คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาขายต่ำเกินไป และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ทำการ ขายทอดตลาดแทนมีฐานะเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์สินของจำเลยในราคาต่ำทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา14วันนับแต่วันที่ได้ทราบขอให้ศาล เพิกถอนการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา146กรณีไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองที่จะอนุโลมนำมาใช้ได้เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน จึงจะนำเรื่องฟ้องต่อศาลได้
ผู้มีส่วนได้เสียจะคัดค้านการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อมีคำสั่งก่อน ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนการยึดจึงจะมีสิทธิร้องขอต่อศาลได้ โจทก์ทั้งสี่เสนอคดีต่อศาลคัดค้านการยึดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ได้มีการยื่นคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้มีคำสั่งตามขั้นตอนที่กฎหมายลำดับไว้ก่อนไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน จึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้
ผู้มีส่วนได้เสียในการที่ทรัพย์สินถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดไปนั้น ต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้มีคำสั่งเสียชั้นหนึ่งก่อน จึงจะมีสิทธิเสนอคดียื่นคำร้องขอต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด แสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้อง
คำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินในราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาดมาก ซึ่งหากเป็นจริงดังคำร้อง ก็เป็นข้อแสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ใช้ดุลพินิจในการขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อให้ได้ราคาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันถือได้ว่าเป็นการร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทำให้ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายได้รับความเสียหายกรณีต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ชอบที่ศาลจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้ทำการไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย แม้ทรัพย์สินยังอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่โจทก์ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจะได้รับชำระหนี้นั้น จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินประกันการขอทุเลาการบังคับที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์วางไว้ต่อศาลซึ่งยังเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลายดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแทนโดยที่ดินดังกล่าวได้ถูกยึดในคดีแพ่งเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมก่อนแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าการขายทอดตลาดกระทำไปโดยไม่สุจริต ซึ่งหากเป็นความจริงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในคดีล้มละลายขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้นทั้งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 32 ได้กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้แต่เมื่อได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
ผู้ร้อง ป. ส. และจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมกันแต่ได้ตกลงแบ่งแยกเป็นสัดส่วนกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2กับพวกเป็นบุคคลล้มละลายและการที่ ป. กับ ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องก็เป็นการขายตามสัดส่วนของตนที่แบ่งแยกไว้แน่นอนแล้ว ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ดินเป็นเนื้อที่ที่แน่นอนเช่นกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยไม่สามารถระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินส่วนใดของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ ทั้งข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นเป็นสัดส่วนย่อมผูกมัดเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้น และระเบียบกระทรวงยุติธรรมวาด้วยการบังคับคดี ฯพ.ศ. 2522 ข้อ 32 กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฎว่าส่วนใดเป็นของลูกนี้ แต่เมื่อผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิด
เดิมศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยในคดีทำการแบ่งมรดกให้ ก.9 ใน 21 ส่วน ต่อมาคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกกันใหม่ โดยให้ พ. ผู้มิได้ร่วมทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินดังกล่าว ต่อมาพ.ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดพ. ให้จำเลยที่ 3 บังคับคดีในทรัพย์มรดกพิพาทตามส่วนของตนที่ศาลฎีกาได้พิพากษาไว้เพื่อนำไปชำระหนี้ของ พ. ซึ่งจำเลยที่ 3 อธิบดีของกรมบังคับคดีจำเลยที่ 2 ได้มอบให้จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของพ.โดยมีจำเลยที่ 5 ทนายความของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยเหลือไปนำยึดที่ดินพิพาทเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของ พ. ชำระหนี้เช่นนี้เมื่อที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งตกทอดแก่ทายาท และ พ. เป็นทายาทด้วยผู้หนึ่งต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า พ. เป็นผู้มีสิทธิในที่พิพาทด้วย กรณีมีเหตุให้จำเลยดำเนินการตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวความ การที่จำเลยไปทำการยึดทรัพย์ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองตามชื่อในทะเบียน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศ.เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) รวมจำนวน 45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ ศ.มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 109 (1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 22 (1) ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 24 ศ.จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้
of 36