พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ ฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ กรณีสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกัน
จำเลยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอม เมื่อเอกสารที่ฟ้องไม่ใช่เอกสารปลอม ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นเท็จ จำเลยย่อมมีความผิดฐานเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำผิดอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนแทนผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267
ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการ มีข้อความว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลใดไว้ บุคคลนั้นเกิดวันเดือนปีใดตลอดจนรายละเอียดของทะเบียนบ้านที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ กับมีข้อความว่าใบรับนี้ให้ใช้ได้เสมือนบัตรประจำตัวประชาชน และลงชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่และประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ รวมทั้งมีลายมือชื่อผู้ยื่นคำร้องด้วย แม้ข้อความที่เจ้าพนักงานกรอกลงไว้เกี่ยวกับชื่อสกุล วันเดือนปีเกิดและทะเบียนบ้านของผู้ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนจะไม่ได้ความว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้บอกให้เจ้าพนักงานบันทึก แต่รายละเอียดดังกล่าวก็ตรงกับที่จำเลยกับพวกได้ระบุไว้ในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเป็นเท็จ เท่ากับว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความดังกล่าวนั้น โดยเหตุที่ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนนี้ให้ใช้ได้เหมือนบัตรประจำตัวประชาชน เอกสารดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นหลักฐาน การกระทำของจำเลยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 แม้เจ้าพนักงานนั้นไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่จำเลยซึ่งทราบดีอยู่แล้วว่าบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ ได้นำยึดบ้านดังกล่าวโดยแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าบ้านนั้นเป็นของ ก. เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 แล้ว เพราะคำว่าเจ้าพนักงานตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีความหมายจำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ แต่ยังมีความหมายรวมถึงเจ้าพนักงานอื่นโดยทั่วไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จ: ฟ้องไม่เคลือบคลุมหรือไม่ พิจารณาจากรายละเอียดการกระทำและเจตนา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528 เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ ว่าโจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลยเพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โดยระบุว่าความจริงเป็นอย่างไร โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และลักษณะของการกระทำผิดในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยแจ้งความ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันใน 2 วันดังกล่าว ทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาและพนักงานสอบสวนในการแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528 เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ว่า โจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลย เพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ ว่าโจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลยเพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โดยระบุว่าความจริงเป็นอย่างไร โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และลักษณะของการกระทำผิดในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยแจ้งความ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันใน 2 วันดังกล่าวทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการแก้ไขเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จดังนั้น ข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อหลอกลวง และแจ้งความเท็จ ทำให้ผู้อื่นถูกกล่าวหาคดีอาญา
โจทก์ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าให้ภรรยาจำเลยที่ 1 ไว้จำเลยทั้งสามร่วมกันกรอกข้อความว่า โจทก์รับฝากเงินจากจำเลยที่ 1เพื่อนำไปซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีและเครื่องวีดีโอ ให้จำเลยที่ 1 โดย ไม่ ได้รับความยินยอมจากโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารสิทธิ และจำเลยที่ 1 นำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งความต่อ พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐาน ใช้ เอกสารสิทธิปลอมด้วย จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปี เป็นนักเรียนอายุยังน้อย ส่วนจำเลยที่เป็นหญิงไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน สมควรให้โอกาสจำเลยที่ 2ที่ 3 ประพฤติตน เป็นพลเมืองดี ต่อไป โดย ให้รอการลงโทษ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อหาแจ้งความเท็จเนื่องจากกฎหมายห้ามฎีกา แต่รับวินิจฉัยข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จดังนั้น ข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13.