พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจของศาลส่งตัวเด็กไปสถานพินิจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) เป็นฎีกาต้องห้าม
เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเด็กและเยาวชนพิพากษาใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) แล้ว จำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นฎีกาต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 และมาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจส่งตัวเด็กไปยังสถานพินิจฯ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเด็ดขาด ไม่สามารถฎีกาได้
เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเด็กและเยาวชนพิพากษาใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) แล้ว จำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นฎีกาต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 และมาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ถูกละเมิดและผู้แทนโดยชอบธรรม
การที่จำเลยใช้กำลังกายประทุษร้ายกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารผู้เยาว์อายุ 13 ปี บุตรสาวของโจทก์อันเป็นการทำละเมิดนั้นผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดก็คือผู้เยาว์ซึ่งถูกกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารโจทก์ซึ่งเป็นมารดามิใช่เป็นผู้เสียหายจากการทำละเมิดด้วย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นส่วนตัว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของมารดาผู้เยาว์ซึ่งเป็นโจทก์ไว้ว่า "นางวิง ยังสุข ในฐานะส่วนตัวและมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงมะลิวัลย์ ยังสุข ผู้เยาว์" แสดงชัดแจ้งว่า มารดาเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสองฐานะ คือ ฟ้องในฐานะส่วนตัวฐานะหนึ่งกับฟ้องแทนผู้เยาว์ในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมอีกฐานะหนึ่งจึงถือว่าคำฟ้องนั้น จึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์โดยมารดาฟ้องแทนอีกด้วย
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของมารดาผู้เยาว์ซึ่งเป็นโจทก์ไว้ว่า "นางวิง ยังสุข ในฐานะส่วนตัวและมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงมะลิวัลย์ ยังสุข ผู้เยาว์" แสดงชัดแจ้งว่า มารดาเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสองฐานะ คือ ฟ้องในฐานะส่วนตัวฐานะหนึ่งกับฟ้องแทนผู้เยาว์ในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมอีกฐานะหนึ่งจึงถือว่าคำฟ้องนั้น จึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์โดยมารดาฟ้องแทนอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับวิธีการบำบัดฟื้นฟูเด็กแทนการลงโทษ
การที่ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมณสถานพินิจและคุ้มครองเด็กโดยอาศัยอำนาจตามความในบทบัญญัติมาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้มิใช่การพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ก็เป็นการสั่งใช้วิธีการที่เบากว่าโทษจำคุกจึงต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 218 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้กำหนดระยะเวลาที่จะให้จำเลยไปอยู่ฝึกและอบรม จำเลยกลับฎีกาอ้างเหตุมาว่า ถูกคุมขังในระหว่างอุทธรณ์มาเกินกำหนดระยะเวลาแล้ว ถือว่าเป็นการลงโทษและจำเลยได้รับโทษตามคำพิพากษาแล้ว ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่า ขังมาพอกับโทษและให้ปล่อยตัวไป เช่นนี้เท่ากับจำเลยฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลและขอให้เปลี่ยนจากใช้วิธีการที่เบากว่าโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาเป็นการลงโทษและกำหนดโทษใหม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์ดุลพินิจศาลสั่งส่งตัวเด็กไปสถานฝึกอบรม ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
จำเลยอายุไม่เกิน 17 ปี กระทำผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งจำเลยไปฝึกยังสถานฝึกอบรมเด็กและเยาวชนจนกว่าจะมีอายุ 18 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยจะฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลที่ให้ส่งตัวจำเลยไปยังสถานฝึกอบรมนั้นไม่ได้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะการที่ศาลสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปยังสถานฝึกอบรมเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่การลงโทษแต่เป็นวิธีการที่เบากว่าการลงโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกและการทำสัญญาของผู้อำนาจปกครองเด็ก
จำเลยซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 สัญญาประนีประนอมที่ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 สัญญาประนีประนอมที่ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในมรดกและการทำสัญญาประนีประนอมของผู้อำนาจปกครองเด็ก
จำเลยซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดก. ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755.
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก. โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์. มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1546. สัญญาประนีประนอมที่ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้.
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก. โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์. มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1546. สัญญาประนีประนอมที่ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งส่งตัวเด็กเข้าสถานฝึกฯ หลังบิดาร้องขอรับดูแล และยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไข
ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยซึ่งมีอายุ 15 ปีไปสถานฝึกและอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ต่อมาบิดาจำเลยร้องขอรับจำเลยไปดูแลเอง โดยยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลจะกำหนด ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวเด็กในระหว่างพิจารณาคดีและการหักวันกักขังเมื่อศาลเปลี่ยนโทษเป็นสถานฝึกอบรม
เด็กที่ถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีตามหมายของศาลซึ่งให้สถานพินิจควบคุมไว้นั้น มาตรา 16 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็ก พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 6 ให้อำนาจสถานพินิจฯ ส่งตัวไปกักไว้ที่เรือนจำได้ โดยถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ เมื่อเด็กถูกพิพากษาลงโทษศาลจะคิดหักวันที่ถูกกักอยู่ในเรือนจำให้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ก็ได้
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า "ลงโทษ" อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรมอันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า "ลงโทษ" อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรมอันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายแทนเด็ก: เงื่อนไขการขออนุญาตศาลและการปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกันต่อโดยระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมขายแทน ส.ผู้เยาว์ ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ขายจะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขาย ความหมายของสัญญาจะขายที่ดินรายนี้ของเด็กก็ต่อเมื่อศาลอนุญาตให้ขาย เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอขายที่ดินของเด็กแล้ว ศาลสั่งไม่อนุญาต ก็ย่อมเป็นอันไม่ซื้อขายกันตามข้อสัญญา การที่ศาลไม่อนุญาตให้ขาย มิใช่เป็นการที่จำเลยขัดขวางมิให้เงื่อนไขสำเร็จแต่อย่างไร