พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้สัญญากู้ และผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่ง ขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าเสียหายเป็นหนี้เงินกู้: สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญา แล้วถูกศาลชั้นต้นสั่งขายทอดตลาดไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้ให้ไว้โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็น ผู้ทำสัญญาค้ำประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้กู้ และการผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิรุธสัญญากู้และการแปลงหนี้ รวมดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นต้นเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยสัญญากู้เป็นโมฆะ
จำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ โจทก์จำเลยจึงตกลงแปลงหนี้ตามสัญญากู้นั้น ซึ่งรวมดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้นมาเป็นต้นเงินกู้ด้วย ดังนี้ ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้น จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113มาตรา 654 และมาตรา 655 จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 5,080 บาท แต่หนี้ที่จำเลยชำระเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่คิดโดยวิธีทบต้น เพราะหลังจากชำระเงินจำนวนนั้นให้โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าต้นเงินกู้ได้ลดลงแต่ประการใดดังนั้น จำนวนเงินที่จำเลยชำระจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามอำเภอใจจะนำเงินจำนวนนั้นมาหักต้นเงินกู้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ไม่ได้ทั้งจะนำมาหักหนี้ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดก็ไม่ได้ด้วย เพราะจำเลยมิได้ชำระดอกเบี้ยจำนวนนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้ยืมเป็นสัญญาขายฝาก ทำให้หนี้เดิมระงับ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลง ทำสัญญาขายฝากที่ดินของจำเลยที่ 1ให้ไว้แก่โจทก์โดย เอาจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตาม สัญญากู้ยืมมารวมเป็นราคาขายฝากและได้ ทำสัญญาขายฝากเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายมี ผลใช้บังคับกันได้ แล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่ง เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 มีผลทำให้หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นหน้าที่ตามสัญญาจ้าง: ความรับผิดแม้มีการแปลงหนี้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ โดยขายสินค้าเงินเชื่อให้แก่ลูกค้าของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างเกินวงเงินที่โจทก์อนุญาต และเกินวงเงินที่ธนาคารมีหนังสือค้ำประกัน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ต่อมาจะมีการแปลงหนี้จากหนี้ที่ลูกค้าซื้อสินค้าเชื่อมาเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเดิมแทน ทำให้หนี้ค่าซื้อสินค้าระงับไปก็ตาม ก็หาทำให้มูลหนี้ที่จำเลยที่ 1จงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหมดสิ้นไปไม่ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่จากการซื้อขายหุ้น: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดหากไม่มีการรับโอนหนี้โดยชัดเจน
บันทึกที่บริษัท ค. ทำกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ค้ำประกันบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เป็นเพียงข้อตกลงที่จะซื้อขายหุ้นกันไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ค. ตกลงรับโอนหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือรับจะชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และปรากฏจากรายงานการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะมีการโอนขายหุ้นกันว่า จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนเป็นอย่างมากบริษัท ค. เพียงแต่จะให้ความร่วมมือทางการเงินเท่านั้น ทั้งเช็คที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างว่าบริษัท ค. ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ติดต่อกันทุกเดือน ก็เป็นเช็คลงวันที่ก่อนที่จะมีการตกลงโอนหุ้นกัน จึงไม่ใช่เช็คที่บริษัท ค. ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1จากฝ่ายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาเป็นกลุ่มของบริษัท ค. ก็เป็นการดำเนินการของจำเลยที่ 1 สิทธิหน้าที่ตลอดจนความผูกพันของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อบุคคลภายนอกรวมทั้งโจทก์มีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่ต่อไปตามเดิมหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อบริษัท ค. มิได้ยอมเข้ามาเป็นลูกหนี้รับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่ามีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 350 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คของผู้ถือและการไม่ถือเป็นการแปลงหนี้
จำเลยที่ 1 ซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วน ที่เหลือชำระด้วยเช็คผู้ถือซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ค่าหมูที่จำเลยที่ 2 ซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ลงชื่อสลักหลังเช็คดังกล่าวด้วย แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 2 จึงออกเช็คผู้ถืออีก 2 ฉบับให้โจทก์แทนเช็คฉบับเดิม โดยจำเลยที่ 1 มิได้ลงชื่อสลักหลังธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 เอาเช็คของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหนี้จึงไม่ระงับไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 แม้จำเลยที่ 2 จะออกเช็คใหม่ 2 ฉบับพร้อมทั้งให้ดอกเบี้ยด้วยและเอาเช็คเก่าคืนไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ลงชื่อสลักหลังก็ตามก็ถือไม่ได้ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับอีก จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญาซื้อขายส่วนจำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มวงเงินจำนองไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ สัญญาค้ำประกันยังคงมีผลบังคับใช้
ข้อตกลงเพิ่มวงเงินจำนอง มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะมีผลทำให้หนี้เดิม ระงับไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
คำฟ้องระบุจำนวนหนี้ที่ขอให้จำเลยร่วมรับผิดในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจะต้องรับผิด ก็รับผิดเพียงวงเงินที่ค้ำประกันและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น มิได้ปฏิเสธยอดหนี้ ดังนั้นปัญหาว่าจำเลยอื่นได้เบิกเงินไปจากโจทก์ และนำเงินเข้าฝากในบัญชีเพื่อลดหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อใด หนี้ถึงวันฟ้องเป็นต้นเงินเท่าใด และดอกเบี้ยเท่าใดนั้น โจทก์นำมาสืบในชั้นพิจารณาได้โดยไม่จำเป็นต้องแนบบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาท้ายคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำฟ้องระบุจำนวนหนี้ที่ขอให้จำเลยร่วมรับผิดในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจะต้องรับผิด ก็รับผิดเพียงวงเงินที่ค้ำประกันและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น มิได้ปฏิเสธยอดหนี้ ดังนั้นปัญหาว่าจำเลยอื่นได้เบิกเงินไปจากโจทก์ และนำเงินเข้าฝากในบัญชีเพื่อลดหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อใด หนี้ถึงวันฟ้องเป็นต้นเงินเท่าใด และดอกเบี้ยเท่าใดนั้น โจทก์นำมาสืบในชั้นพิจารณาได้โดยไม่จำเป็นต้องแนบบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาท้ายคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกัน, การเพิ่มวงเงินจำนองไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่, หนี้ค้ำประกันยังคงมีผลบังคับใช้
ข้อตกลงเพิ่มวงเงินจำนอง มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะมีผลทำให้หนี้เดิมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 คำฟ้องระบุจำนวนหนี้ที่ขอให้จำเลยร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจะต้องรับผิด ก็รับผิดเพียงวงเงินที่ค้ำประกันและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น มิได้ปฏิเสธยอดหนี้ ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยอื่นได้เบิกเงินไปจากโจทก์ และนำเงินเข้าฝากในบัญชีเพื่อลดหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อใด หนี้ถึงวันฟ้องเป็นต้นเงินเท่าใด และดอกเบี้ยเท่าใดนั้น โจทก์นำมาสืบในชั้นพิจารณาได้โดยไม่จำเป็นต้องแนบบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาท้ายคำฟ้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม