คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาเช่า: เงื่อนไขการต่อสัญญาและการทำสัญญาใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4.1 ระบุว่า ผู้ให้สัญญา(จำเลยที่ 1) ต้องสร้างอาคาร 3 หลัง แล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัญญา(โจทก์) และผู้รับสัญญา (โจทก์) ตกลงให้ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการในอาคารและที่ดินบริเวณข้างเคียงมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะตอบแทนกันเพียง 3 ปี และจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะขอต่ออายุสัญญาเป็นรายปีตามสัญญา ข้อ 4.3 ดังนั้น แม้จะฟังว่าสัญญาประนีประนอม-ยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาก็มีกำหนดระยะเวลาเพียง 3 ปี ส่วนสัญญาเช่ารายพิพาทมีผลบังคับตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
สัญญาเช่ารายพิพาท ข้อ 9 ระบุว่า ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาถ้าผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปให้ผู้ให้สัญญายื่นความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) ภายใน 60 วันก่อนครบกำหนดสัญญานี้เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ระบุให้จำเลยที่ 1 ยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่จะทำการต่อสัญญาได้เท่านั้น แต่การที่จะอนุญาตตามคำขอหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาต ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาที่ระบุว่า ...ฯ ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) จะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) เพื่อขออนุญาตใช้อาคารและที่ดินออกไปอีกเป็นรายปีไปในการนี้ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้องทำสัญญากันใหม่อีกครั้งหนึ่งตามแบบฟอร์มและข้อกำหนดของผู้รับสัญญา แล้วแสดงว่าการที่จะต่อสัญญาออกไปเป็นรายปีนั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญากันใหม่ตามแบบฟอร์มและตามข้อกำหนดของโจทก์ข้อกำหนดนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องตกลงกันใหม่แล้วจึงจะทำสัญญา ดังนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำมั่นหรือเงื่อนไขของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6077/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายต้องรอผลการพิจารณาคดีขับไล่ก่อน ศาลไม่รับฟ้องแย้งหากเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเช่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ด้วยหวังว่าจะได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดไปการที่โจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าต่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายคือค่าก่อสร้างและตกแต่งสถานที่ค่าเช่าที่จำเลยเสียให้โจทก์ไปเพื่อหวังจะทำการค้าแต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยและทำการพิจารณาอนุมัติล่าช้าคิดเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น43,690บาทซึ่งเป็นค่าเช่า2ปีที่โจทก์รับล่วงหน้าจากจำเลยรวมทั้งค่าเสียหายที่ไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ชื่อร้านชูจันทร์ในสถานที่เดิมได้ดังนี้จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าต่อแต่จำเลยอ้างว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญาและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขจะบังคับได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยแล้วจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5681/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมีเงื่อนไขห้ามโอน สิทธิครอบครองยังไม่สมบูรณ์ การโอนสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน ผู้ที่ได้ที่ดินยังไม่มีสิทธิครอบครองไม่ว่าจะตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจโอนสิทธิครอบครองให้แก่บุคคลใด จะโอนกันได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเงื่อนไขห้ามโอนแล้ว เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกหรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชำระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์การที่โจทก์อ้างว่า ย.ยกที่ดินและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้ในระหว่างเวลาที่มีเงื่อนไขห้ามโอน ถือได้ว่า ย. ยังไม่มีสิทธิครอบครอง จึงไม่อาจโอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ได้ เมื่อ ย. ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทจึงตกทอดทางมรดกแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท การที่โจทก์ยังคงครอบครองอยู่จึงเป็นการครอบครองแทนทายาทของ ย. โจทก์จะต้องเปลี่ยนลักษณะการครอบครองโดยบอกกล่าวไปยังทายาทของ ย. เพื่อเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองแทนมาเป็นยึดถือครอบครองเพื่อตนเสียก่อนจึงจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ฟ้องแย้งแสดงกรรมสิทธิ์ไม่เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ โฉนดเลขที่ 145 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ 16 เมตร ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า อาคารที่จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่ประการใด หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบันเกินกว่า 10 ปี จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 145ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ50 เมตร ตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท หากคดีฟังได้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจำเลยที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง หาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของพินัยกรรมและการตกไปของเงื่อนไขเนื่องจากเหตุการณ์ไม่สมบูรณ์
ข้อความในพินัยกรรมข้อ 1 ระบุว่า แม้ พ.และ ล.จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรม หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียว แต่พินัยกรรมข้อ 2 ระบุว่า "แต่พินัยกรรมนี้ให้เงื่อนไขดังนี้" การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ 2 ด้วย ทั้งพินัยกรรมข้อ 2 ข.ระบุว่า หาก พ.ตายก่อน ล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมด แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรม ข้อ 2 เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วย มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 อยู่แล้ว และพินัยกรรมข้อ 2 ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ ล.ถึงแก่ความตายภายหลังอีก พินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 2 เท่านั้น หาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 1 มีผลบังคับเป็นหลักไม่
เมื่อบุตรของโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมา และ ล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับ พ.ได้ถึงแก่ความตายก่อน พ.ข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อ 2 ค.ที่ระบุให้ ล.ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่ จึงเป็นอันตกไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1698(2) เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ เมื่อ ล.ตายก่อน พ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ 2 ก. ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้ พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ 2 ข. ที่ พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้า พ.ตายก่อน ล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมด จึงตกไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1698 (2) โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของ พ.ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของพินัยกรรม: ลำดับเงื่อนไขและการตกไปของข้อกำหนดเมื่อเงื่อนไขไม่สำเร็จ
ข้อความในพินัยกรรมข้อ1ระบุว่าแม้พ.และล. จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวแต่พินัยกรรมข้อ2ระบุว่า"แต่พินัยกรรมนี้ให้เงื่อนไขดังนี้"การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ2ด้วยทั้งพินัยกรรมข้อ2ข.ระบุว่าหากพ.ตายก่อนล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมดแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรมข้อ2เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วยมิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1อยู่แล้วและพินัยกรรมข้อ2ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ล. ถึงแก่ความตายภายหลังอีกพินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ2เท่านั้นหาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ1มีผลบังคับเป็นหลักไม่ เมื่อบุตรของโจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมาและล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับพ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนพ. ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ2ค.ที่ระบุให้ล. ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้เมื่อล. ตามก่อนพ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ2ก.ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ2ข. ที่พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้าพ.ตายก่อนล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของพ. ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของพ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และการกระทำความผิดหลายบทเป็นกรรมเดียว
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา230จะให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิมแต่ก็จำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้นส่วนมาตรา221ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็เฉพาะแก่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่จะรับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่าการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงโดยละเว้นการตรวจสอบไม้ดังกล่าวตามระเบียบของทางราชการกับกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ในวันเดียวกันเพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงติดเงื่อนไขห้ามโอน และผลของการครอบครองที่ดินหลังสัญญาเป็นโมฆะ
ที่ดินพิพาทมี น.ส.3 ก.ที่ทางราชการออกให้แก่มารดาโจทก์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 5 ปี ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 ก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวมารดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและมอบการครอบครองให้แล้ว แต่การซื้อขายมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นที่ดินที่ทางราชการห้ามโอนภายใน 5 ปี การซื้อขายจึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม
ส่วนการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้รับโอนดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนเจ้าของ แม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังคงถือว่าการครอบครองไว้แทนตลอดมาจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา 1377, 1379
การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอน ผลก็เท่ากับการสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามโอนตกเป็นโมฆะเช่นกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นการครอบครองแทน จึงไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374
ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินไม่ถูกต้อง ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องผิดพลาดอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: เงื่อนไขการบอกเลิกและการรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นก่อนบอกเลิก
แม้การค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2จะเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้โดยบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา699วรรคหนึ่งก็ตามแต่ตามสัญญาค้ำประกันมีเงื่อนไขว่าผู้ค้ำประกันจะไม่บอกเลิกสัญญานี้จนกว่าจะมีบุคคลหรือทรัพย์สินมาประกันให้เป็นที่พอใจของโจทก์จำเลยที่2ทำหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันไปยังโจทก์โดยไม่มีบุคคลหรือทรัพย์สินมาประกันให้เป็นที่พอใจของโจทก์เงื่อนไขข้อตกลงยังไม่เสร็จสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2ทำไว้ต่อโจทก์จึงไม่ระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดิน: สัญญาเลิกกันเมื่อเงื่อนไขไม่เป็นไปตามกำหนด
โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการครอบครองที่ดินโดยจำเลยผู้จะขายจะไปดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินและจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อโดยกำหนดวันที่ไว้แน่นอน ปรากฏว่าที่ดินพิพาทยังไม่มีระวางแผนที่จึงไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ เมื่อกรณียังมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา และครบกำหนดเวลาในสัญญาแล้ว ถือได้ว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันโดยไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนส่งมอบสิทธิครอบครองแก่โจทก์ไม่ได้เมื่อสัญญาเป็นอันเลิกกัน คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่พิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยที่ 1 ต้องคืนมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่สัญญาเลิกกัน
of 48