่ถูกต้องศาลเพิกถอนคำสั่งนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทนและการฟ้องคดีหลังพ้นกำหนด ทำให้เกิดความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนายจ้างไม่จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานยกอุทธรณ์เพราะยื่นเกิน 30 วัน อันเป็นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ นายจ้างไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งอธิบดีต่อศาลภายใน 30 วัน คำสั่งนั้นถึงที่สุด นายจ้างนำคดีมาฟ้องศาลภายหลัง การไม่จ่ายเงินเป็นความผิดตาม ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม 2515 ข้อ 8 นายจ้างจ่ายเงินเมื่ออัยการฟ้องนายจ้างแล้วนายจ้างไม่พ้นความผิด หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคลมีความผิดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้ทำละเมิด หากกฎหมายแรงงานไม่ได้ให้สิทธินายจ้างเรียกคืนเงินทดแทน
ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยในฐานะนายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนตามกฎหมายแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายนั้น กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยเฉพาะ ไม่ได้ให้สิทธินายจ้างที่จะเรียกเงินทดแทนที่จ่ายไปคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างได้ ดังนั้น ผู้รับประกันภัยซึ่งได้จ่ายเงินทดแทนไปแทนนายจ้างผู้เอาประกันภัยก็ย่อมไม่มีสิทธิเช่นเดียวกัน จึงไม่อาจมีการรับช่วงสิทธิกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินทดแทนแทนเจ้าของทรัพย์เสียหาย ก่อให้เกิดหน้าที่ส่งมอบเงินให้เจ้าของทรัพย์ โต้แย้งสิทธิฟ้องร้องได้
เจ้าของรถม้ารับเงินค่าเสียหายจากฝ่ายเจ้าของรถยนต์ที่ขับชนรถม้าและเครื่องเรือนของผู้อื่นที่ตนรับจ้างบรรทุกเสียหาย โดยรู้ดีว่าเงินทดแทนค่าเสียหายนั้นเป็นส่วนของเจ้าของเครื่องเรือนด้วยส่วนหนึ่งดังนี้ถือว่าเจ้าของรถม้ารับแทนเจ้าของเครื่องเรือนด้วย จึงก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องนำเงินนั้นส่งแก่เจ้าของเครื่องเรือน เมื่อไม่ส่งหรือไม่ยอมให้ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์ฟ้องร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมเมื่อสถานพยาบาลตามสิทธิปฏิเสธการรักษา
วันที่ 5 มกราคม 2551 โจทก์ปวดท้องน้อยด้านซ้ายจึงไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดและให้ยาแก้ปวดมารับประทานแล้วให้โจทก์กลับบ้าน วันที่ 6 มกราคม 2551 โจทก์ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ศ. เนื่องด้วยปวดท้องน้อยด้านซ้าย แพทย์สันนิษฐานว่าเป็นเนื้องอกยื่นออกจากมดลูกหรือเป็นเนื้องอกของรังไข่ด้านซ้าย แพทย์นัดใหม่วันที่ 9 มกราคม 2551 ในวันที่ 6 และวันที่ 9 มกราคม 2551 โจทก์โทรศัพท์สอบถามขอรับการผ่าตัดจากสถานพยาบาลตามสิทธิแต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เพียงแต่ได้รับแจ้งว่ายังไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลยที่ 1 หรือห้องผ่าตัดไม่ว่าง ถึงวันที่ 9 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นวันนัดโจทก์ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ศ. และรับการผ่าตัดในวันที่ 10 มกราคม 2551 โดยเสียค่ารักษาพยาบาลไป 67,332 บาท
เมื่อแพทย์ของสถานพยาบาลตามสิทธิวินิจฉัยแล้วว่าต้องรักษาโจทก์ด้วยการผ่าตัดแต่กลับไม่ดำเนินการรับโจทก์ไว้รักษาหรือวางแผนการรักษาทันที โดยอ้างว่าอาการของโจทก์ไม่รุนแรงและไม่ฉุกเฉิน การผ่าตัดรอได้ เพียงแต่ให้ยาแก้ปวดไปรับประทานที่บ้าน เป็นการไม่ให้การรักษาที่จำเป็นและสมควรแก่อาการป่วยของโจทก์ โจทก์โทรศัพท์สอบถามขอรับการผ่าตัดจากสถานพยาบาลตามสิทธิถึง 2 ครั้ง ก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดจากโรงพยาบาล ศ. แต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ศ. เป็นกรณีโจทก์ใช้ความพยายามที่จะขอรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และตามที่จำเลยที่ 1 กำหนดไว้อย่างเต็มที่เท่าที่ตนจะพึงทำได้แล้ว ถือเป็นเหตุสมควรที่โจทก์ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 59 วรรคสอง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจัดให้โจทก์ได้รับบริการทางการแพทย์และตามสัญญา เมื่อสถานพยาบาลตามสิทธิไม่ให้การรักษา จึงเป็นกรณีจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ตามจำนวนที่โจทก์เสียไปคืนแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานจากการเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ เพียงใด ทั้ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นกฎหมายมหาชนที่ศาลต้องบังคับใช้ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมยิ่งกว่าข้อจำกัดของวิธีพิจารณาความเช่นที่ใช้ในคดีแพ่งทั่วไป ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจยกเหตุตามมาตรา 59 ขึ้นวินิจฉัยได้แม้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองโดยอ้างเหตุว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์เป็นกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
แม้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุผลว่าเพราะโจทก์ไม่สามารถไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ ซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสองวินิจฉัยว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์ไม่ใช่กรณีฉุกเฉินและจำเป็นที่ต้องรับการรักษาในทันทีในสถานพยาบาลอื่นนอกจากสถานพยาบาลตามสิทธิ ก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์และต้องสั่งให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ จึงต้องเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับผลของคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิต ต้องด้วยความยินยอมของทุกฝ่าย หรือตกลงร่วมกัน หากไม่มีความตกลง การจ่ายเป็นรายเดือนตามกฎหมายจึงชอบ
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20..." และมาตรา 24 บัญญัติว่า "การจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19 นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี จะตกลงกันจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นก็ได้" จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือน เพื่อให้มีเงินช่วยเหลือในการดำรงชีวิตในระยะยาว การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นนั้น จะทำได้ต้องเกิดจากการตกลงกันระหว่างนายจ้างหรือสำนักงานประกันสังคมกับลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาตกลงอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองคราวเดียว แต่กลับปรากฏว่าจำเลยโดยสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 11 และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีคำวินิจฉัยให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายเดือน ตามมาตรา 18 (4) จึงเท่ากับว่าจำเลยไม่ประสงค์จะตกลงกับโจทก์ทั้งสองในการจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่สามารถขอให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนได้ตามมาตรา 24 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวบางส่วนจึงเป็นการไม่ชอบ
of 13