พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่บริบูรณ์จากลายมือชื่อโจทก์ ศาลควรให้แก้ไขก่อนพิพากษา
ในคำฟ้องมีลายมือชื่อทนายความของโจทก์ที่ 2 ลงไว้ในช่องลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์เพียงผู้เดียว จึงเป็นกรณีคำฟ้องมิได้ลงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) ในส่วนของโจทก์ที่ 1 แต่ ส.ทนายความของโจทก์ที่ 1 ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมาจนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเสียให้บริบูรณ์แล้วพิพากษาใหม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ด้วยเหตุที่โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องโดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ที่ 1 ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นจัดการให้โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแล้วพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่บริบูรณ์จากลายมือชื่อที่ไม่ถูกต้อง ศาลต้องให้แก้ไขก่อนพิพากษา
ในคำฟ้องมีลายมือชื่อทนายความของโจทก์ที่ 2 ลงไว้ในช่องลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์เพียงผู้เดียว จึงเป็นกรณีคำฟ้องมิได้ลงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) ในส่วนของโจทก์ที่ 1 แต่ ส. ทนายความของโจทก์ที่ 1 ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมา จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา18 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเสียให้บริบูรณ์แล้วพิพากษาใหม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ด้วยเหตุที่โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องโดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ที่ 1 ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นจัดการให้โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแล้วพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องใหม่หลังแก้ไขข้อบกพร่องด้านตัวแทน ไม่ถือเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
การจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ว่า ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นใด โดยอาศัยเหตุอย่างใดแล้ว คู่ความจะรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นนั้น โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เนื่องจากจำนวนบุคคลที่มาดำเนินคดีแทนโจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์มอบอำนาจขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 804 ซึ่งถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย ส่วนในคดีหลังโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับผู้รับมอบอำนาจแล้วและดำเนินการฟ้องใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยดังนี้การฟ้องคดีหลังจึงไม่มีลักษณะเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดชิงทรัพย์ vs. ลักทรัพย์ และอำนาจแก้ไขศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการใช้มือบีบและกดคอของผู้เสียหาย แล้วกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายโดยแรงจนสร้อยคอขาดแล้วพาวิ่งหลบหนีไปซึ่งหน้า โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายพาหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1)วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เท่านั้น แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ข้อนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเอกสารมหาชน: การแจ้งข้อมูลเท็จต่อนายทะเบียนเพื่อแก้ไขกรรมการบริษัท
การที่จำเลยร่วมกับ อ.และให้อ. ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม กรรมการของบริษัท ก. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยยื่นเอกสารรายงานการประชุมวิสามัญของบริษัท ก. อันเป็นเอกสารเท็จประกอบไปด้วย เป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ก. และประชาชน จึงเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขหนังสือเดินทางเพื่อใช้แทนตนเองถือเป็นการปลอมแปลงเอกสารราชการ
จำเลยเอาหนังสือเดินทาง ซึ่งกระทรวงต่างประเทศออกให้แก่นายสิทธิชัย หอมพวงษ์ มาแก้ไขโดยแกะเอาภาพถ่ายของนายสิทธิชัย หอมพวงษ์ที่ปิดอยู่ในปกด้านในออกแล้วเอาภาพถ่ายของจำเลยปิดลงไปแทนนั้น แม้ภาพถ่ายจะไม่ใช่เอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (7) ก็ตาม แต่เมื่อนำไปปิดลงในหนังสือเดินทางดังกล่าว ย่อมทำให้ความหมายที่แท้จริงของหนังสือเดินทางเปลี่ยน-แปลงไปว่าจำเลย คือ นายสิทธิชัย หอมพวงษ์ และเป็นหนังสือเดินทางที่กระทรวง-การต่างประเทศออกให้แก่จำเลยโดยตรง ภาพถ่ายของจำเลยที่ไม่เป็นเอกสารจึงเกิดเป็นเอกสาร หนังสือเดินทางของนายสิทธิชัย หอมพวงษ์ กลายเป็นหนังสือ-เดินทางของจำเลยเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารราช-การ เมื่อจำเลยนำไปใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเดินทางออกไปและเข้ามาในราชการอาณาจักร ย่อมมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขหนังสือเดินทางผู้อื่นเป็นเอกสารปลอม และความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
การที่จำเลยเอาหนังสือเดินทางซึ่งกระทรวงต่างประเทศออกให้แก่ส.มาแกะเอาภาพถ่ายของส.ที่ปิดอยู่ปกหน้าด้านในออกแล้วเอาภาพถ่ายของจำเลยปิดลงไปแทน แม้ภาพถ่ายจะไม่ใช่เอกสารแต่เมื่อนำไปปิดในหนังสือเดินดังกล่าวย่อมทำให้ความหมายที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไปว่าจำเลยคือนาย ส. และเป็นหนังสือเดินทางที่กระทรวงต่างประเทศออกให้แก่จำเลยโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารราชการและเมื่อจำเลยนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเดินทางออกไปและเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย จำเลยใช้หนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทั้งขาเข้าและขาออกคนละคราวกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ครั้งแรกจำเลยปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารปลอมด้วย มีความผิดตามมาตรา 265 และมาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265 ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคสอง กระทงหนึ่ง ครั้งที่สองจำเลยเพียงแต่ใช้เอกสารปลอมฉบับเดิม มิได้ทำปลอมขึ้นใหม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมอย่างเดียวตามมาตรา268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 264 อีกกระทงหนึ่งเรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขหนังสือเดินทางโดยเปลี่ยนรูปถ่ายถือเป็นการปลอมแปลงเอกสารราชการ
จำเลยเอาหนังสือเดินทาง ซึ่งกระทรวงต่างประเทศออกให้แก่นายสิทธิชัยหอมพวงษ์มาแก้ไขโดยแกะเอาภาพถ่ายของนายสิทธิชัยหอมพวงษ์ที่ปิดอยู่ในปกด้านในออกแล้วเอาภาพถ่ายของจำเลยปิดลงไปแทนนั้น แม้ภาพถ่ายจะไม่ใช่เอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) ก็ตาม แต่เมื่อนำไปปิดลงในหนังสือเดินทางดังกล่าว ย่อมทำให้ความหมายที่แท้จริงของหนังสือเดินทางเปลี่ยนแปลงไปว่าจำเลย คือ นายสิทธิชัยหอมพวงษ์และเป็นหนังสือเดินทางที่กระทรวงการต่างประเทศออกให้แก่จำเลยโดยตรง ภาพถ่ายของจำเลยที่ไม่เป็นเอกสารจึงเกิดเป็นเอกสารหนังสือเดินทางของนายสิทธิชัยหอมพวงษ์ กลายเป็นหนังสือเดินทางของจำเลยเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารราชการเมื่อจำเลยนำไปใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเดินทางออกไปและเข้ามาในราชการอาณาจักร ย่อมมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขประเมินภาษีที่ผิดพลาด: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีซ้ำหลังพบข้อผิดพลาดเป็นไปตามกฎหมาย
ค่ารายปีของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์เช่ามาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมประจำปีภาษี 2531 ที่ถูกต้องจำนวน 18,195,941.60 บาท ต้องถือเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปี 2532 การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532สำหรับโรงงานดังกล่าวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยคิดค่ารายปีเพียง 3,360,000 บาท ค่าภาษีที่จะต้องเสียจำนวน420,000 บาท โดยโรงงานนั้นไม่ได้ถูกรื้อถอนหรือถูกทำลายให้ลดลงจากเดิม ย่อมเป็นการประเมินที่ผิดพลาด ดังนั้นหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบถึงจำนวนค่ารายปีที่ถูกต้องแท้จริงประจำปีภาษี 2531 จากคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางแล้วได้มีหนังสือแจ้งรายการประเมินให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 มาชำระเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,848,242.70 บาทจึงเป็นเพียงการแก้ไขการประเมินครั้งแรกที่ผิดพลาดนั้นเสียใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 24 ประกอบมาตรา 8 และมาตรา 18 บัญญัติไว้นั่นเองไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดเสียใหม่ให้ถูกต้อง และมิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินซ้ำซ้อนกันหรือเรียกเก็บปีละ 2 ครั้ง ฉะนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินค่าภาษีเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,848,242.70 บาทจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ การส่งหมายและการแสดงเจตนาแทนคู่ความ ศาลมีอำนาจแก้ไขหรือเพิกถอนได้
แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์แล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำโดยไม่ชอบ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ทราบว่าตนถูกฟ้อง และจำเลยที่ 3 ได้ยักยอกลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ลงในกระดาษเปล่ามากรอกข้อความเอาเองว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจผิดว่าเป็นใบมอบอำนาจที่แท้จริงและได้พิพากษาไปตามยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 3 ได้แสดงเจตนาแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้รับความเสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบก็ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา27 วรรคหนึ่ง