พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การลงวันที่เช็คหลังเกิดเหตุ และสิทธิของผู้รับอาวัลในการไล่เบี้ย
การที่ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้วรายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมายวันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาทโดยชอบ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังต้องรับผิดชดใช้เงิน
การที่โจทก์มิได้ระบุชื่อผู้โอนเช็คพิพาทมาให้ทราบในการฟ้องนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร หาเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยไม่ การที่โจทก์รับซื้อเช็คพิพาทมาโดยมิได้ให้ผู้โอนสลักหลังเช็คพิพาทนั้นก็เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กัน โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบต้องมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55, 142, 142(5), 246, 247
แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์ แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือจะต้องเป็นไปโดยชอบตามที่อ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้บุคคลที่สาม นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มี โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากบุคคลที่สามที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาทที่กำหนด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์ แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือจะต้องเป็นไปโดยชอบตามที่อ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้บุคคลที่สาม นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มี โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากบุคคลที่สามที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาทที่กำหนด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทขีดคร่อมเฉพาะบัญชีผู้รับเงิน การโอนสิทธิไม่สมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
เช็คพิพาทจำเลยที่ 1 สั่งธนาคารจำเลยที่ 4 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรือผู้ถือโดยขีดคร่อมและพิมพ์ข้อความว่า A/CPAYEEONLYซึ่งแปลว่า เฉพาะบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น อันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันกับเปลี่ยนมือไม่ได้ไว้ที่ด้านหน้าเช็ค จำเลยที่ 2จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยการสลักหลังและส่งมอบในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือจะโอนให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบในฐานะผู้ถือหาได้ไม่จำเลยที่ 2 จะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจำเลยที่ 2 จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ก็ทำได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 989 และการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306 วรรคแรก การที่จำเลยที่ 2 โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ด้วยวิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1ผู้สั่งจ่าย ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นเพียงคู่สัญญาของจำเลยที่ 1มิได้เป็นคู่สัญญาของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1แล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การจำกัดสิทธิการโอนเช็คโดยผู้สั่งจ่าย และผลต่อการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ
เช็คพิพาทจำเลยที่ 1 สั่งธนาคารคือจำเลยที่ 4 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรือผู้ถือ โดยจำเลยที่ 1 ได้ขีดคร่อมและพิมพ์ข้อความว่าA/CPAYEEONLY อันได้ความเป็นทำนองเดียวกับเปลี่ยนมือไม่ได้ลงไว้ที่ด้านหน้าเช็ค แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ออกจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับเงินหรือผู้ทรงก็จะต้องผูกพันตามข้อกำหนดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยที่ 2 จะโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยการสลักหลังและส่งมอบในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือโอนโดยการส่งมอบในฐานะผู้ถือไม่ได้เพราะมาตรา 917 วรรคสอง บัญญัติให้โอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญเพียงวิธีเดียวเพื่อการโอนไม่สมบูรณ์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464-465/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตรา: การออกเช็คไม่เป็นความผิด พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่มีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดซึ่งเป็นความผิดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 รวมอยู่ เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3893/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทที่ออกภายใต้ข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่มีมูลหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองออกให้โจทก์พร้อมกับเช็คฉบับอื่นอีก 37 ฉบับ ในการตกลงประนีประนอมยอมความกันตามหนังสือรับสภาพหนี้ อันมีมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรวมอยู่ด้วย ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะออกให้เพื่อชำระค่าใช้จ่าย ค่าเสียหาย ค่าทนายความแก่โจทก์ แต่ก็เป็นเช็คที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ที่เกี่ยวเนื่องกับหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว หาใช่เป็นเช็คคนละส่วนคนละตอนกับมูลหนี้ตามเช็คทั้ง 37 ฉบับไม่ เมื่อหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้มีมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรวมอยู่ด้วย หนี้ตามเช็คพิพาทซึ่งเป็นหนี้เกี่ยวเนื่องกันย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยกรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: สัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้สิ้นผลผูกพัน สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ถึงกำหนดสั่งจ่ายแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายจำเลยที่ 1 จึงออกเช็คพิพาทไปแลกเอาเช็คฉบับก่อนคืนเป็นการออกเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั่นเอง แม้โจทก์จะมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 1 ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ต้องออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินตามราคาสินค้ามอบให้โจทก์ไว้เพื่อนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร หากเรียกเก็บเงินได้ถือว่าเป็นการชำระค่าสินค้า หากเรียกเก็บเงินไม่ได้โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ออกเช็คใหม่ไปแลกเอาเช็คเก่าคืนโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วยก็ตามเมื่อลักษณะข้อตกลงของจำเลยที่ 1และโจทก์ต่างมีเจตนาที่จะให้ใช้เช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยที่ 1 ได้ลงวันที่สั่งจ่ายไว้ในเช็คและยินยอมให้โจทก์นำเรียกเก็บเงินจากธนาคาร หากเรียกเก็บเงินได้ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ หากเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์จะยอมผ่อนผันให้จำเลยที่ 1 ออกเช็คใหม่มาแลกเช็คเก่าคืนก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 1และโจทก์เจตนาผูกพันกันตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินหมวดที่ว่าด้วยเช็คนั่นเอง หาได้มีเจตนาพิเศษที่จะมิให้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารขาดเจตนาที่จะกระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งให้ชำระหนี้โดยรวมมูลหนี้ของเช็คพิพาทเข้าด้วย จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอม ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 บัญญัติไว้ ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันได้สิ้นผลผูกพันไป ก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิดบัญญัติเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นสิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การออกเช็คชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ว. เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 570,000 บาท แล้ว ว. สลักหลังโอนเช็คนั้นให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่การที่ ว.ให้จำเลยกู้ยืมเงินไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมทั้งเช็คก็มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จึงฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653การที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้ยืมให้ ว. เป็นการชำระหนี้ที่ไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลัง จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: หนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่อาจฟ้องร้องบังคับได้ ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา กฎหมายฉบับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มีกฎหมายฉบับใหม่คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ออกมาใช้บังคับแทนปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลัง การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยมีจำนวนเกินกว่าห้าสิบบาทและไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมกันไว้เป็นหนังสือ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลัง การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคสอง.