พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินในภาวะล้มละลาย: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดเมื่อยกเลิกการล้มละลาย
ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินซึ่งจำเลยโอนให้ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 1 โอนให้ผู้คัดค้านที่ 2 ในระหว่างที่จำเลยยังอยู่ในภาวะล้มละลาย แม้จะได้ความว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการโอน แต่คดียังไม่ถึงที่สุดเมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของผู้ล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว จำเลยจึงพ้นภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินนั้นได้ ศาลฎีกาจึงยกคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและการไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าโอน เมื่อส่งคืนสิทธิการเช่าให้ลูกหนี้
เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้กลับมาเป็นของลูกหนี้แล้ว ซ.ได้ยื่นคำร้องขอส่งคืนตึกต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นการให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของลูกหนี้ตามเดิม การที่ ซ.รื้อบันไดทางขึ้นชั้นบนของตึกไม่เกี่ยวกับสิทธิการเช่า แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพของตึก ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน และการที่ผู้ให้เช่าไม่ยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น ก็เป็นเรื่องระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับผู้ให้เช่า ซ. ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ล้มละลาย แม้ผู้รับโอนจะสุจริตและได้ค่าตอบแทน
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้ได้มาระหว่างเป็นบุคคลล้มละลายจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ตาม มาตรา109(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่ง มาตรา 23 ให้ลูกหนี้ส่งมอบแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และ มาตรา 24 ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล การที่ลูกหนี้ได้ที่ดินพิพาทมาแล้วโอนขายให้แก่ผู้คัดค้านไปจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวทั้งในคดีนี้มีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าลูกหนี้ได้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์สินรายนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้รับโอนได้รับโอนโดยสุจริต และมีค่าตอบแทนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146-1147/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: อายุความที่ใช้บังคับ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ มาตรา 115 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เป็นคนละเรื่องกันกับการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาใช้บังคับไม่ได้ต้องใช้อายุความสิบปีตาม มาตรา164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ 115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: คดีปลดเปลื้องทุกข์ ไม่จำกัดทุนทรัพย์ อุทธรณ์ได้
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกการถอนโอนและการฉ้อฉลซึ่งผลของการที่ขอให้เพิกถอนมีแต่เพียงให้ทรัพย์กลับคืนมาเป็นของลูกหนี้ตามเดิมเท่านั้นหาได้มีการเรียกร้องทรัพย์หรือขอให้ได้รับประโยชน์เพื่มขึ้นอย่างไรไม่จึงถือว่าเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หาต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก, สิทธิในทรัพย์สินก่อนสมรส, การเพิกถอนการโอน, และการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องซึ่งเป็นเพียงแสดงให้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่าหากศาลเห็นเป็นการสมควรหรือจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ขอให้เรียกจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นจึงใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข เรียกเข้ามา กรณีดังนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าคำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นพร้อมกับคำฟ้องเพื่อหมายเรียกตามมาตรา 57(3)
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกที่ไม่เป็นไปตามพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ. เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: คู่สัญญาลูกหนี้ & ระยะเวลาการโอน
ก. ผู้ร้องคัดค้านซึ่งได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทโดยตรงจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เป็นคู่สัญญากับลูกหนี้จึงมิใช่บุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 116
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ ก. ในระหว่างเวลาเพียง 30 วัน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยจำเลยไม่มีทรัพย์อื่นใดอีก ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ ก.ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
การขอให้ศาลเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115 ไม่ต้องพิจารณาว่าผู้รับโอนได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
บุคคลภายนอกซึ่งจะได้รับคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 116 นั้น นอกจากต้องเป็นผู้ได้รับโอน หรือได้สิทธิมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนแล้ว ยังต้องรับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลายด้วย
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ ก. ในระหว่างเวลาเพียง 30 วัน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยจำเลยไม่มีทรัพย์อื่นใดอีก ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ ก.ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
การขอให้ศาลเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115 ไม่ต้องพิจารณาว่าผู้รับโอนได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
บุคคลภายนอกซึ่งจะได้รับคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 116 นั้น นอกจากต้องเป็นผู้ได้รับโอน หรือได้สิทธิมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนแล้ว ยังต้องรับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลายด้วย