พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากลักทรัพย์นายจ้าง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม การพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ เป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นคดีแรงงานอันเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่ง แม้จำเลยจะให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ได้ลักทรัพย์ของจำเลยอันมีมูลความผิดอาญาอยู่ด้วย ก็มิใช่ข้ออ้างที่จะมีผลให้มีการพิจารณาลงโทษโจทก์ในการกระทำผิดอาญาเพียงแต่อ้างเพื่อปฏิเสธไม่ต้องรับผิดในคดีแรงงานเท่านั้น หาทำให้กลายเป็นคดีอาญาไปไม่ การพิจารณาคดีนี้จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 และ 227 มาใช้บังคับได้การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงโดยวิธีการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 จึงชอบแล้ว
โจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
โจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวในระหว่างทำงานส่งผลต่อชื่อเสียงนายจ้าง
โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุในฐานะพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยได้พูดแนะนำ พ. เจ้าของรถคู่กรณีให้เรียกร้องค่าเสียเวลาหรือค่าเสียหายที่ต้องจ่ายเป็นค่าโดยสารรถแท็กซี่ระหว่างซ่อมรถจำนวน 2,500 บาท จากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งและขอส่วนแบ่งจำนวน 500 บาท ซึ่งแม้จะกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ แต่โจทก์กระทำในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นงานที่ทำให้แก่จำเลย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับจำเลย ทำให้ลูกค้าไม่เชื่อถือและย่อมส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของจำเลยโดยตรง จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามมาตรา 67 และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคท้าย ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9119/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและไล่ออกเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่และการลงเวลาย้อนหลัง ศาลฎีกาพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ การมาปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ที่รับผิดชอบเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลรักษาทรัพย์สินของจำเลยจึงเป็นหัวใจสำคัญของงาน แต่โจทก์กลับละทิ้งหน้าที่แล้วมาลงเวลาย้อนหลังเพื่อแสดงว่าตนมาทำงานในเวลาดังกล่าว จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีเหตุที่จำเลยจะลงโทษไล่โจทก์ออกได้ตามข้อบังคับ คำสั่งของจำเลยให้ไล่โจทก์ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเรื่องเมื่อสั่งให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานตามเดิม ไม่ให้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์อื่นในช่วงลงโทษ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ว่า เมื่อโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินในระหว่างพักงาน มิใช่ขอเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือน จึงเป็นการขอค่าเสียหายจากกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. ลักษณะจ้างแรงงาน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์สามารถทำงานให้แก่จำเลย การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว มิใช่ความสมัครใจของโจทก์ แต่เป็นเพราะจำเลยมีคำสั่งไม่ให้โจทก์เข้าทำงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเรื่องเมื่อสั่งให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานตามเดิม ไม่ให้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์อื่นในช่วงลงโทษ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ว่า เมื่อโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินในระหว่างพักงาน มิใช่ขอเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือน จึงเป็นการขอค่าเสียหายจากกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. ลักษณะจ้างแรงงาน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์สามารถทำงานให้แก่จำเลย การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว มิใช่ความสมัครใจของโจทก์ แต่เป็นเพราะจำเลยมีคำสั่งไม่ให้โจทก์เข้าทำงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุรายงานข้อสงสัยผู้บริหารต่อ กลต. และข้อผิดพลาดในการทำงานที่ไม่ร้ายแรง
การทำงานของโจทก์ที่ล่าช้าในการส่งรายการฐานะการเงินให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) และปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กลต. กำหนด เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกเปรียบเทียบปรับนั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติและเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในปีแรกที่เพิ่งดำเนินการ ต่อมาโจทก์ก็ไม่เคยทำผิดพลาดอีก ข้อผิดพลาดเช่นนี้บริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็เคยถูกเตือนหรือถูกปรับเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกันหรือสูงกว่าอีกทั้งส่วนงานอื่นของจำเลยก็เคยถูก กลต. มีมติให้เปรียบเทียบปรับเช่นกัน การกระทำผิดพลาดของโจทก์จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยในกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7213/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิลูกจ้างในการกลับเข้าทำงาน, ค่าเสียหาย, และการนับอายุงานต่อเนื่อง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างแทนการรับกลับเข้าทำงานในกรณีลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้วจะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายหรือจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานอีกไม่ได้เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง และได้รับความเดือดร้อนเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายจนถึงวันเกษียณอายุ ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
มาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้าง เพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้ระบุให้ศาลมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามไว้และการนับอายุงานต่อเนื่องเป็นการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วมิให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจให้นับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงให้นับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
มาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้าง เพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้ระบุให้ศาลมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามไว้และการนับอายุงานต่อเนื่องเป็นการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วมิให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจให้นับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงให้นับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย: การประเมินเจตนาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) มีความมุ่งหมายที่จะให้สิทธิแก่นายจ้างสามารถลงโทษลูกจ้างที่ตั้งใจหรือมีเจตนากระทำการโดยรู้ว่าการกระทำของตนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างเท่านั้น มิได้มุ่งเน้นที่ความเสียหายว่าได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพียงใด ซึ่งแตกต่างจากกรณีกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ตั้งใจตามมาตรา 119(3) ที่มีเงื่อนไขว่า ความเสียหายที่นายจ้างได้รับจะต้องถึงขั้นเสียหายอย่างร้ายแรง นายจ้างจึงจะมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำของโจทก์จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแล้วหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญที่จะนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัย
หมายแจ้งคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้บริษัทจำเลยใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ในการผลิตกระดาษในคดีที่บริษัท อ. ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าโรงงานดังกล่าวมีไปถึงบริษัทจำเลย ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลคือ ช. กรรมการผู้จัดการจำเลย โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีหน้าที่บริหารงานบุคคลภายในบริษัทจำเลยให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการทำงานและคำสั่งของ ช. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา โจทก์ไม่มีหน้าที่ในการดำเนินการตามคำสั่งศาลดังกล่าว แต่โจทก์ได้แสดงตนเป็นพนักงานของบริษัท อ. ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายปฏิปักษ์กับจำเลย และขอจัดประชุมเพื่อให้พนักงานของจำเลยที่มีอยู่ประมาณ 200 คน สมัครใจว่าจะเป็นลูกจ้างใคร กับทั้งจะนำคนงานบริษัท อ. เข้ามาในโรงงานซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยกในหมู่พนักงานของจำเลย และเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยและมีเจตนาจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือฝ่ายตรงข้ามกับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำเพื่อให้คำสั่งของศาลเป็นไปโดยถูกต้องและบรรลุผลโดยสุจริตใจ ซึ่งนอกจากเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ยังเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยอีกด้วย
หมายแจ้งคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้บริษัทจำเลยใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ในการผลิตกระดาษในคดีที่บริษัท อ. ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าโรงงานดังกล่าวมีไปถึงบริษัทจำเลย ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลคือ ช. กรรมการผู้จัดการจำเลย โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีหน้าที่บริหารงานบุคคลภายในบริษัทจำเลยให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการทำงานและคำสั่งของ ช. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา โจทก์ไม่มีหน้าที่ในการดำเนินการตามคำสั่งศาลดังกล่าว แต่โจทก์ได้แสดงตนเป็นพนักงานของบริษัท อ. ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายปฏิปักษ์กับจำเลย และขอจัดประชุมเพื่อให้พนักงานของจำเลยที่มีอยู่ประมาณ 200 คน สมัครใจว่าจะเป็นลูกจ้างใคร กับทั้งจะนำคนงานบริษัท อ. เข้ามาในโรงงานซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยกในหมู่พนักงานของจำเลย และเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยและมีเจตนาจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือฝ่ายตรงข้ามกับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำเพื่อให้คำสั่งของศาลเป็นไปโดยถูกต้องและบรรลุผลโดยสุจริตใจ ซึ่งนอกจากเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ยังเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากลูกจ้างลาป่วยหลังจากเคยถูกตักเตือนเรื่องลากิจ
การที่โจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือนเป็นหนังสือเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในการลากิจมาแล้วนั้น ต่อมาโจทก์ลาป่วย ไม่ว่าการลาป่วยของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ก็ตามก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีที่โจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384-6394/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีสหภาพแรงงาน และการกระทำความเสียหายทางการค้า
ในสถานประกอบกิจการของผู้ร้องมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกับสหภาพแรงงานแอมพาส ฯ ที่ตกลงกันไม่ได้ มีการเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานและกรรมการสหภาพแรงงานหลายคนโดยไม่จ่ายค่าชดเชย รวมทั้งผู้คัดค้านทั้งสิบเอ็ดก็อยู่ระหว่างถูกผู้ร้องขออนุญาตศาลเลิกจ้าง ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ผู้คัดค้านกับพวกจึงร่วมกันออกแถลงการณ์ส่งไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพแรงงานอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน แม้ข้อความบางตอนในคำแถลงการณ์จะกล่าวหาว่าผู้ร้องเข้าแทรกแซงการทำงานและต้องการล้มสหภาพแรงงานแอมพาส ฯ แต่ก็เป็นการกล่าวในฐานะที่ผู้คัดค้านเป็นผู้สังกัดอยู่ในสหภาพแรงงานดังกล่าว โดยผู้คัดค้านที่ 1 เป็นประธานสหภาพแรงงาน และกำลังถูกผู้ร้องดำเนินการขอเลิกจ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ร้องได้เลิกจ้างกรรมการสหภาพไปหลายคนแล้ว หากไม่มีกรรมการ สหภาพแรงงานก็อยู่ไม่ได้ ถือได้ว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นการกล่าวหรือแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทผู้ร้อง แต่ข้อความที่กล่าวพาดพิงถึงคุณภาพสินค้าที่ผู้ร้องผลิตว่าขาดคุณภาพ ขอให้สหภาพแรงงานอื่นตรวจสอบและช่วยกดดันผู้ร้อง เป็นเจตนาที่มุ่งหวังผลจะทำลายชื่อเสียงหรือเกียรติคุณในทางการค้าของผู้ร้อง เพื่อเป็นข้อต่อรองกดดันให้ผู้ร้องยอมปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้คัดค้าน เป็นการจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ผู้ร้องจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158-6220/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าโรงงานและเลิกกิจการ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดเนื่องจากสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างจำเลยกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้ใบอนุญาตการผลิตและจำหน่ายสุราของจำเลยสิ้นสุดไปด้วย จำเลยไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ จึงต้องเลิกกิจการและส่งมอบโรงงานคืนแก่กรมโรงงานอุตสาหกรรม การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างพนักงานของจำเลยทุกคน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหมด จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด แม้ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์มีพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วเห็นว่าคดีมีมูล จึงส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณา จนมีคำสั่งฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาล และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล แม้จะยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลว่าโจทก์กระทำผิดตามฟ้อง ก็ถือว่าโจทก์ประพฤติชั่วอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดที่ 9 ว่าด้วยวินัยและการลงโทษข้อ 19 ซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)