คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินมัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้, เงินมัดจำ, L/C, ความผิดของผู้ซื้อ, สิทธิเรียกคืนเงินมัดจำ
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้ มีกำหนดการซื้อขายเป็นเวลา 1 ปี และมีข้อสัญญาเกี่ยวกับจำนวนไม้อย่างต่ำที่จะต้องซื้อขายกันต่อเดือน เมื่อจำเลยผู้ขายได้รับเงินมัดจำค่าซื้อไม่จากโจทก์ 200,000 บาท เงินจำนวนนี้ย่อมเป็นเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายที่มีกำหนดเวลาซื้อขายกัน 1 ปี ไม่ใช่เงินมัดจำสำหรับการซื้อขายไม้จำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือของเดือนใดเดือนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ไม้จำนวน 5 หีบที่ตัวแทนโจทก์ได้คัดเลือกให้จำเลยเพื่อส่งไปให้โจทก์ยังต่างประเทศ จะมีราคาประมาณ 200,000 บาท โจทก์ก็จะนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักเอาชำระราคาไม้ที่จะส่งออกไม่ได้ เพราะการซื้อขายยังไม่เสร็จสิ้น ยังจะต้องมีการซื้อขายตามสัญญาอีกจนกว่าจะครบ 1 ปี หากนำเงินมัดจำดังกล่าว มาหักชำระราคาไม้รายพิพาทแล้ว ก็จะไม่มีเงินมัดจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่า ตามประเพณีการค้า การส่งสินค้าไปต่างประเทศ ผู้ซื้อจะต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้ผู้ขาย เท่าราคาสินค้าที่ส่งออกอันเป็นวิธีการเกี่ยวกับการชำระเงินค่าสินค้า และปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์เอง ที่เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้จำเลยไม่พอกับราคาไม้ที่ส่งออก จึงส่งไม้ออกไปให้โจทก์ไม่ได้ เช่นนี้จำว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้: เงินมัดจำ, L/C, และความผิดของผู้ซื้อ
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้มีกำหนดการซื้อขายเป็นเวลา1 ปี และมีข้อสัญญาเกี่ยวกับจำนวนไม้อย่างต่ำที่จะต้องซื้อขายกันต่อเดือน เมื่อจำเลยผู้ขายได้รับเงินมัดจำค่าซื้อไม้จากโจทก์ 200,000 บาทเงินจำนวนนี้ย่อมเป็นเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายที่มีกำหนดเวลาซื้อขายกัน 1 ปี ไม่ใช่เงินมัดจำสำหรับการซื้อขายไม้จำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือของเดือนใดเดือนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ไม้จำนวน 5 หีบที่ ตัวแทนโจทก์ได้คัดเลือกให้จำเลยเพื่อส่งไปให้โจทก์ยังต่างประเทศจะมีราคาประมาณ 200,000 บาท โจทก์ก็จะนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักเอาชำระราคาไม้ที่จะส่งออกไม่ได้ เพราะการซื้อขายยังไม่เสร็จสิ้น ยังจะต้องมีการซื้อขายตามสัญญาอีกจนกว่าจะครบ 1 ปี หากนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักชำระราคาไม้รายพิพาทแล้ว ก็จะไม่มีเงินมัดจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่าตามประเพณีการค้าการส่งสินค้าไปต่างประเทศผู้ซื้อจะต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้ผู้ขายเท่าราคาสินค้าที่ส่งออกอันเป็นวิธีการเกี่ยวกับการชำระเงินค่าสินค้า และปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์เองที่เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้จำเลยไม่พอกับราคาไม้ที่ส่งออก จึงส่งไม้ออกไปให้โจทก์ไม่ได้ เช่นนี้จะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ การชำระเงินโดยไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนไม่ได้ และไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้กับผู้ว่าจ้างแทนการที่จำเลยที่ 1 จะต้องวางเงินมัดจำในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างเหมาทำการก่อสร้างอาคารให้ผู้ว่าจ้าง หนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาที่โจทก์ผูกพันต่อผู้ว่าจ้างเพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและไม่ชำระหนี้เท่านั้น โจทก์มิได้วางเงินตามหนังสือค้ำประกันให้ไว้ต่อผู้ว่าจ้างขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างหนังสือค้ำประกันจึงมิใช่มัดจำ และเมื่อตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างไม่มีข้อความให้ผู้ว่าจ้างริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน ผู้ว่าจ้างจึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1722/2513)
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366-2367/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเบี้ยปรับกับเงินมัดจำจากสัญญาซื้อขายไม้ จำเลยผิดสัญญาเดียวกัน
คดีแรกโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะขายไม้ให้โจทก์แล้วจำเลยผิดสัญญาขอให้จำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาเป็นค่าเสียหายให้โจทก์ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องจำเลยอีกว่าผิดสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำให้โจทก์ ทั้งสองคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ ฟ้องของโจกท์ในคดีแรกที่เรียกเบี้ยปรับและในคดีหลังที่เรียกเงินมัดจำนั้นมีประเด็นพิพาทอย่างเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ มูลเหตุที่จะฟ้องคดีทั้งสองก็เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาครั้งเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องรวมกันมาได้ในคดีแรก ฉะนั้น การฟ้องเรียกเงินมัดจำในคดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบเงินมัดจำจากการซื้อขายที่ดิน แม้มีการล้มละลายของคู่สัญญา ผู้ขายยังคงมีสิทธิริบได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่า ผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั้นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดงเจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในการกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูญสิ้นไปแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบเงินมัดจำจากสัญญาจะซื้อขายหลังล้มละลาย: การสวมสิทธิเจ้าของเดิม & ผลกระทบจากคำสั่งไม่ยอมรับสิทธิ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่าผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั่นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดง เจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามข้อสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูยเสีบไปแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ: การต่ออายุสัญญา, การรับงานที่ไม่ตรงตามสัญญา, และเงินมัดจำ
โจทก์ผู้รับจ้างทำของทำงานไม่เสร็จตามกำหนดในสัญญาจึงขอต่ออายุ จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ตอบ จะถือว่าจำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้ไม่ได้
ผู้รับเหมาทำงานเสร็จ แต่ผู้ตรวจงานของผู้ว่าจ้างรายงาน ว่าไม่ตรงตามสัญญา ผู้ว่าจ้างเรียกเบี้ยปรับ จะถือว่าผู้ว่าจ้างรับงาน โดยไม่อิดเอื้อนไม่ได้ จึงเรียกเบี้ยปรับได้
ผู้รับจ้างมอบหนังสือรับรองของธนาคารแทนเงินมัดจำตามสัญญาไม่เป็นเงินมัดจำ แต่เมื่อผิดสัญญาผู้ว่าจ้างก็เรียกเอาเงินจำนวนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาเช่าและการคืนเงินมัดจำ เมื่อมีการโอนสิทธิสัญญาเช่าและผู้รับโอนไม่สามารถเข้าครอบครองได้
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าท่าจอดเรือ โดยโจทก์วางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นประกันตามสัญญา ต่อมาโจทก์ขอโอนสิทธิการเช่านี้ให้ บ. จำเลยอนุมัติและ บ.ได้เข้าทำสัญญาและวางเงินมัดจำเท่ากับที่โจทก์วางไว้ แต่ บ.เข้าครอบครองและดำเนินการตามสัญญาไม่ได้เนื่องจาก ส. ได้ทำสัญญารับช่วงดำเนินการจากโจทก์ไว้ก่อนตามสัญญาระหว่างโจทก์กับ ส. เมื่อโอนสิทธิการเช่าไปแล้วเช่นนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับไปไม่มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยเงินมัดจำที่จำเลยยึดไว้ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่านี้เป็นเหตุยึดหน่วงเงินมัดจำของโจทก์ไว้ การที่ ส. ยังครอบครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ไม่ยอมส่งมอบให้ บ.นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันเองหาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาเช่าและการคืนเงินมัดจำเมื่อมีการโอนสิทธิและผู้รับโอนไม่สามารถเข้าครอบครองได้
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าท่าจอดเรือ โดยโจทก์วางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นประกันตามสัญญา ต่อมาโจทก์ขอโอนสิทธิการเช่านี้ให้ บ. จำเลยอนุมัติและ บ.ได้เข้าทำสัญญาและวางเงินมัดจำเท่ากับที่โจทก์วางไว้ แต่ บ.เข้าครอบครองและดำเนินการตามสัญญาไม่ได้เนื่องจาก ส.ได้ทำสัญญารับช่วงดำเนินการจากโจทก์ไว้ก่อนตามสัญญาระหว่างโจทก์กับ ส.. เมื่อโอนสิทธิการเช่าไปแล้วเช่นนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับไปไม่มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยเงินมัดจำที่จำเลยยึดไว้ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่านี้เป็นเหตุยึดหน่วงเงินมัดจำของโจทก์ไว้ การที่ ส.ยังครอบครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ไม่ยอมส่งมอบให้ บ.นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันเอง หาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การพิสูจน์หลักฐานการชำระเงินมัดจำ และเบี้ยปรับ
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นหนังสือ และระบุในสัญญาว่าได้มีการวางเงินมัดจำให้ผู้จะขายไว้ด้วย การวางเงินมัดจำนั้นเป็นแต่เพียงข้อสัญญากันข้อหนึ่ง หาใช่ตกลงทำสัญญากัน ด้วยการวางมัดจำไม่ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
เมื่อหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุว่า ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้จากผู้จะซื้อเป็นการถูกต้องแล้ว ผู้จะขายจะนำสืบพยานบุคคลว่าไม่ได้รับเงินมัดจำโดยผู้จะซื้อขอผัดชำระนั้นไม่อาจรับฟังได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หาใช่เป็นการสืบหักล้างเอกสารว่าไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้ผู้จะซื้อตามกำหนด ยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับ และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินจำนวนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งด้วย ค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้จะขายผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381ซึ่งนอกจากจะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้วผู้จะซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากผู้จะขายได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้จะซื้อฟ้องเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญา โดยมิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้จะขาย เพื่อการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร แม้ผู้จะซื้อมิได้นำสืบถึงความเสียหายศาลก็มีอำนาจกำหนดเบี้ยปรับตามจำนวนที่พอสมควรให้ได้
(วรรคหนึ่งถึงสาม วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2515)
of 17