พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุก - เหตุสมควร - สอบถามกระบือหาย - ไม่พอฟังว่าผิด
ก่อนเกิดเหตุกระบือของ ฉ. หายไป จำเลยทั้งสองจึงช่วยออกติดตามหา มีผู้แจ้งจำเลยทั้งสองว่าผู้เสียหายซื้อกระบือมาจำเลยทั้งสองจึงพากันไปที่บ้านของผู้เสียหายเพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับกระบือดังกล่าว และได้ขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่า ผู้เสียหายได้ห้ามปรามมิให้ขึ้นไป ดังนี้ ถือว่าจำเลยทั้งสองมีเหตุสมควรที่จะขึ้นไปสอบถามผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดทางอาญา, อำนาจฟ้อง, การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ, การตรวจค้น, เหตุสมควร
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสมควรรอการลงโทษในคดีขับรถประมาทถึงแก่ความตาย แม้ชดใช้ค่าเสียหายหลังศาลตัดสิน
แม้จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็ยังถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรปรานี ทั้งผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลย และจำเลยรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร จึงควรให้โอกาสจำเลยโดยลงโทษในสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุขาดนัดพิจารณาคดี: ความล่าช้าจากการต่อรองค่าเสียหายอุบัติเหตุรถยนต์ไม่ถือเป็นเหตุสมควร
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของผู้มีชื่อระหว่างทางมาศาล ต้องเสียเวลาตกลงกันเกือบ 2 ชั่วโมง ทำให้มาศาลไม่ทันตามกำหนดเวลานัด แต่ข้อเท็จจริงส่อแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นความผิดของจำเลยที่ 2 และความล่าช้าในการตกลงเรื่องค่าเสียหายกับผู้มีชื่อเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 พยายามต่อรองราคาค่าเสียหาย ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 สามารถจ่ายหรือทำความตกลงกับผู้มีชื่อได้โดยไม่ชักช้า นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังจะต้องให้ผู้มีชื่อซึ่งไม่มีความสันทัดในการเขียนหนังสือเขียนใบรับเงินที่มีข้อความค่อนข้างยืดยาวให้อีก อันเป็นการเพิ่มพูนการเสียเวลาให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งความชักช้าดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัด เช่นนี้ จึงยังฟังไม่ได้ถนัดนักว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มาศาลไม่ได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่อาจอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามที่ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: เหตุงดบังคับคดีต้องมีเหตุสมควร
การที่จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ย่อมขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ทันที เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลฉ้อฉลเจตนาลวง หรือจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงของจำเลยที่ 2 และโจทก์อันจะเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะให้งดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร: ศาลต้องสืบข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
คดีมีประเด็นต้อง วินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดย ไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ การที่โจทก์แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อ กันโดย มิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อ จำเลยนั้นคดีจึงยังมีปัญหาต้อง วินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่นั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่โจทก์แถลงรับดังกล่าว จึงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ติดต่อ กันสามวันโดย ไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่และการวินิจฉัยคดีแรงงาน: การรับเฉพาะการขาดงานไม่ใช่การยอมรับการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อศาลสอบโจทก์ โจทก์เพียงแต่แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลย ไม่ได้แถลงรับว่าการที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร คดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ คำแถลงรับของโจทก์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุป่วยของทนายโจทก์ไม่ใช่เหตุสมควรขอพิจารณาคดีใหม่ แม้จะแจ้งวันนัดโจทก์ไม่ได้
โจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่ได้ขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นยกฟ้องปรากฏว่าอาการป่วยของทนายโจทก์สามารถแจ้งวันนัดให้โจทก์ทราบหรือทำคำร้องเลื่อนคดีมอบให้ผู้อื่นมายื่นต่อศาลได้ดังนี้ มิใช่เหตุสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลใช้อำนาจทั่วไปได้หากมีเหตุสมควร มิใช่การขยายเวลาตามมาตรา 23
จำเลยที่ 1 ขอถอนคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นอนุญาตและกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลภายใน 10 วัน ครั้นครบกำหนด จำเลยที่ 1 นำเงินมาวางศาลไม่ครบโดยขออนุญาตวางเงินส่วนที่เหลือในวันรุ่งขึ้น ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต และสั่งว่าจำเลยที่ 1 ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินไปอีก 1 วัน เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลให้ใหม่มิใช่เป็นการขยายเวลาอันจะทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาฎีกาและการมีสิทธิในการนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน
การที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้หรือไม่นั้นอยู่ในดุลพินิจของศาล และโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายก่อนครบกำหนดยื่นฎีกาทั้งเหตุที่ขอขยายเวลานั้นก็เพราะว่าโจทก์ได้ย้ายที่ทำการแห่งใหม่และได้แต่งตั้งทนายโจทก์คนใหม่แล้ว ทนายโจทก์คนใหม่ได้แจ้งให้ศาลทราบด้วยว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ขอให้แจ้งไปที่ทำการแห่งใหม่ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของศาลได้ส่งหมายนัดไปยังทนายโจทก์คนเดิม โจทก์จึงไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกา จึงชอบแล้ว การกู้ยืมเงิน แม้หนังสือสัญญากู้เงินจะมิได้ระบุว่าจำเลยกู้เงินไปจากใครก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุว่าจำเลยได้กู้เงินจำนวน500,000 บาท ไป โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ว่าจำเลยกู้เงินไปจากใคร.