พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีวัตถุออกฤทธิ์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และการแก้ไขโทษทางอาญาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา
อีเฟดรีนของกลางที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวต้องรับโทษเพียงใดอยู่ที่ปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ว่าหนักเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มีอีเฟดรีน ของกลางไว้ในครอบครอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 13.12 กรัม ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ว่าการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์อีเฟดรีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วต้องไม่เกินปริมาณ 12.000 กรัม การที่จำเลยมีอีเฟดรีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดดังกล่าวจึงเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1ตามที่โจทก์ฟ้องนั้นได้ หาใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไม่ ขณะเจ้าพนักงานเข้าตรวจค้น พบจำเลยที่ 2 นอนอยู่ที่เพิง ข้างบ้าน โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าไปนอนที่บ้านเกิดเหตุเพื่อดู หนังสือเตรียมตัวสอบ ส่วนจำเลยที่ 3 ไปพบจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 ชวนให้นอนค้างที่บ้านเกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 หรือสมคบกับจำเลยที่ 1กระทำผิดรายนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ช่วยถอดเครื่องมือที่ใช้ผลิตอีเฟดรีน เพื่อนำออกไปซ่อมก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ผลิตอีเฟดรีน มาก่อน เพียงเท่านี้จึงยังไม่พอชี้ขาดว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมกระทำผิดรายนี้ด้วย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ,62,86,106 ทวิ ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง บทกำหนดโทษคือมาตรา 89การที่โจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 86 แทนที่จะเป็นมาตรา 89 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง,62 วรรคหนึ่ง,89,106 ทวิ ให้ลงโทษฐานผลิตตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 89 และมาตรา 106 ทวิ ต่างก็มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทเท่ากัน ต้องพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษในประเด็นที่จำเลยไม่โต้แย้ง เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีใดแล้ว คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจหรือไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่ถูกจำกัดสิทธิ ตามบทบัญญัติของกฎหมาย และการพิจารณาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ก็ต้องเป็นไปดังที่บัญญัติไว้ในภาค 4 ลักษณะ 1 อุทธรณ์การที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดต่อ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษเท่านั้น ส่วนความผิด ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยพอใจไม่โต้แย้งดุลพินิจ ในการกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมเป็นอันยุติ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะก้าวล่วงไป วินิจฉัยกำหนดโทษเสียใหม่ในความผิดที่ยุติไปแล้วนั้น ให้เบาลงมิได้ เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องอุทธรณ์ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขโทษจำคุก และการกำหนดโทษตามความร้ายแรงของแต่ละกรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปี เพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกจากดุลพินิจของศาลชั้นต้น และการพิจารณาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76, 78
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปีเพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 247 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกันโดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก. ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค.สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม 2539เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต วันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้าง ไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน 25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคา เป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาทซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลย เท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกในคดียาเสพติดและการจำกัดสิทธิในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเฮโรอีน จำคุก 5 ปี ฐานขายวัตถุออกฤทธิ์จำคุก 5 ปีลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือนรวม 3 กระทงจำคุก 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์เป็นกรรมเดียวกับ ฐานจำหน่ายเฮโรอีน คงจำคุกจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนเพียง 2 กรรม เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อจำกัดการรับวินิจฉัยคดีอาญา และการแก้ไขโทษจำคุกที่ไม่สมเหตุสมผล
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แต่อัยการสูงสุดรับรองว่ารูปคดีมีเหตุอันควร ที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง จึงรับรองฎีกา ของโจทก์เพื่อศาลฎีกาจะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป อันเป็นการ รับรองให้ฎีกาเฉพาะในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้รับฎีกาโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 และ 221ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำและมีสุราเถื่อน: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวกันและการแก้ไขโทษ
ตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 มาตรา 5 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราโดยมิได้รับอนุญาต และมาตรา 32 บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 นั้น สุราตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวหมายความถึงทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ เมื่อจำเลยกระทำความผิดในคราวเดียวกันการทำสุรากลั่นและสุราแช่จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และการมีสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกกรรมหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยทุกกระทงความผิดตามฟ้องไม่ถูกต้องปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนในความผิดฐานทำและมีสุรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราโดยมิได้รับอนุญาต และมาตรา 32บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 สุราตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวหมายความถึงทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ เมื่อจำเลยกระทำความผิดในคราวเดียวกันโดยการทำสุรากลั่นและสุราแช่จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกันกรรมหนึ่ง และการมีสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกกรรมหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยทุกกระทงความผิดตามฟ้องไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท กรณีมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้เหมาะสม
การที่จำเลยมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตในวันและเวลาเดียวกัน ถือว่าจำเลยมีเจตนาอันเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่เนื่องจากความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวมีอัตราโทษเท่ากัน จึงต้องลงโทษจำเลยฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะปรากฎว่าคดีสามารถฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายแต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยหนักเกินไปศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช็ค การยอมความ และการแก้ไขโทษจำคุกเป็นปรับ
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ ส. ต่อมาส. นำเช็คดังกล่าวมาชำระหนี้ค่ารถยนต์ที่ซื้อจากโจทก์ร่วมเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดโจทก์ร่วมนำไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมจึงไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ภายหลังที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ ส. ได้นำรถยนต์ที่ซื้อขายไปคืนให้แก่โจทก์ร่วม ดังนี้การคืนรถยนต์ดังกล่าวมิใช่การชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยหรือเป็นการยอมความกันในคดีตามกฎหมาย ไม่ทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับ ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้