พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายและการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้บางราย ถือเป็นการกระทำที่อาจเพิกถอนได้
การที่ผู้คัดค้านชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นตัวแทนในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 แล้ว ผู้คัดค้านย่อมฟ้องเรียกเงินที่ชำระไปแทนจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาตัวแทนได้ แม้การเป็นตัวแทนจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ด้วยเมื่อจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านหลังจากที่มีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายแล้ว โดยผู้คัดค้านหักเงินที่ผู้คัดค้านชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 จากราคาที่ต้องชำระ จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ให้เปรียบแก่ผู้คัดค้าน อันเป็นการกระทำที่อาจเพิกถอนได้ตามมาตรา 115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น ศาลมีอำนาจเพิกถอน/แก้ไขกระบวนการ
คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตาม น.ส. 3 รวม 12 แปลง เป็นของโจทก์และขับไล่จำเลย และบริวารออกจากที่ดินพิพาทและให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ส่งมอบที่ดิน 12 แปลงแก่โจทก์ตามคำพิพากษา หลังจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่หลายร้อยไร่และยังมีปัญหาโต้แย้งแนวเขต ที่ดินกับจำเลย จะมีปัญหาในการบังคับคดี ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้น เห็นว่าโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งในเนื้อที่ดินพิพาท จึงให้นัดไต่สวน ต่อมาเมื่อสืบพยานโจทก์ไปบางส่วนแล้วศาลชั้นต้น มีคำสั่งงดการไต่สวนโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหาก ถ้าการบังคับคดีเป็นที่เสียหายแก่จำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งเช่นนั้นได้
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินมรดก: เพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบ และสิทธิในการดำเนินการออก น.ส.3ก. ตามสิทธิผู้จัดการมรดก
จำเลยมิใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ฉะนั้น การออก น.ส. 3 ก. เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่พิพาท จึงเป็นการออก น.ส. 3 ก. ที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออก น.ส. 3 ก. สำหรับที่พิพาทตามสิทธิของโจทก์ จะบังคับให้จำเลยซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทโอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์หาได้ไม่ และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอน น.ส. 3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4578/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการฉ้อฉล โดยเจ้าหนี้ถูกทำให้เสียเปรียบ
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งห้าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ซ. จำกัด ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เลิกบริษัทแล้ว และตั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ชำระบัญชี ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องบริษัทดังกล่าวในข้อหาผิดสัญญาจ้างทำของเรียกค่าจ้าง ว่าความซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีอยู่จริง ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 สมยอมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้บริษัทชำระเงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และศาลมีคำพิพากษาตามยอม ยังผลให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็น เจ้าหนี้ที่แท้จริงต้องเสียเปรียบ สัญญาที่จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันทำขึ้นดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการฉ้อฉล ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์ทั้งห้าซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นระหว่างลูกหนี้อันได้แก่บริษัทซึ่งมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีเป็นผู้ทำการแทนกับบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกอันได้แก่จำเลยที่ 1 โดยกล่าวหาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ กับมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหรือทำลายสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาโดยแจ้งชัดว่า โจทก์ทั้งห้าร้องขอให้ศาลเพิกถอนซึ่งนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลของจำเลยทั้งสาม หาใช่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามละเมิดต่อโจทก์ทั้งห้าไม่ โจทก์ทั้งห้าชอบที่จะกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ส่วนปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งห้าเป็นเจ้าหนี้บริษัทจริงหรือไม่ และสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกระทำลงโดยจำเลยทั้งสาม รู้เท่าถึงความจริง อันเป็นทางให้โจทก์ทั้งห้าต้องเสียเปรียบหรือไม่ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่ายให้ครบถ้วนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4578/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการฉ้อฉลโดยผู้ชำระบัญชี ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งห้าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ซ. ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เลิกบริษัท และตั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ชำระบัญชีต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องบริษัทเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีอยู่จริงจำเลยที่ 2 และที่ 3 สมยอมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้บริษัทชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่จำเลยที่ 1 และศาลมีคำพิพากษาตามยอมยังผลให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริงต้องเสียเปรียบ สัญญาที่จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันทำขึ้นดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการฉ้อฉล ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งห้าร้องขอให้ศาลเพิกถอนซึ่งนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉล หาใช่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามละเมิดต่อโจทก์ทั้งห้าไม่ โจทก์ทั้งห้าชอบที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำเกินควรและการอุทธรณ์คำสั่งศาล
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ขายทอดตลาดได้เป็นราคาที่ต่ำเกินไป จึงเป็นการยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลย ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420-423/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดิน กรณีผู้ขายฝากไม่สุจริตและเจ้าหนี้เสียหาย
โจทก์ทั้งแปดได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนในวันทำสัญญา และได้ติดตามทวงถามให้จำเลยที่ 1 ทำการแบ่งโฉนดโอนให้แก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ได้ผ่อนชำระที่ดินพิพาทที่จะซื้อแก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ ณ ที่ใด และไม่แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ทราบ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้ผ่อนชำระ ราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป กรณีจะถือว่าสัญญาสิ้นสุดโดยปริยายเพราะโจทก์ทั้งแปดไม่นำพาปฏิบัติตามสัญญา อันมีผลเป็นการยกเลิกสัญญากันโดยปริยายไม่ได้ ฉะนั้นด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งแปดและจำเลยที่ 1 จึงทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ทั้งแปด ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญา
จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ทั้งรู้อยู่ว่าที่ดินดังกล่าวได้ทำเป็นที่ดินจัดสรรและมีผู้มาซื้อแล้ว ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้ที่ดินพิพาทไป โดยรู้ข้อความจริงอันเป็นการให้โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
โจทก์ทั้งแปดเพิ่งได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อเดือนสิงหาคม 2537 ฉะนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 4 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2537 และโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2537 จึงหาพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งแปดได้รู้ถึงเรื่อง การขายฝากซึ่งเป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนไม่ คดีโจทก์ทั้งแปดไม่ขาดอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ทั้งรู้อยู่ว่าที่ดินดังกล่าวได้ทำเป็นที่ดินจัดสรรและมีผู้มาซื้อแล้ว ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้ที่ดินพิพาทไป โดยรู้ข้อความจริงอันเป็นการให้โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
โจทก์ทั้งแปดเพิ่งได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อเดือนสิงหาคม 2537 ฉะนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 4 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2537 และโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2537 จึงหาพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งแปดได้รู้ถึงเรื่อง การขายฝากซึ่งเป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนไม่ คดีโจทก์ทั้งแปดไม่ขาดอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินเนื่องจากหนังสือมอบอำนาจปลอม ต้องฟ้องผู้รับซื้อฝากด้วย
จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์โดยไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เพื่อขายฝากที่ดินพร้อมบ้านของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61แต่โจทก์ต้องฟ้องผู้รับซื้อฝากซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและได้ลาภงอกอันเนื่องจากนิติกรรมที่ได้ทำการจดทะเบียนตามที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโดยไม่ชอบเข้ามาเป็นจำเลยด้วย มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมบ้านระหว่างโจทก์กับผู้รับซื้อฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลไม่รับฎีกาเนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นที่สุดแล้ว
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรและเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้เข้าสู้ราคาด้วยกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเสนอเรื่องเพิกถอนการประเมินราคาทรัพย์สินยึด - ต้องไม่มีการขาย/จำหน่าย
การยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายและไม่อาจตกลงกันในการคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมายเลข 3 และ 4 คู่ความที่เกี่ยวข้องจึงจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296
การยึดทรัพย์ของจำเลยยังอยู่ในระหว่างการบังคับคดีเพื่อขายทอดตลาด ไม่ปรากฏว่าทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ไม่มีการขายหรือจำหน่ายแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเสนอเรื่องต่อศาลให้เพิกถอนการประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 296 ได้
การยึดทรัพย์ของจำเลยยังอยู่ในระหว่างการบังคับคดีเพื่อขายทอดตลาด ไม่ปรากฏว่าทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ไม่มีการขายหรือจำหน่ายแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเสนอเรื่องต่อศาลให้เพิกถอนการประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 296 ได้