คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกและการฟ้องแบ่งทรัพย์สินร่วม สิทธิเจ้าของร่วมไม่อยู่ในอายุความมรดก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ให้ยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุอื่น โจทก์แต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า "ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในตอนต้น ว่า คดีไม่ขาดอายุความแล้ววินิจฉัยต่อมาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ์ขอแบ่งที่พิพาทเพราะล่วงเลยอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เป็นการขัดกันเองและขัดเหตุผล" เมื่อจำเลยได้ยื่นคำแก้ อุทธรณ์ในปัญหานี้แล้วปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย โจทก์จะอ้างว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกเอาปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความขึ้นวินิจฉัยทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้อุทธรณ์เป็นการมิชอบนั้นไม่ได้ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์และมารดาจำเลยร่วมกันรับมรดกและร่วมกันครอบครอง ต่อมาโจทก์สมรสแล้วย้ายไปอยู่กับสามีโดยมีมารดาจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงอยู่ในฐานะเดียวกับมารดาของตน คือครอบครองแทนโจทก์เช่นกัน เมื่อโจทก์ยังมิได้สละสิทธิรับมรดก โจทก์จึงยังมีสิทธิในที่พิพาทอันเป็นมรดกรายนี้ การที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่พิพาทจากจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิเจ้าของร่วมขอแบ่งทรัพย์พิพาท หาใช่การฟ้องคดีมรดกไม่ ดังนั้น จึงจะนำอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4454/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความทวงหนี้ ค่าจ้างคิดเป็นร้อยละของหนี้ ไม่ใช่การแบ่งทรัพย์สินจากคดี
สัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์ซึ่งเป็นทนายความให้ทวงหนี้จากสมาชิกจำเลยนอกศาลโดยคิดค่าจ้างร้อยละ 5 ของยอดหนี้ที่ทวงได้นั้นเป็นเพียงอาศัยเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้างทวงถามหนี้สินว่าจะเรียกร้องค่าจ้างคิดเป็นร้อยละเท่าใดของหนี้ที่ทวงได้เท่านั้นหาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่มูลพิพาทที่ลูกความจะพึงได้รับเมื่อชนะคดีไม่และมิใช่เป็นการจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความดำเนินคดี สัญญาดังกล่าวจึงตกลงกันได้เพราะไม่มีกฎหมายห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินที่จดทะเบียนมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์
การแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าย่อมมีผลบังคับผูกพัน ภริยาจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่สามียังมิได้จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของภริยาร่วมกับสามีอยู่หาได้ไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1406/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: การตกลงแบ่งทรัพย์สินในขณะจดทะเบียนหย่าย่อมมีผลผูกพัน
การแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าย่อมมีผลบังคับผูกพัน ภริยาจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่สามียังมิได้จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของภริยาร่วมกับสามีอยู่หาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1406/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส: ศาลฎีกาชี้ว่าหากจำเลยไม่โต้เถียงราคาที่ดินตามฟ้องโจทก์ ศาลต้องใช้ราคาตามที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและขอแบ่งสินสมรสหลายรายการระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงตกลงกันในการแบ่งทรัพย์สินบางรายการ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดให้แบ่งทรัพย์สินที่ตกลงกันได้นั้นไปตามที่คู่ความตกลงกันส่วนรายการที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนี้ ศาลไม่อาจคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ เพราะกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่จะทำให้ศาลมีอำนาจคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องได้
การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 9 ล้านบาทขอให้จำเลยแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธว่าที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่สินสมรส แต่ไม่ได้โต้เถียงในเรื่องราคาที่ดินและจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้อง จึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินแปลงพิพาทมีราคา 9 ล้านบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมจากทรัพย์สินที่ทำมาหากินร่วมกัน แม้การสมรสเป็นโมฆะ แต่สิทธิแบ่งทรัพย์สินยังคงมีอยู่หากพิสูจน์ได้ว่าทำมาหากินร่วมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างอยู่กินด้วยกันเกิดสินสมรสหลายอย่าง โจทก์ขอแบ่งจากจำเลยครึ่งหนึ่ง เท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าทรัพย์สินที่เรียกว่าสินสมรสนั้นโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลย แม้การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจะเป็นโมฆะ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยมีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการทำมาหากินร่วมกันแล้ว โจทก์จำเลยย่อมเป็นเจ้าของรวมโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งจากจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมหลังหย่า ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องร้องได้
ทรัพย์สินของสามีภริยาเมื่อยังไม่ได้แบ่งกันมีสภาพเป็นทรัพย์สินซึ่งสามีภริยาเป็นเจ้าของรวม และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้นอาจกระทำได้โดยแบ่งทรัพย์สินนั้นกันเองหรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน แม้จะไม่ทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกันก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อแบ่งทรัพย์สินตามที่ตกลงแบ่งกัน เมื่อหย่า แม้คำฟ้องจะไม่ได้บรรยายว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลย ก็ไม่เป็นฟ้องที่ขาดข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรสที่สมรสก่อนและหลังใช้ พ.ร.บ. บรรพ 5 ฉบับใหม่ การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ
เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ฉบับปี พ.ศ. 2477) แต่ตายจากกันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ฉบับปี พ.ศ. 2519) แล้ว การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ขณะสมรสมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
การที่จำเลยและผู้ร้องขัดทรัพย์จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์และผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยนั้นเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตการกระทำดังกล่าวจึงไม่มีผลทำให้เรือนพิพาทซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยตกเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์แต่ผู้เดียวตามที่สมยอมกันผู้ร้องขัดทรัพย์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยเรือนพิพาทจากการยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินจากการค้าโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สันนิษฐานส่วนเท่ากันหากมิอาจพิสูจน์สัดส่วนลงทุน
จำเลยกับบิดาค้าขายร่วมกันมาก่อน โจทก์มาได้จำเลยเป็นสามีไม่จดทะเบียน และลงทุนค้าขายร่วมด้วย ไม่ปรากฏว่าทั้ง 3 คนร่วมกันค้าจำนวนเงินคนละเท่าใด สันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันตาม มาตรา1357 แบ่งเงินทุนหมุนเวียนและทรัพย์สินของร้านค้าคนละ 1 ใน 3
of 25