พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้, องค์ประกอบความผิด, และการยกฟ้องกระทบสิทธิโจทก์ร่วม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2, 3 นั้น จำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้น โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้ การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2, 3 นั้น จำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้น โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้ การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอัยการฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้, องค์ประกอบความผิด ม.350, การเป็นโจทก์ร่วม และข้อจำกัดการต่อสู้คดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2,3 นั้นจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วยฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้นโจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2,3 นั้นจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วยฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้นโจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์ โอนทรัพย์สินก่อนชำระหนี้ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องไปทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง และเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 8,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 สิทธิเรียกร้องที่จะให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินรวม 15 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายยังมิอาจบังคับกันได้ โจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามความหมายในบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 350 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โอนที่ดิน 3 แปลงใน 15 แปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9076/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสิทธิฟ้อง และข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา คดีโกงเจ้าหนี้
แม้ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น ว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า การกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลยคดีนี้เป็นกรรมเดียวกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้นแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) จึงเป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินแก่โจทก์เป็นเงิน 3,080,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ได้ส่งคำบังคับให้จำเลยทราบตามกฎหมายแล้ว ระหว่างดำเนินการสืบหาทรัพย์เพื่อจะบังคับคดี โจทก์ทราบว่าเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จำเลยนำที่ดินโฉนดเลขที่ 27896 ไปขายให้แก่บุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนเองหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้สิทธิหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่น ซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใด อันไม่เป็นความจริงก็ดี โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้แล้ว ซึ่งครบองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินแก่โจทก์เป็นเงิน 3,080,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ได้ส่งคำบังคับให้จำเลยทราบตามกฎหมายแล้ว ระหว่างดำเนินการสืบหาทรัพย์เพื่อจะบังคับคดี โจทก์ทราบว่าเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จำเลยนำที่ดินโฉนดเลขที่ 27896 ไปขายให้แก่บุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนเองหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้สิทธิหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่น ซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใด อันไม่เป็นความจริงก็ดี โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้แล้ว ซึ่งครบองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4196/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ และการยักยอกทรัพย์ ศาลฎีกาตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวไม่เข้าข่ายความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนไปให้ผู้อื่น อันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 นั้น หมายถึงทรัพย์ใด ๆ ของลูกหนี้ที่มีอยู่ได้มีการโอนไป ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับองค์การคลังสินค้า 2 ฉบับ ฉบับแรกว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 แปรสภาพหัวมันสำปะหลังสดจากเกษตรกรที่นำมาจำนำแก่องค์การคลังสินค้าเป็นแป้งมันสำปะหลัง ฉบับที่สองเป็นสัญญาเก็บแป้งมันสำปะหลังที่คลังสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยองค์การคลังสินค้าเป็นผู้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นสัญญาฝากทรัพย์ ดังนั้นแป้งมันสำปะหลังที่จำเลยที่ 1 แปรสภาพแล้วเก็บไว้ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์การคลังสินค้า หาใช่เป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ไม่ ทั้งองค์การคลังสินค้าได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้อหายักยอก แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะร่วมกันนำเอาแป้งมันสำปะหลังที่เก็บไว้ที่คลังสินค้าของจำเลยที่ 1 ไปขาย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ทั้งแป้งมันสำปะหลังที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันนำไปขายก็มิใช่ทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัด การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่ใช่การทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือสูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัด เพื่อจะมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14823/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา – โกงเจ้าหนี้ – ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 – ห้ามฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ที่โจทก์และทายาทของ ย. เป็นเจ้าของรวมอยู่โดยขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์มิฉะนั้นแล้วจำเลยกระทำผิดเพียงครั้งเดียว โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยได้หลายครั้งโดยไม่รู้จักจบสิ้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินชำระหนี้แทนเจ้าหนี้เดิม ไม่ถือเป็นโกงเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 47526 จำเลยที่ 1 เพียงมีชื่อในโฉนดแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อธนาคาร ก. มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินดังกล่าว ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 มีการติดต่อระหว่างจำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้ธนาคารดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์และมีสิทธิที่จะยึดที่ดินดังกล่าวมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แต่ที่ดินติดจำนองอยู่กับธนาคาร ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ก็ต่อเมื่อธนาคารดังกล่าวในฐานะเจ้าหนี้จำนองได้รับชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ต้องเข้าชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 และขอรับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยปลอดจำนองจากธนาคารเป็นการตอบแทน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นกระบวนการในการชำระหนี้ที่โจทก์ต้องรับผิดเพราะเป็นการโอนที่ดินของโจทก์ชำระหนี้ของโจทก์เอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนหุ้นก่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ฟ้องต่อศาลแพ่งว่าจำเลยกับพวกครอบครองเงินจากการขายที่ดินของกองมรดกที่จะต้องนำมาแบ่งแก่ทายาท แต่จำเลยเบียดบังไว้ไม่ยอมส่งมอบแก่กองมรดก ขอให้จำเลยกับพวกคืนเงินดังกล่าว ศาลแพ่งวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นลูกหนี้จริงและให้จำเลยชำระเงิน 4,076,230.65 บาท พร้อมดอกเบี้ย คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ทั้งสองและจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้จริง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ธ. โอนขายหุ้นของจำเลยในบริษัทดังกล่าวแก่ ป. ก่อนที่ศาลแพ่งจะมีคำพิพากษาเพียง 1 เดือน จึงเป็นพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนซึ่งใช้สิทธิทางศาลแล้วได้รับชำระหนี้ อันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ต้องมีการโอนทรัพย์ของลูกหนี้ไปให้ผู้อื่น
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ โดยผู้กระทำต้องรู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และย้ายไปเสียซึ่งทรัพย์ ซ่อนเร้นทรัพย์ หรือโอนทรัพย์ของลูกหนี้ไปให้แก่ผู้อื่น เพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนชื่อที่ดินของ บ. จาก บ. เป็นผู้รับโอนประเภทมรดกใส่ชื่อจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินซึ่งเป็นมรดกของ บ. ที่ตกทอดแก่จำเลยทั้งสองในฐานะที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับมรดกของ บ. เท่านั้น ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกของ บ. ยังคงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกดังกล่าว เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินของ บ. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ไปให้แก่ผู้อื่น จึงเป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยทายาทโดยธรรม ไม่ถือเป็นการโกงเจ้าหนี้ หากไม่มีเจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้
การโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดอันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 นั้น ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโอนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 49394 ซึ่งผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาเป็นของตนเองนั้น ก็เป็นเพียงการรับโอนทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายจะสละมรดกในที่ดินโฉนดดังกล่าว แต่สิทธิของเจ้าหนี้ในการว่ากล่าวเอาแก่ทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทยังคงมีอยู่ตามเดิม มิได้ถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้