พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 180 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง บัญญัติไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า ฯลฯ (2) คู่ความที่ขแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณีและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องไว้ 2 ประการ คือ ประการแรก กรณีที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน และคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องแต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็อาจยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวได้ ประการที่สอง กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ย่อมจะยื่นคำร้องหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ มาใช้แก่คดีนี้ได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในชั้นพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ในชั้นนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 180 หรือไม่ จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: การพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 และผลกระทบจากประกาศ คสช.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสองที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง บัญญัติไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า ฯลฯ (2) คู่ความที่ขอแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณีและคดีไม่เกี่ยวกับความงบเรียบร้อยของประชาชนให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องไว้2 ประการ คือ ประการแรก กรณีที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน และคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องแต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็อาจยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวได้ประการที่สอง กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ย่อมจะยื่นคำร้องหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ มาใช้แก่คดีนี้ได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในชั้นพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ในชั้นนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 หรือไม่ จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขรายละเอียดในฟ้องหลังชี้สองสถาน ศาลอนุญาตได้หากไม่ใช่การแก้ไขคำฟ้องตามมาตรา 179
คำร้องขอแก้ไขวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยอ้างว่าพิมพ์ผิดพลาดนั้น เป็นการขอแก้ไขรายละเอียดในฟ้องมิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180และศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขรายละเอียดในฟ้องหลังชี้สองสถาน มิใช่การแก้ไขคำฟ้องตามมาตรา 179 ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 180
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นเรื่องขอแก้ไขรายละเอียดในฟ้องเท่านั้น มิใช่เป็นการขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องขอแก้ไขในระยะเวลาตามมาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีที่ไม่ถูกต้องและการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่กระทบสิทธิคู่ความ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าว โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132 (1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีแย่งครอบครองที่ดิน: ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องเดิมแล้ว การฟ้องคดีใหม่เป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่า จำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและอำนาจฟ้อง: ศาลรับฟังใบมอบอำนาจที่แก้ไขแล้วได้ แม้มีเอกสารเดิมที่ผิดพลาด
ในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ได้ส่งสำเนาใบมอบอำนาจเป็นเอกสารท้ายฟ้องฉบับหนึ่ง ก่อนลงมือสืบพยาน โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าสำเนาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งท้ายฟ้องนั้นโจทก์ส่งผิดไป ขอส่งฉบับใหม่ตามเอกสารหมายป.จ.1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ชั้นสืบพยานโจทก์ก็นำสืบว่าโจทก์มอบให้ ธ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเอกสารหมาย ป.จ.1 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง ต้องฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ธ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเอกสารหมาย ป.จ.1 มาตั้งแต่ต้นจำเลยจะอ้างเอาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งผิดมาโดยโจทก์แก้ไขแล้วมาเป็นเหตุให้ฟังว่า ธ.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์จะไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยาน ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นด้วยว่า ถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้การที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวโดยที่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จึงไม่เป็นเรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์จะไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยาน ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นด้วยว่า ถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้การที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวโดยที่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จึงไม่เป็นเรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: ศาลอนุญาตแก้ไขทิศทางรถชนได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและไม่ขัดกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับทิศทางสิ่งของรถยนต์ที่เกิดเหตุจากข้อความที่ว่า "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ขับจากจังหวัดตากมุ่งหน้ามาจังหวัดกำแพงเพชร" เป็น "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดกำแพงเพชรมุ่งหน้ามาจังหวัดตาก" เป็นการแก้ไขข้อเท็จจริงให้เป็นตามความเป็นจริงไม่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกัน เพราะจำเลยที่ 3 ก็ให้การรับอยู่แล้ว การแก้ไขดังกล่าวเป็นเรื่องการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ศาลสั่งอนุญาตจึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องทิศทางรถยนต์ไม่ส่งผลต่อการต่อสู้คดี และประเด็นอายุความฟ้องแย้งไม่เป็นสาระ
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 3ฟังได้ต้องกันว่า รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันแล่นสวนทางกันและเกิดเฉี่ยวชนกันขึ้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับทิศทางวิ่งของรถยนต์ที่เกิดเหตุจากข้อความที่ว่า "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดตากมุ่งหน้ามาจังหวัดกำแพงเพชร"เป็น"รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดกำแพงเพชรมุ่งหน้ามาจังหวัดตาก" จึงเป็นการขอแก้ไขข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกัน เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยและไม่ทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง แม้โจทก์จะขอแก้ไขในวันสืบพยานก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องชอบแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 และศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า เหตุเกิดเพราะผู้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท ซึ่งจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 จะขาดอายุความหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอีกต่อไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังชี้สองสถาน: ข้อบกพร่องของโจทก์ในการตรวจสอบหลักฐานก่อนฟ้อง
เมื่อปรากฏจากคำร้องของโจทก์ว่า เอกสารอันเป็นหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยยังมียอดหนี้เพิ่มเติมจากยอดหนี้ที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้เดิมอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้องคดี แสดงว่าโจทก์สามารถตรวจสอบหลักฐานดังกล่าวได้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ละเอียดก่อนฟ้องคดีว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าไรกันแน่ การที่โจทก์เพิ่งทราบยอดหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์เพิ่มหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องและศาลชั้นต้นชี้สองสถานไปแล้วนับเป็นข้อบกพร่องของโจทก์เอง ความบกพร่องดังกล่าวไม่อาจจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวก็หาใช้ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง จึงไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้คำฟ้องได้หลังวันชี้สองสถานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 บัญญัติยกเว้นไว้