คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาคดี: ผลกระทบเมื่อจำเลยทราบเรื่องหลังพ้นเหตุสุดวิสัย
แม้ในขณะถูกฟ้องและถูกบังคับคดี จำเลยจะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องและถูกบังคับคดีเพราะขณะนั้นจำเลยเดินทางจากประเทศไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่เกาะฮ่องกง และเพิ่งเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งหลังจากนั้นจำเลยไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่จังหวัดระยองโดยที่จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้องหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายบังคับคดีเลยก็ตาม แต่หลังจากจำเลยเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว จำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้และจำเลยต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีตามที่จำเลยและทนายความของจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวนและขอคัดสำเนาคำฟ้องคำพิพากษาและคำสั่งของศาล ดังนั้น แม้เหตุที่จำเลยต้องขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาสืบเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง ก็ตามแต่เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังประเทศไทยและจำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องในวันที่ 27 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยขอตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้นนั้น ย่อมถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เสียภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงคือนับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ถือว่าจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่คดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด หรือพิสูจน์เหตุสุดวิสัยที่ชัดเจน
จำเลยกล่าวอ้างมาในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีล้มละลาย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมตลอดถึงการแจ้งวันนัดพิจารณาและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ตามสถานที่ดังที่โจทก์ระบุในฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้รับหมายดังกล่าว และไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีจำเลยทั้งสองไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณาแม้กรณีตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าพฤติการณ์นั้นได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะจำเลยทั้งสองเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่า เพิ่งจะทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อใดและจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือไม่ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: ผลของใบแต่งทนายไม่สมบูรณ์และการใช้ดุลพินิจศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ทนายความจำเลยที่ 2และที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความลงวันที่เดียวกันกับคำร้องระบุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความและมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ แต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ให้ถูกต้องตามที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความและอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้อง หลังจากนั้นมีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 1 ครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์เป็นฉบับเดียวกันภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น โดย ส.ทนายความเป็นผู้เรียงอุทธรณ์ พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ลงวันที่เดียวกันกับอุทธรณ์ ฉบับหนึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความโดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แต่งทนายความและลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ ดังนี้ ในส่วนของจำเลยที่ 3 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับจำเลยที่ 2 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นเพียงแต่ใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 3 ฉบับแรกไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 3ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่จำเลยที่ 3 ได้แก้ไขข้อบกพร่องโดยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันจำเลยที่ 3 มาแต่เริ่มแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำเป็นต้องสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 อีก
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 23 และ 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และผลกระทบต่อการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดิน
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ทนายความจำเลยที่ 2และที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความลงวันที่เดียวกันกับคำร้องระบุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความและมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ แต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ให้ถูกต้องตามที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความและอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้อง หลังจากนั้นมีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 1 ครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์เป็นฉบับเดียวกันภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น โดย ส. ทนายความเป็นผู้เรียงอุทธรณ์พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความ 2 ฉบับ ลงวันที่เดียวกันกับอุทธรณ์ ฉบับหนึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความ โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แต่งทนายความและลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความดังนี้ ในส่วนของจำเลยที่ 3 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับจำเลยที่ 2 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นเพียงแต่ใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 3 ฉบับแรกไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 3ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่จำเลยที่ 3 ได้แก้ไขข้อบกพร่องโดยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้วคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันจำเลยที่ 3 มาแต่เริ่มแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำเป็นต้องสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 อีก แม้จำเลยที่ 3 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ยื่นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และ 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การไม่ถือกำหนดเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ + เหตุสุดวิสัย ทำให้ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
โจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ แม้จำเลยจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามเวลาที่กำหนด สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จำเลยเช่าซื้อจำเลยอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแม้ได้ชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินก็ประกาศให้จำเลยทราบด้วยว่าที่ดินไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินกลับคืนมาจำเลยเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีก ถือได้ว่าการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงมิได้ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความประกันภัย, การรับสภาพหนี้, และเหตุสุดวิสัยในการเช่าซื้อรถยนต์
ผู้รับประกันภัยที่ถูกผู้เอาประกันภัยยื่นคำร้องขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องผู้เอาประกันภัยให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไป มีสิทธิยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ได้
ภายหลังจากที่รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อได้ติดต่อให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่จำเลยร่วมมิได้ปฏิเสธความรับผิด แต่ให้นำบันทึกประจำวันจากพนักงานสอบสวนไปประกอบด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องอันเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคแรก
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจอดไว้บริเวณซอยลาดพร้าว 84อันเป็นสถานที่ซึ่งคนทั่วไปรวมทั้งคนร้ายสามารถเข้าออกได้โดยสะดวก ส. ควรคาดหมายได้ว่าอาจมีคนร้ายเข้าไปลักรถยนต์ไปได้โดยง่าย จึงอาจป้องกันมิให้คนร้ายลักรถยนต์ได้โดยระมัดระวังให้มากกว่าที่กระทำดังกล่าว การที่ ส. เพียงแต่ล็อกคลัตซ์และกุญแจประตูรถ ยังไม่พอที่จะถือว่าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น เมื่อรถยนต์ถูกคนร้ายลักไปจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้ผู้เช่าซื้อพ้นความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่ออายุสัญญาจ้างก่อสร้างและการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการพิจารณาเหตุสุดวิสัยและความเสียหาย
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุข้อ 52 (2)ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างในกรณีการจ้างเหมาเกินกว่า 2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 8,000,000 บาทและ ข้อ 64 กำหนดให้การต่ออายุสัญญาสำหรับวงเงินสั่งซื้อหรือสั่งจ้างที่เกินอำนาจหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ดังนั้น การแสดงความเห็นของจำเลยที่ 1 ถึง 7 เกี่ยวกับขอต่ออายุสัญญา จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของการพิจารณาว่าจะต่ออายุสัญญาให้หรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 1 ถึง 7 เป็นเพียงอาจารย์ของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง จึงมิใช่ผู้มีอำนาจในการนี้ การเสนอความเห็นดังกล่าวขึ้นมาก็เพราะโจทก์เป็นผู้สั่งให้ทำความเห็นผู้มีอำนาจอนุญาตหาจำต้องเห็นด้วยเสมอไปไม่ ในเมื่อการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยที่ 1 ถึง 7 นั้นได้ดำเนินการตรวจสอบอาคารโดยเคร่งครัดอยู่แล้ว และไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย เพราะในการพิจารณาให้ความเห็นอาศัยข้อมูลที่พบเห็นในการควบคุมดูแลการก่อสร้าง และข้อมูลที่ผู้รับจ้างส่งมา ส่วนเรื่องไม้แบบนั้นเมื่อตามสัญญาจ้างมิได้ระบุชัดแจ้งว่าต้องใช้ไม้ใดทำแบบ และกรณีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายการไม้วงกบ เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชนิดไม้เอง ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ซึ่งมาช่วยราชการกองคลังของโจทก์ฝ่ายพัสดุจำเลยที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 10 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารการเงินและบัญชีของโจทก์ จำเลยที่ 11 เป็นผู้อำนวยการกองคลังของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 8 ถึง 11 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้กลั่นกรองงานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยหาข้อเท็จจริงและนำเสนอรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือให้สั่งการ พร้อมความเห็นตามที่ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาซึ่งมิใช่การอนุญาตให้ต่ออายุสัญญา และเหตุเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งก็มีความเห็นให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาเท่านั้น มิได้ลงความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาหรือไม่แล้วจำเลยที่ 11 ได้รายงานเสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป พร้อมด้วยหลักฐานและที่ว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตได้ก็เป็นการลงความเห็นตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึง 11 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 12 เป็นรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเกิดเหตุรองอธิบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่อยู่ จำเลยที่ 12 จึงได้ตรวจงานแทนแล้วเสนอผ่านขึ้นไปยังอธิบดีเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอตามที่กองคลังเสนอมาตามลำดับชั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 12 จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 13 เพิ่งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโจทก์ภายหลังอธิบดีคนเดิมซึ่งได้เคยพิจารณาการต่ออายุสัญญาจ้างรายนี้มาก่อน และเคยมีหนังสือหารือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องไปให้กรมอัยการพิจารณา กรมอัยการแจ้งผลการพิจารณาว่าการต่ออายุสัญญาอยู่ในอำนาจของหัวหน้า-ส่วนราชการหรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 64 และการต่ออายุสัญญากระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของผู้ว่าจ้างเท่านั้น กรณีตามข้อหารือคงมีปัญหาแต่เพียงว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อกรณีถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 13 ได้รับเรื่องราวดังกล่าวเสนอมาเมื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีแล้ว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีข้อหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น จึงได้เสนอเรื่องต่อไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่ออนุญาตให้ต่อสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอ และจำเลยที่ 13ยังได้มีความเห็นที่ไม่ควรต่ออายุสัญญากรณีเปลี่ยนแปลงรายการไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างด้วย ซึ่งเป็นการใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและพิจารณาคำขออย่างรอบคอบตามสมควรแล้ว มิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเช่นกัน
จำเลยที่ 14 ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อจำเลยที่ 13 เสนอความเห็นมาเป็น 2 ข้อ คือข้อแรกควรอนุญาตให้ต่ออายุสัญญาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 138 วัน ข้อสองกรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างว่าน่าจะถือเป็นความบกพร่องของผู้รับจ้างเองที่ไม่ขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ น่าจะไม่อนุญาต จำเลยที่ 14 ก็ได้ตรวจสอบเรื่องราวที่ขออนุญาตในเอกสารที่เกี่ยวข้อง และพบว่ากรมโจทก์เคยมีหนังสือหารือเรื่องเหตุสุดวิสัยไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือเรื่องดังกล่าวไปยังกรมอัยการกรมอัยการตอบมาว่าหากผู้รับจ้างได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่อาจป้องกันได้ และกรมโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างให้รับฟังเป็นอย่างอื่นกรณีก็ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างการต่ออายุสัญญาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งทำได้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจจำเลยที่ 14 ยังได้เชิญผู้อำนวยการกองคลัง และนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นอนุมัติ ส่วนข้อสองจำเลยที่ 14 คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้รับจ้างอ้างว่ารายการไม้กำหนดไว้ไม่ชัดแจ้ง และสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ทำวงกบนั้นไม่ชัดแจ้งจริงและก่อนที่จะพิจารณาได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าอาคารตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างนั้น โจทก์ได้ใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว จึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงวงกบประตูหน้าต่าง เป็นงานที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายแล้ว การรอให้มีการอนุญาตก่อนแล้วจึงเปลี่ยนทำให้ผู้รับจ้างต้องรอเรื่องอนุญาตจากโจทก์นานถึง 86 วัน โดยไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ และไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้างเป็นเหตุสุดวิสัย จึงสมควรต่ออายุสัญญาให้โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียนของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และโจทก์ได้ยอมรับว่าสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ทำวงกบไม่ชัดแจ้ง ทั้งก่อนตัดสินใจได้เชิญผู้อำนวยการกองคลังและนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมปรึกษา-หารือแล้ว จึงมีความเห็น เมื่อจำเลยที่ 14 มิได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้ติดต่อประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรี กรมอัยการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสิบสี่มิได้ทุจริต ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาหากซื้อเก็บไว้นานเกิน 30 วัน ก็จะเสื่อมคุณภาพ ประกอบกับการขอต่ออายุสัญญาภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็อาจกระทำได้ตามหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแม้ไม่อยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ต่อสัญญาได้เพราะขาดแคลนปูนซีเมนต์ แต่ก็อาจมีปัญหาด้านการกักตุนและเก็งกำไรในบางท้องที่ได้ ซึ่งย่อมอยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการคู่สัญญาที่จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ผู้มีอำนาจตามระเบียบการพัสดุย่อมสามารถพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของตนได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ จำเลยที่ 14 ใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจหน้าที่ไปโดยสุจริต มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจอนุมัติต่ออายุสัญญาถูกต้อง ไม่ถือเป็นการละเมิด
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุข้อ 52(2) ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างในกรณีการจ้างเหมาเกินกว่า2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 8,000,000 บาท และ ข้อ 64กำหนดให้มีการต่ออายุสัญญาสำหรับวงเงินสั่งซื้อหรือสั่งจ้างที่เกิดอำนาจหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ดังนั้น การแสดงความเห็นของจำเลยที่ 1 ถึง 7 เกี่ยวกับขอต่ออายุสัญญา จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของ การพิจารณาว่าจะต่ออายุสัญญาให้หรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 1 ถึง 7เป็นเพียงอาจารย์ของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง จึงมิใช่ผู้มีอำนาจในการนี้การเสนอความเห็นดังกล่าวขึ้นมาก็เพราะโจทก์เป็นผู้สั่งให้ทำความเห็นผู้มีอำนาจอนุญาตหาจำต้องเห็นด้วยเสมอไปไม่ในเมื่อการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยที่ 1 ถึง 7 นั้นได้ดำเนินการตรวจสอบอาคารโดยเคร่งครัดอยู่แล้ว และไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย เพราะในการพิจารณา ให้ความเห็นอาศัยข้อมูลที่พบเห็นในการควบคุมดูแลการก่อสร้างและข้อมูลที่ผู้รับจ้างส่งมา ส่วนเรื่องไม้แบบนั้นเมื่อตามสัญญาจ้าง มิได้ระบุชัดแจ้งว่าต้องใช้ไม้ใดทำแบบ และกรณีเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงรายการไม้วงกบ เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่ จะต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชนิดไม้เอง ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 8 ซึ่งมาช่วยราชการกองคลังของโจทก์ฝ่ายพัสดุจำเลยที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 10เป็นเจ้าหน้าที่บริการการเงินและบัญชีของโจทก์ จำเลยที่ 11เป็นผู้อำนวยการกองคลังของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 8 ถึง 11เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้กลั่นกรองงานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับนั้น โดยหาข้อเท็จจริงและนำเสนอรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือให้สั่งการพร้อมความเห็นตามที่ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาซึ่งมิใช่การอนุญาตให้ต่ออายุสัญญา และเหตุเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งก็มีความเห็นให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาเท่านั้น มิได้ลงความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาหรือไม่แล้วจำเลยที่ 11 ได้รายงาน เสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป พร้อมด้วยหลักฐานและที่ว่า มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตได้ก็เป็นการลงความเห็นตาม พยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึง 11 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 12 เป็นรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเกิดเหตุรองอธิบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่อยู่ จำเลยที่ 12 จึงได้ตรวจงานแทนแล้วเสนอผ่านขึ้นไปยังอธิบดีเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอ ตามที่กองคลังเสนอมาตามลำดับชั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 12 จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 13 เพิ่งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโจทก์ภายหลังอธิบดีคนเดิมซึ่งได้เคยพิจารณาการต่ออายุสัญญาจ้างรายนี้มาก่อนและเคยมีหนังสือหารือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องไปให้กรมอัยการพิจารณา กรมอัยการแจ้งผลการพิจารณาว่าการต่ออายุสัญญาอยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการหรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ข้อ 64 และการต่ออายุสัญญากระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของผู้ว่าจ้างเท่านั้น กรณีตามข้อหารือคงมีปัญหาแต่เพียงว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อกรณีถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้และเมื่อจำเลยที่ 13 ได้รับเรื่องราวดังกล่าวเสนอมาเมื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีแล้ว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีข้อหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น จึงได้เสนอเรื่องต่อไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่ออนุญาตให้ต่อสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอและจำเลยที่ 13 ยังได้มีความเห็นที่ไม่ควรต่ออายุสัญญากรณีเปลี่ยนแปลงรายการไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างด้วย ซึ่งเป็นการใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและพิจารณาคำขออย่างรอบคอบตามสมควรแล้ว มิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเช่นกัน จำเลยที่ 14 ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการเมื่อจำเลยที่ 13 เสนอความเห็นมาเป็น 2 ข้อ คือข้อแรกควรอนุญาตให้ต่ออายุสัญญาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 138 วันข้อสองกรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างว่าน่าจะถือเป็นความบกพร่องของผู้รับจ้างเองที่ไม่ขออนุญาติให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ น่าจะไม่อนุญาต จำเลยที่ 14 ก็ได้ตรวจสอบเรื่องราวที่ขออนุญาตในเอกสารที่เกี่ยวข้องและพบว่ากรมโจทก์เคยมีหนังสือหารือเรื่องเหตุสุดวิสัยไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือเรื่องดังกล่าวไปยังกรมอัยการกรมอัยการตอบมาว่าหากผู้รับจ้างได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่อาจป้องกันได้ และกรมโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างให้รับฟังเป็นอย่างอื่นกรณีก็ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างการต่ออายุสัญญาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งทำได้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจจำเลยที่ 14 ยังได้เชิญผู้อำนวยการกองคลัง และนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นอนุมัติ ส่วนข้อสองจำเลยที่ 14 คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้รับจ้างอ้างว่ารายการไม้กำหนดไว้ไม่ชัดแจ้ง และสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ทำวงกบนั้นไม่ชัดแจ้งจริง และก่อนที่จะพิจารณาได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าอาคารตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างนั้น โจทก์ได้ใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว จึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงวงกบประตูหน้าต่าง เป็นงานที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายแล้ว การรอให้มีการอนุญาตก่อนแล้วจึงเปลี่ยนทำให้ผู้รับจ้างต้องรอเรื่องอนุญาตจากโจทก์นานถึง 86 วัน โดยไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ และไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้างเป็นเหตุสุดวิสัย จึงสมควรต่ออายุสัญญาให้โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียนของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และโจทก์ได้ยอมรับว่าสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ทำวงกบไม่ชัดแจ้ง ทั้งก่อนตัดสินใจได้เชิญผู้อำนวยการกองคลังและนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมปรึกษาหารือแล้ว จึงมีความเห็น เมื่อจำเลยที่ 14 มิได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้ติดต่อประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรีกรมอัยการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสิบสี่มิได้ทุจริต ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาหากซื้อเก็บไว้นานเกิน 30 วัน ก็จะเสื่อมคุณภาพ ประกอบกับการขอต่ออายุสัญญาภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็อาจกระทำได้ตามหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแม้ไม่อยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ต่อสัญญาได้เพราะขาดแคลนปูนซีเมนต์ แต่ก็อาจมีปัญหาด้านการกักตุนและเก็งกำไรในบางท้องที่ได้ ซึ่งย่อมอยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการคู่สัญญาที่จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ผู้มีอำนาจตามระเบียบการพัสดุย่อมสามารถพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของตนได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ จำเลยที่ 14 ใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจหน้าที่ไปโดยสุจริต มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับระยะเวลาที่ถูกต้อง และเหตุผลการขยายที่ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 จะครบกำหนดอุทธรณ์ 1 เดือน ในวันที่ 20 สิงหาคม 2538 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่าง ๆ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2538 แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัด แสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง 27 วัน จึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสาร และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 ออกไป 15 วันแล้ว โจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่น ๆ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 2 โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่ 5 กันยายน 2538 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา 42 วัน การที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับเวลา, เหตุสุดวิสัย, และหน้าที่ของผู้ร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่20กรกฎาคม2538จะครบกำหนดอุทธรณ์1เดือนในวันที่20สิงหาคม2538โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่1อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่างๆเมื่อวันที่17สิงหาคม2538แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดแสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง27วันจึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสารและเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่1ออกไป15วันแล้วโจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่างๆให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่นๆตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่2โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่5กันยายน2538ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา42วันการที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
of 52