พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิของเจ้าหนี้ในการขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่สาธารณะที่โจทก์มีหน้าที่ดูแลอยู่ ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนขอให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยทั้งสองเสียค่าใช้จ่าย ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527ออกใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 12 ให้เพิ่มเติมมาตรา 296 ทวิ กำหนดวิธีดำเนินการบังคับคดีโดยให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้น ดังนั้น โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามวิธีการดังกล่าวนี้ จะให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังมีคำสั่งงดบังคับคดี: ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่ง
ฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์จำเลยกระทำก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เป็นการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไป ซึ่งคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะไม่มีบทกฎหมายจำกัดห้ามไว้
ในวันที่ศาลชั้นต้นแจ้งให้ศาลซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทนให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยตามคำแถลงของผู้แทนโจทก์ จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้งดหรือยกเลิกการออกหมายบังคับคดีเพราะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เรื่องทุเลาการบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2) และมีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีงดการบังคับคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเกิดผลแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนทำการยึดทรัพย์ในภายหลัง แม้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งให้งดการบังคับคดี ก็เป็นการยึดทรัพย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้งดการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์จำเลยกระทำก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เป็นการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไป ซึ่งคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะไม่มีบทกฎหมายจำกัดห้ามไว้
ในวันที่ศาลชั้นต้นแจ้งให้ศาลซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทนให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยตามคำแถลงของผู้แทนโจทก์ จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้งดหรือยกเลิกการออกหมายบังคับคดีเพราะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เรื่องทุเลาการบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2) และมีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีงดการบังคับคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเกิดผลแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนทำการยึดทรัพย์ในภายหลัง แม้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งให้งดการบังคับคดี ก็เป็นการยึดทรัพย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้งดการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2112/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: เจ้าหนี้มีสิทธิขอศาลสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนตนเองตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนครัวที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนได้โดยค่าใช้จ่ายเป็นของจำเลย ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่10) พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับซึ่งมาตรา 12 ให้เพิ่มเติมบทมาตรา 296 ทวิ เป็นว่า 'ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว' ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการรื้อถอนครัวของจำเลยที่รุกล้ำออกไปได้ จะให้โจทก์รื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การอายัดเงินและการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วน เฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การอายัดเงินและการจ่ายให้เจ้าหนี้ การตีความตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วน เฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่ออายัดและจ่ายเงิน: ตาราง 5 ข้อ 2 vs. ข้อ 4
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ3ครึ่งตามตาราง5ข้อ2ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีตามตาราง5ข้อ2ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของและเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงินแม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัดเป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว กรณีตามตาราง5ข้อ4หมายถึงเมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายการขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัดจึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การจ่ายเงินที่อายัดแก่เจ้าหนี้ ถือเป็นการ 'จำหน่าย' ตามกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินซึ่งจำเลยที่3ที่5ได้รับชำระหนี้ในคดีอื่นไว้นั้นเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไปจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ3ครึ่งของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง5ข้อ2ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและคำว่า'จำหน่าย'หามีความหมายเพียงการขายอย่างเดียวไม่แต่ยังหมายถึง'จ่ายแจกแลกเปลี่ยนเอาออกใช้หรือให้'ด้วยการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นการจำหน่ายเงินที่อายัดแล้วที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินที่อายัดตามข้อ2จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขการขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อรับภาระภาษีแทนจำเลยได้ ไม่ขัดกฎหมาย
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินแม้จะเป็นเงินได้ของจำเลยซึ่งจำเลยต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระภาษีดังกล่าวแทนจำเลยดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดที่ให้ผู้ซื้อต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ไม่เป็นโมฆะตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เมื่อโจทก์(ผู้ซื้อ) ตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดีตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วก็ผูกพันโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตาม จะอ้างหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้เสียภาษีนั้นมาปัดความรับผิดนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องมีเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย มิใช่แค่ราคาต่ำกว่าราคาที่แท้จริง
การที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วย มาตรา 296 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและเกิดการเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีบุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้ เมื่อตามคำร้องของจำเลยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้สมคบกันประมูลเพื่อกดราคาที่ดินให้ต่ำกว่าราคาที่แท้จริงมีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริตซึ่งมิได้เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดตามบทกฎหมายดังยกขึ้นกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องอ้างเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ใช่แค่ราคาไม่สมเหตุสมผล
การที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วย มาตรา 296 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและเกิดการเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีบุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้เมื่อตามคำร้องของจำเลยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้สมคบกันประมูลเพื่อกดราคาที่ดินให้ต่ำกว่าราคาที่แท้จริงมีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริต ซึ่งมิได้เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดตามบทกฎหมายดังยกขึ้นกล่าวข้างต้น