พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฐานความผิดจากรับของโจรเป็นลักทรัพย์โดยตรงจากพยานหลักฐานที่ได้จากการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์รับของโจร ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจร จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดฐานรับของโจรศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่กระทำความผิดเข้าองค์ประกอบฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 334 ประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิแต่ให้กำหนดโทษคงเดิมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ใส่ชื่อเจ้าของร่วมโดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและเพิกถอนชื่อจำเลย คดีฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมกันโดยทางมรดก การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะดำเนินการเพิ่มเติมชื่อของตนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ร่วมกับจำเลย จะให้ศาลเพิ่มชื่อโจทก์โดยเพิกถอนชื่อจำเลยออกไม่ได้จึงพิพากษายกฟ้องมานั้น ย่อมทำให้คำพิพากษาของศาลไร้ผล การวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่โจทก์ แต่ไม่พิพากษาให้เป็นไปตามนั้น ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกันย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ฉะนั้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(2) ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยได้โดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อจำเลยออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยได้ แม้ไม่มีอุทธรณ์ฎีกา หากไม่กระทบคำวินิจฉัยเดิม
เมื่อคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อำนาจในการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น และไม่ใช่กรณีที่ต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาท แก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาท แก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเล็กน้อยเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระได้ แม้ไม่มีอุทธรณ์/ฎีกา โดยไม่เป็นการกลับคำวินิจฉัย
โจทก์ขอให้เพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาซึ่งมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงของศาลชั้นต้นที่ว่า คำพิพากษามิได้นำเอาดอกเบี้ยเงินกู้ค้างชำระมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ เป็นการขอเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งหาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้นอำนาจในการขอเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่มีอุทธรณ์/ฎีกา กรณีข้อผิดพลาดเรื่องดอกเบี้ย
เมื่อคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อำนาจในการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น และไม่ใช่กรณีที่ต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาทแก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษเกินคำขอและข้อจำกัดในการแก้ไขคำพิพากษาในคดีอาญา
ความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนและความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีการกระทำอันเป็นความผิดแตกต่างกันเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนเพียงฐานเดียวโดยมิได้ฟ้องฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อมิใช่สาระสำคัญตามมาตรา 192 วรรคสอง และกรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 192 วรรคสามศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิพากษาลงโทษในข้อหาดังกล่าวที่พิจารณาได้ความได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเฮโรอีน ศาลชั้นต้นลงโทษฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนของกลาง แต่ฟังได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เป็นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาจากรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษ ถือเป็นการเพิ่มเติมโทษ จำเลยมีสิทธิฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำคุก 4 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 2 เดือน ไม่รอการลงโทษจำคุกและไม่ปรับ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเป็นไม่รอการลงโทษจำคุก นั้น เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามจำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษอาญาที่ศาลอุทธรณ์ผิดพลาด และคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง กับไม่ได้สั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ฟ้องขอมาด้วยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนหนี้ที่ต่ำกว่าการรับสารภาพในชั้นศาล และหลักการไม่แก้ไขคำพิพากษาหากไม่มีการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์จำนวน 57,508.20 บาท จำเลยทั้งสองให้การรับว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน 38,464.76 บาท จึงมีประเด็นข้อพิพาทกันแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสองให้การรับไว้หรือไม่ จำเลยที่ 1จะฎีกาว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำนวน 15,144.66 บาทซึ่งต่ำกว่าที่จำเลยทั้งสองให้การรับไว้ไม่ได้ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี การแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ให้คำนิยามของคำว่า "เจ็บป่วย" ไว้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่ฟ้องเรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงไม่จำต้องนำหลักฐานกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย
แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์โดยคำนวณถูกต้องตาม สิทธิที่โจทก์พึงได้รับก็ตาม แต่เมื่อเกินคำขอบังคับของโจทก์แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาโดยตรง ศาลฎีกาก็เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์โดยคำนวณถูกต้องตาม สิทธิที่โจทก์พึงได้รับก็ตาม แต่เมื่อเกินคำขอบังคับของโจทก์แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาโดยตรง ศาลฎีกาก็เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้