พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งทรัพย์ให้ทายาทตามส่วน การวินิจฉัยอายุความของผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องกองมรดกของผู้ตายโดย นายส.นายอ.นายช.ผู้จัดการมรดกและบรรยายฟ้องว่า ศาลแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทวงถามให้แบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์แต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องบุคคลทั้งสามดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดก ศาลย่อมบังคับให้ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งจะต้องฟ้องเรียกเสียภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยระบุว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปีคดีจึงขาดอายุความนั้น ถือได้ว่าอายุความที่จำเลยอ้างถึงคืออายุความตา:มมาตรา 1755 มิใช่มาตรา 1733 วรรคสอง จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 เพียงอย่างเดียวที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1733วรรคสอง และพิพากษายกฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่:ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4291/2529) โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหลายเท่านั้น จำเลยไม่อาจจะยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ผู้ตายและ ล. เป็นสามีภริยากันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิมใช้บังคับ โดยไม่มีสินเดิมทั้งสองฝ่าย ผู้ตายจึงมีส่วนในสินสมรสสองในสามส่วนซึ่งตกเป็นมรดกแก่ทายาท โจทก์เป็นทายาทและมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่นโดยไม่แบ่งปันให้โจทก์ตามส่วน เป็นการแบ่งปันที่มิชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายใหม่ได้ จำเลยจะอ้างว่าได้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่น..................... ....................................................จนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะแบ่งปันให้โจทก์อีกหาได้ไม่ วิธีการดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้องกันอย่างไรเป็นเรื่องของการบังคับคดี ไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกสินสมรสหลังการเสียชีวิต โดยพิจารณาจากสัดส่วนสินสมรสและส่วนแบ่งทายาท
จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินที่ได้มาระหว่างที่จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายม้วน เมื่อนายม้วนตายต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งจำเลยได้ 1 ส่วน นายม้วนได้ 2 ส่วน ส่วนของนายม้วนตกแก่ทายาททั้งหมดคือจำเลยในฐานะภริยาและทายาทอื่นรวมทั้งหมด 8 คน
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนสิทธิบิดาและการได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง: กรณีครอบครองเพื่อแบ่งมรดก
ในคดีอาญาแม้ศาลชั้นต้นเพียงแต่ วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกจึงไม่มีความผิด แต่ ศาลชั้นต้นก็ได้ วินิจฉัยข้อเท็จจริงก่อนว่าโจทก์ได้ ทำหนังสือรับรองเอกสารหมาย ล.1ว่าบิดาโจทก์ได้ มอบสวนและที่นาพิพาทให้โจทก์เป็นผู้รับรักษาทำกินโดย ไม่ยึดถือเป็นของตน ผู้เดียว แล้วจึงอาศัยข้อความวินิจฉัยถึง เจตนาของจำเลย ถือ ได้ ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้ ทำหนังสือรับรองเอกสารหมาย ล.1 ไว้จริงหรือไม่ เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญา เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่ง ต่าง เป็นคู่ความเดียว กันในคดีอาญาเป็นคดีนี้อีก และมีประเด็นโต้เถียง อย่างเดียวกันว่าเอกสารหมาย ล.1 ในคดีอาญานั้นปลอมหรือไม่ ศาลฎีกาจึงต้องถือ ตาม ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้ว โจทก์จะโต้เถียงว่าเอกสารหมาย ล.1 เป็นเอกสารปลอมหาได้ไม่ โจทก์ทำสัญญาไว้กับบิดาโจทก์ว่า บิดาโจทก์ได้ มอบที่สวนและที่นา ซึ่ง เป็นที่พิพาทกับทรัพย์อื่นให้โจทก์เป็นผู้รับรักษาทำกินโดย จะไม่ยึดถือเป็นของตน แต่ ผู้เดียว และจะยอมแบ่งให้น้องทุกคน ดังนี้ ถือ ได้ ว่าเป็นการรับรองสิทธิของบิดาโจทก์ในทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ครอบครองที่พิพาท จึงเป็นการครอบครองแทนบิดาโจทก์เพื่อแบ่งให้น้อง ๆ ต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการยึดถือเพื่อตน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 แม้โจทก์จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนและการสิทธิในที่ดิน: การครอบครองเพื่อแบ่งมรดก มิใช่การครอบครองเพื่อตนเอง
ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นจำเลยในข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ในที่นาของโจทก์คดีนี้จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าโจทก์เป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนพระภิกษุ ท. บิดาโจทก์จำเลยตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย ล.1ที่โจทก์ทำไว้กับพระภิกษุ ท. ศาลในคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.1 ไว้จริง จำเลยทั้งสองเข้าไปทำนาในที่ดินพิพาทโดยเชื่อว่ามีสิทธิเข้าไปทำได้โดยสุจริต จึงไม่มีเจตนาบุกรุก พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นคดีนี้หาว่าบุกรุกที่ดินพิพาทในคดีอาญาและที่ดินแปลงอื่นจนเต็มพื้นที่ การบุกรุกตามฟ้องในคดีอาญากับคดีนี้เป็นการบุกรุกในช่วงเวลาเดียวกัน จึงเป็นการบุกรุกในคราวเดียวกัน การฟ้องคดีนี้ส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทบริเวณเดียวกันกับในคดีอาญาจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีอาญาว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนพระภิกษุ ท. โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการโดยไม่ต้องยินยอมทายาท แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและแบ่งมรดกให้ถูกต้อง
ผู้จัดการมรดกอาจกระทำการตามหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจัดการแบ่งปันมรดกไม่ถูกต้อง เมื่อปรากฏจากบัญชีเครือญาติว่าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม9 คน แต่ผู้จัดการมรดกแถลงรับต่อศาลว่าแบ่งมรดกให้ทายาทเพียง8 คน โดยไม่แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทอีกคนหนึ่งศาลต้องไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกถูกต้องและเป็นการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกติดจำนอง: ทายาทรับภาระหนี้จำนองตามส่วนรับมรดก, ไม่สามารถบังคับให้ทายาทลูกหนี้ไถ่ถอนได้
เมื่อที่ดินแปลงหนึ่งของทรัพย์มรดกติดจำนองประกันหนี้ของ น. ทายาทคนหนึ่งอยู่ ทายาทผู้รับมรดกจึงต้องรับภาระในหนี้จำนองโดยรับโอนที่ดินนั้นมาโดยติดจำนองถ้ามีการบังคับจำนองโดย น. ไม่ชำระหนี้แล้ว ทายาทผู้รับมรดกคงรับผิดแต่เฉพาะทรัพย์มรดกที่ตนรับโอนมา หรือหากตนต้องชำระหนี้จำนองไปเท่าใดก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจาก น. ได้ตามสิทธิที่ได้รับโอนมาจากเจ้ามรดก ทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ น. ทำการไถ่ถอนจำนองหรือยกข้ออ้างในการที่ น. ไม่ทำการไถ่ถอนจำนองมาเป็นเหตุขัดข้องมิให้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยมีภาระจำนอง ทายาทต้องรับภาระตามสิทธิและหน้าที่ของเจ้ามรดก
เมื่อที่ดินแปลงหนึ่งของทรัพย์มรดกติดจำนองประกันหนี้ของน. ทายาทคนหนึ่งอยู่ ทายาทผู้รับมรดกจึงต้องรับภาระในหนี้จำนองโดยรับโอนที่ดินนั้นมาโดยติดจำนอง ถ้ามีการบังคับจำนองโดย น.ไม่ชำระหนี้แล้วทายาทผู้รับมรดกคงรับผิดแต่เฉพาะทรัพย์มรดกที่ตนรับโอนมา หรือหากตนต้องชำระหนี้จำนองไปเท่าใดก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจาก น. ได้ตามสิทธิที่ได้รับโอนมาจากเจ้ามรดกทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ น. ทำการไถ่ถอนจำนองหรือยกข้ออ้างในการที่ น. ไม่ทำการไถ่ถอนจำนองมาเป็นเหตุขัดข้องมิให้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกตามพินัยกรรมและโดยธรรม คำพิพากษาแก้ให้แบ่งมรดกตามสัดส่วนหุ้นและสิทธิทายาท
โจทก์ทั้งห้าในฐานะทายาทฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและปกครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น ขอแบ่งทรัพย์มรดกแม้จะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองก็จะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ที่ 2 เคยฟ้องขอแบ่งส่วนทำบุญทำทานตามที่เจ้ามรดกสั่งไว้ในพินัยกรรม โจทก์ที่ 3 เคยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ที่ 4เคยร้องต่อ ศาลขอให้เพิกถอนจำเลยทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดกโจทก์ที่ 5 ก็เคยฟ้องจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกเคยฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 5 ออกจากที่ดินกองมรดก แต่ไม่ปรากฏว่าได้พิพาทกันในประเด็นว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะหรือไม่ดังนั้น ที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ พินัยกรรมที่กำหนดยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้มีชื่อถือหุ้นในบริษัทโดยให้แต่ละคนมีส่วนเฉลี่ยตามจำนวนหุ้น ซึ่งเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวด้วยนั้น เป็นพินัยกรรมที่กำหนดตัวผู้รับพินัยกรรมโดยทราบตัวได้แน่นอนแล้วตามรายชื่อผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีอยู่ในขณะผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย พินัยกรรมส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 มีผลใช้บังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ส่วนที่ปรากฏว่าเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทด้วย จึงเท่ากับเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ตนเองนั้น ย่อมเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1646 ไม่มีผลบังคับทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับยอมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม พินัยกรรมซึ่งมีข้อความให้ผู้จัดการมรดกและผู้ถือหุ้นซึ่งได้รับทรัพย์มรดกมาตามพินัยกรรมโอนทรัพย์มรดกให้เป็นการเพิ่มทุนของบริษัทตามอัตราส่วนของหุ้นที่แต่ละคนมีอยู่นั้น เป็นเงื่อนไขที่ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707จึงไม่มีผล ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลย ผู้รับพินัยกรรมไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น พินัยกรรมที่กำหนดให้โอนหุ้นในส่วนของเจ้ามรดกใส่ชื่อผู้จัดการมรดกร่วมกัน เพื่อรับเงินปันผลจากบริษัท เพื่อทำบุญทำทานและเกื้อกูลบุตรหลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นในบริษัทนั้น ไม่ใช่เรื่องตั้งผู้ปกครองทรัพย์และไม่ใช่เรื่องก่อตั้งทรัสต์ เพราะผู้รับพินัยกรรมไม่ใช่ผู้เยาว์หรือบุคคลไร้ความสามารถ และไม่มีการยกทรัพย์ให้แก่ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใดแต่เป็นข้อกำหนดที่ทรัพย์สินซึ่งยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจจะทราบแน่นอนได้และเป็นการให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้กำหนดทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรมมากน้อยเท่าใดตามแต่ใจของผู้จัดการมรดกข้อกำหนดนี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกขายทรัพย์สินเพื่อแบ่งมรดก ไม่ถือเป็นโกงเจ้าหนี้ แม้ยังไม่ถึงที่สุด
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกให้โจทก์ร่วม 1 ใน 6 ส่วน คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยขายที่ดินมรดกไปเพราะการรังวัดแบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาทไม่สามารถแบ่งกันได้ โจทก์ร่วมขอแบ่งเงินที่ได้จากการขาย จำเลยไม่ให้อ้างว่ารอให้คดีถึงที่สุดก่อน จำเลยนำเงินจากการขายที่ดินไปรับจำนองที่ดินอื่นเพื่อหารายได้ให้แก่กองมรดก ทั้งที่ดินที่จำนองมีราคาสูงกว่าจำนวนเงินที่จำนอง จำเลยกระทำไปในนามของผู้จัดการมรดกโดยความเห็นชอบของทายาทอื่น และไม่ปรากฏว่ากระทำไปโดยทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกขายทรัพย์สินเพื่อแบ่งมรดก ไม่ถือเป็นโกงเจ้าหนี้ หากทำโดยสุจริตและได้รับความเห็นชอบจากทายาทอื่น
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกให้โจทก์ร่วม 1 ใน 6 ส่วน คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยขายที่ดินมรดกไปเพราะการรังวัดแบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาทไม่สามารถแบ่งกันได้ โจทก์ร่วมขอแบ่งเงินที่ได้จากการขาย จำเลยไม่ให้อ้างว่ารอให้คดีถึงที่สุดก่อนจำเลยนำเงินจากการขายที่ดินไปรับจำนองที่ดินอื่นเพื่อหารายได้ให้แก่กองมรดก ทั้งที่ดินที่จำนองมีราคาสูงกว่าจำนวนเงินที่จำนอง จำเลยกระทำไปในนามของผู้จัดการมรดกโดยความเห็นชอบของทายาทอื่น และไม่ปรากฏว่ากระทำไปโดยทุจริตการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350.