พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยไม่ชอบ ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้การดำเนินการก่อสร้างของโจทก์ล่าช้า คนงานน้อยเครื่องมือไม่ทันสมัย ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาแต่สัญญาว่าจ้างฉบับพิพาทระบุเพียงว่า ผู้รับจ้างจะทำการก่อสร้างให้อยู่ภายในสัญญาจะเกินสัญญาไม่ได้เท่านั้นสัญญาว่าจ้างมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ชัดแจ้งทั้งโจทก์ก็ประสงค์จะทำงานต่อไปหากจำเลยเห็นว่าโจทก์ทำงานล่าช้ามาก จะเกิดความเสียหาย จำเลยทั้งสองจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 แต่จำเลยมิได้กระทำ แต่จำเลยกลับให้โจทก์หยุดดำเนินการ ก่อสร้างทันที และว่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างแทนโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวย่อมเป็นการใช้สิทธิในการเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 605
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจ้างทนายความต้องแจ้งเจตนาชัดเจน การประวิงคดีไม่อาจอ้างเหตุเลิกสัญญาได้
การจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการที่ผู้รับจ้างจะบอกเลิกสัญญาได้ และไม่ปรากฏข้อสัญญาระหว่างพ.ทนายความจำเลยกับจำเลยว่าจะเลิกสัญญากันอย่างไร จึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 คือต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ พ.ยังมิได้แสดงเจตนาแก่จำเลย สัญญาจ้างว่าความระหว่าง พ.และจำเลยจึงไม่สิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายความให้จำเลยทราบตามกฎหมายเฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่องส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ทนายความจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดีเพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง ในครั้งที่สามทนายจำเลยมาขอยื่นคำร้องขอถอนตัวโดยจำเลยก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความต่อศาล และจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายจำเลยเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทนายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุขอเลื่อนไม่ได้
ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายความให้จำเลยทราบตามกฎหมายเฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่องส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้อนุญาตให้ทนายความจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดีเพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง ในครั้งที่สามทนายจำเลยมาขอยื่นคำร้องขอถอนตัวโดยจำเลยก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความต่อศาล และจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายจำเลยเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทนายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุขอเลื่อนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องมีสิทธิเลิกสัญญาตามกฎหมายหรือข้อตกลง ไม่สามารถบอกเลิกได้ตามอำเภอใจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มีสิทธิเลิกสัญญาโดยเหตุใดการที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2และมิได้โต้แย้งคัดค้านหามีผลเป็นการเลิกสัญญาดังกล่าวไม่เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโต้แย้งหรือคัดค้านการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่ค่าเสียหายจากการใช้รถ แต่เป็นผลจากการเลิกสัญญา
ค่าเสื่อมราคาที่โจทก์เรียกร้องมาในฟ้องคือราคารถพิพาทที่ยึดคืนขายได้น้อยกว่าราคาเช่าซื้อที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิด ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่ฟ้องเรียกร้อง ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถพิพาทเนื่องจาก การใช้ของจำเลยที่ 1 การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้เป็นผล มาจากการเลิกสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้น, เจตนาของคู่สัญญา, และการเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้อง
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลย ที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็น หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยาย ในคำฟ้อง ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่า หากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ให้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญา บัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535 แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้งดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่ หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็ มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และ จำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์ จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชี กันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่ง ระบุว่า"ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วันมิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป
เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืน สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย
เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืน สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อรถยนต์ การบอกเลิกสัญญา การชดใช้ค่าขาดประโยชน์ และผลของการเลิกสัญญโดยปริยาย
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่งระบุว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทจากการกระทำของกรรมการ และการเลิกสัญญาจากฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยได้ระบุในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และเบิกความในชั้นไต่สวนคำร้องว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างตกแต่งอาคารพิพาทและเมื่อนำความไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยก็ระบุว่าได้ว่าจ้างโจทก์ตลอดจนหัวกระดาษใบเสนอราคาและใบแจ้งรายการก่อสร้างเพิ่มเติมก็มีชื่อโจทก์และจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ดังนี้พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทราบดีว่าโจทก์ได้เชิดให้ว. ออกแสดงเป็นตัวแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821ทั้งการลงลายมือชื่อของว. ผู้เสนอราคาและจำเลยลงลายมือชื่อผู้อนุมัติตามก็มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างก่อสร้างตกแต่งอาคารพิพาทและว. ก็เป็นกรรมการผู้เดียวของโจทก์การรับเหมาก่อสร้างอาคารเป็นวัตถุประสงค์ประการหนึ่งของโจทก์การกระทำของว. จึงมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การก่อสร้างงานในช่วงแรกมีปัญหาในการทำงานและจำเลยสั่งให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมจึงได้มีการตกลงให้โจทก์เสนอราคาค่าก่อสร้างเพิ่มเติมตามเอกสารหมายล.9และจำเลยอนุมัติแล้วจำเลยให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมไปก่อนและมิได้ชำระเงินจำนวน704,480บาทตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารหมายล.9โจทก์ทำการก่อสร้างจนกระทั่งเหลืองานชั้นลอยในข้อ2.1และชั้นล่างในข้อ2.2แต่จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าก่อสร้างเพิ่มเติมตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามแต่จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงหยุดการก่อสร้างเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยหาผู้รับเหมารายอื่นมาดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จดังนี้พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยแสดงเจตนาซึ่งเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวหาใช่เป็นเรื่องตกลงผิดสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมสองฝ่ายและการแสดงเจตนาทั้งสองฝ่ายต้องมีวัตถุประสงค์ตรงกันสัญญาจึงจะเลิกกันไม่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ก็ชอบที่จะเรียกค่าก่อสร้างอันเป็นผลงานที่โจทก์ทำไปแล้วกับค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8477/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายและการไถ่ถอนจำนองโดยปริยาย การคืนเงินและดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร ศ. และจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เงินกู้จำเลยที่ 1 โดยจำนองที่ดินพิพาท 8 แปลงไว้แก่จำเลยที่ 1 เป็นประกันด้วย ในการจัดการหนี้สินของจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 และธนาคาร ศ. ร่วมรู้เห็นและจัดการด้วย จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท 8 แปลงนี้ไว้แก่โจทก์ โดยความรู้เห็นของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 5,000,000 บาท เป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งเรียกเก็บเงินได้แล้ว และให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 1,000,000 บาท โดยส่วนที่เหลือสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จะโอนที่ดิน 8 แปลงให้แก่โจทก์ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกันสัญญากับจำเลยที่ 2 ด้วย ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ดำเนินการไถ่ถอนจำนองและโอนที่ดินพิพาท 8 แปลงให้แก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลาย หลังจากนั้นโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน 8 แปลงฉบับใหม่กับจำเลยที่ 2 โดยไม่มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อจะขายครั้งแรก ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายและไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท 8 แปลงครั้งแรก และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายครั้งแล้วครบกำหนดต่างฝ่ายต่างเพิกเฉย กรณีถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้ง 2 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ต่างฝ่ายต่างจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ แก่กันไม่ได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนเงิน 5,000,000 บาท และ 1,000,000 บาท ตามลำดับพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์