คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสารปลอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองความเสียหายจากฉ้อโกง แม้ใช้เอกสารปลอมเช่ารถ แต่เป็นการหลอกลวงตั้งแต่ต้น
กรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอก และการที่คนร้ายอ้างว่าชื่อส.และพ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันไว้จากบ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์คันดังกล่าวไปจาก บ.แล้วคนร้ายไม่นำมาคืนนั้นเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคนร้ายมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ.ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์บ.หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์แต่อย่างใด การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวข้างต้นไม่ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้เรื่องเอกสารปลอมและการนำสืบพยานนอกคำให้การในคดีค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ สัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร หากจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็จะต้องรับผิดไม่เกิน 150,000 บาท ดังนี้คำให้การจำเลยที่ 2 ตอนต้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงส่วนตอนหลังเป็นเรื่องปัญหาข้อกฎหมายว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด หาได้ขัดกันไม่จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหรือไม่ และจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด
คำให้การของจำเลยทื่ 2 ดังกล่าว ไม่ได้ให้การในรายละเอียดว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การ จึงรับฟังไม่ได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2เป็นคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่ไม่ใช่เอกสารปลอม หากมีเจตนาเพื่อโฆษณาและไม่ใช่แผ่นโลหะ
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งมีข้อความ และตัวเลขว่าเหมือนกับแผนป้ายทะเบียนกรุงเทพมหานคร 9 ง - 9999 ของทางราชการ แล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฏข้อความอย่างอื่นในแผ่นกระดาษนั้นว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและ ห.จ.ก.รวมการช่าง ผู้ถือสิทธิบัตรอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณา การจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เอกสารแผ่นป้ายดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสาร-ปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอมต้องมีเจตนาทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง การติดแผ่นกระดาษโฆษณาป้ายทะเบียนไม่ถือเป็นเอกสารปลอม
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งเขียนข้อความให้เหมือนกับแผ่นป้ายทะเบียนหมายเลข กรุงเทพมหานคร 9ง-9999 ที่ทางราชการได้ทำขึ้นแล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฏข้อความว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมการช่างผู้ถือสิทธิบัตรเลขที่ 1091 อยู่ด้วย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณาการจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างร้านผู้จัดทำจำหน่าย กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่า เป็นเอกสารที่แท้จริง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำเอกสารนั้นไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอม – ป้ายทะเบียนรถ – โฆษณา – ไม่เข้าข่าย – ยกฟ้อง
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งมีข้อความ และตัวเลขว่าเหมือนกับแผ่นป้ายทะเบียนกรุงเทพมหานคร 9ง-9999 ของทางราชการ แล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฎข้อความอย่างอื่นในแผ่นกระดาษนั้นว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและห.จ.ก.รวมการช่าง ผู้ถือสิทธิบัตรอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณา การจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงเอกสารแผ่นป้ายดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเรื่องเอกสารปลอมต้องระบุรายละเอียดการปลอม มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิสืบพยาน
คำให้การต่อสู้คดีที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม โดยไม่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ว่าปลอมอย่างไร เช่น เป็นการปลอมเอกสารทั้งฉบับหรือปลอมเพียงบางส่วน ซึ่งจำเลยต้องแสดงให้ชัดแจ้งไว้ในคำให้การไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้สืบพยานบุคคลของจำเลยมาแล้วก็ไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเพื่อเคลียร์เงินทดรองจ่าย แม้มีการชำระหนี้ภายหลัง ก็เป็นการกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกง ศาลชั้นต้นลงโทษฐานใช้เอกสารปลอม ยกฟ้องฐานฉ้อโกง คดีสำหรับโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมให้หนักขึ้น ทั้งรับอุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้ลงโทษฐานปลอมเอกสารซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องในข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ก็ถือว่าปัญหาเกี่ยวกับข้อหาปลอมเอกสารและสมควรลงโทษหนักขึ้นในข้อหาใช้เอกสารปลอมหรือไม่นั้น มิได้ว่ากล่าวมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขหนังสือเดินทางผู้อื่นเป็นเอกสารปลอม และความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
การที่จำเลยเอาหนังสือเดินทางซึ่งกระทรวงต่างประเทศออกให้แก่ส.มาแกะเอาภาพถ่ายของส.ที่ปิดอยู่ปกหน้าด้านในออกแล้วเอาภาพถ่ายของจำเลยปิดลงไปแทน แม้ภาพถ่ายจะไม่ใช่เอกสารแต่เมื่อนำไปปิดในหนังสือเดินดังกล่าวย่อมทำให้ความหมายที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไปว่าจำเลยคือนาย ส. และเป็นหนังสือเดินทางที่กระทรวงต่างประเทศออกให้แก่จำเลยโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการและเมื่อจำเลยนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเดินทางออกไปและเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย จำเลยใช้หนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทั้งขาเข้าและขาออกคนละคราวกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ครั้งแรกจำเลยปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารปลอมด้วย มีความผิดตามมาตรา 265 และมาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265 ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคสอง กระทงหนึ่ง ครั้งที่สองจำเลยเพียงแต่ใช้เอกสารปลอมฉบับเดิม มิได้ทำปลอมขึ้นใหม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมอย่างเดียวตามมาตรา268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 264 อีกกระทงหนึ่งเรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้เรื่องเอกสารสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ผู้กู้มีสิทธิสืบพยานได้
จำเลยยอมรับว่าได้ลงชื่อไว้ในช่องผู้กู้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่ทำไว้กับโจทก์ แต่ต่อสู้ว่าขณะที่ลงชื่อยังไม่ได้มีการกรอกข้อความใด ๆ ลงไป แล้วโจทก์ไปกรอกจำนวนเงินเพิ่มเติมภายหลังซึ่งสูงกว่าที่จำเลยกู้ยืมไปจากโจทก์ ดังนี้ เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม จำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบตามข้อต่อสู้ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอมฉ้อโกงธนาคาร จำเลยทั้งสองมีความผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 266,341 เมื่อข้อหาใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนักไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ข้อหาฉ้อโกงตามมาตรา 341ซึ่งเป็นบทที่เบากว่า จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิด้วย
of 37