พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเลยหน้าที่ตามสัญญาจ้างว่าความ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
เมื่อจำเลยรับจ้างเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์และโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยเป็นทนายความโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ แม้การที่จะซักค้านพยานโจทก์ปากใดอย่างไรหรือไม่ หรือสมควรนำพยานปากใดเข้าสืบหรือไม่ก็อยู่ในอำนาจหรือดุลพินิจของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายไปเลื่อนคดีหลังจากที่มีการสืบ อ. พยานโจทก์เสร็จแล้วจนเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ทำให้ไม่มีโอกาสซักค้าน อ. พยานโจทก์ก็ดี การที่จำเลยไม่นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้แสดงเจตนาว่าจะเข้าเบิกความเป็นพยานแล้วก็ดี การที่จำเลยไม่แจ้งวันนัดเดินเผชิญสืบให้โจทก์ทราบรวมทั้งมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบและไม่ใส่ใจที่จะไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังแทนก็ดี การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์โดยมิได้ปรึกษาโจทก์ หรือแจ้งให้โจทก์ทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรอุทธรณ์ก็ดี ล้วนแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่ปราศจากเหตุผล มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยละเลยต่อหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติและเป็นการผิดสัญญาจ้างว่าความ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ค่าทนายความที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์กับค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ต่างเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
ค่าทนายความที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์กับค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ต่างเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยวางทรัพย์ก่อนฟ้อง โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
จำเลยได้นำเฉพาะต้นเงินจำนวน 60,000 บาทที่จะต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปวางต่อ สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2529 แต่โจทก์ ได้ปฏิเสธการรับเงินดังกล่าวตลอดมาเพราะเห็นว่า เป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีของเงิน 60,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2529อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยวางทรัพย์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ด้วยก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว มิได้กล่าวอ้างถึงการวางเงินของจำเลยต่อสำนักงานวางทรัพย์เลย อีกทั้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้ถึงที่สุดไปแล้วโดยจำเลยมิได้ฎีกา ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อ จำเลยยังมีหน้าที่ต้องชำระในส่วนดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อยู่อีก โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์ของจำเลย เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและเพิกเฉยต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกจำเลยมาให้การในวันเดียวกันกับวันนัดสืบพยานโจทก์โดยกำหนดให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน หากไม่มีผู้รับหมายเรียกโดยชอบให้ปิดหมาย โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลแล้ว เมื่อนับตั้งแต่วันฟังคำสั่งศาลชั้นต้น จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ เป็นเวลานานถึง 48 วัน แสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา174 (2)
โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี โจทก์จึงมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทบทวนคำสั่งจำหน่ายคดี แต่คำร้องของโจทก์ดังกล่าวก็หาได้แสดงเหตุอันสมควรให้เห็นว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยอย่างใดที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอ้างแต่เพียงความพลั้งเผลอหรือหลงลืมของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความจึงชอบแล้ว
โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี โจทก์จึงมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทบทวนคำสั่งจำหน่ายคดี แต่คำร้องของโจทก์ดังกล่าวก็หาได้แสดงเหตุอันสมควรให้เห็นว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยอย่างใดที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอ้างแต่เพียงความพลั้งเผลอหรือหลงลืมของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ แม้ถอนต่อพนักงานสอบสวน/อัยการ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหาย เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิดย่อมเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น
เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป เมื่อโจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีก เพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นยังคงดำเนินคดีต่อไปจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างและให้จำหน่ายคดี
ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น
เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป เมื่อโจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีก เพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นยังคงดำเนินคดีต่อไปจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างและให้จำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: โจทก์-จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 19 แล้วไม่อ้างสิทธิอีก
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามข้อตกลงในสัญญาจำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและมีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตาม สัญญาจ้างเหมาข้อ 19 ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ตรวจรับงาน และไม่ชำระเงินค่าจ้าง ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ข้อ 19 ก่อนเช่นกันและเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 สละผลบังคับ ตามสัญญาข้อ 19 โดยปริยายแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำ ข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ปฏิบัติอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อกล่าวหาบางส่วนของจำเลย ถือเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้อง
ฟ้องโจทก์อ้างเหตุแห่งความเสียหายไว้ 2 ประการ คือ ค่ารักษาพยาบาลประการหนึ่ง กับค่าเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บจนไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้อีกประการหนึ่ง แต่โจทก์รวมยอดค่าเสียหายทั้งสองจำนวนเข้าด้วยกันเป็นเงิน 100,000 บาท และจำเลยให้การปฏิเสธเฉพาะค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลนั้น จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธกรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ต้องสิ้นเงินในการรักษาพยาบาลจริง ศาลชั้นต้นจึงกำหนดจำนวนเงินที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลได้ มิใช่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8125/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งสำเนาฎีกา: ศาลต้องส่งให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่ต้องส่ง
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นต้องมีหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยโดยตรงจะให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหาชอบไม่ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 ประกอบมาตรา216 และจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสองประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 มาใช้บังคับให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาฎีกาหาได้ไม่เพราะได้มีบทบัญญัติเรื่องการส่งสำเนาฎีกาไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้งแล้ว เมื่อมีคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลฎีกาผูกพัน โจทก์ไม่อาจอ้างเหตุใหม่เมื่อประเด็นเคยถูกวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีโจทก์ที่ 1 คดีนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วม ขอให้บังคับจำเลยคืนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงิน และโฉนดที่ดินรวม 7 ฉบับที่โจทก์ที่ 2 มอบให้จำเลยไว้เป็นการประกันหนี้เงินกู้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วว่า โจทก์ทั้งสองพิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจเรียกเอาโฉนดที่ดินที่วางไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมจากจำเลยได้จึงพิพากษายกคำขอที่ให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ส่วนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงินศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่าจำเลยเอาสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับของโจทก์ที่ 2 ไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับดังกล่าวเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเอกสารดังกล่าวไว้จึงต้องคืนให้โจทก์ที่ 2 คดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เพื่อให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ดังกล่าว และสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันนั้นอีกด้วยความประสงค์เช่นเดิม เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันแม้ในคดีก่อนโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว โดยมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ นั้นแก่จำเลยเป็นประกัน หนี้เงินกู้ยืมและโจทก์ที่ 2 ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว เป็นเช็คแก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยมาขอสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับจากพนักงานของโจทก์ที่ 2 โดยอ้างว่าจะคืนให้แล้วไม่คืน ส่วนในคดีนี้โจทก์ทั้งสองกลับอ้างว่า โจทก์ที่ 2 ขอสินเชื่อจากจำเลยโดยวิธีนำเช็คของโจทก์ที่ 1ไปขายลดให้แก่จำเลย และโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมอบให้จำเลยไว้โดยไม่มีการมอบเงินกันจริงพร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ให้จำเลยไว้เป็นประกันหนี้ขายลดเช็คดังกล่าวและอ้างว่าสัญญาขายลดเช็คดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีหนี้ติดค้างต่อจำเลยก็ตามแต่โจทก์ทั้งสองก็คงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์ทั้งสอง มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับและสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยยึดถือไว้ให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปในคดีก่อนแล้วมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้อีก ดังนั้น ฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว ไม่สามารถนำมาใช้บังคับกับเหตุการณ์ใหม่ได้ โจทก์ต้องฟ้องคดีใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยออกไปจากที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการบังคับคดีเสร็จสิ้นตรงตามคำพิพากษาแล้ว การที่จำเลยเข้ามาอยู่ในที่พิพาทอีกหลังจากนั้นเป็นเวลาเกือบ 2 ปี จึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์จะอาศัยคำพิพากษาในคดีนี้ที่บังคับคดีไปเสร็จสิ้นแล้วมาบังคับเอาแก่การกระทำของจำเลยในครั้งนี้อีกไม่ได้ ชอบที่โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: สิทธิของโจทก์ในการฟ้องบังคับจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง พ.กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือ พ.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ พ. ในขณะเดียวกัน พ.ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก พ. แม้ว่า พ.จะสามารถโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ให้แก่บุคคลอื่นหรือโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 306 วรรคแรกได้ก็ตามแต่ พ.ก็ไม่อาจโอนหนี้ให้บุคคลอื่นหรือโจทก์มาเป็นลูกหนี้แทนโดยเพียงแต่ทำเป็นหนังสือสัญญาระหว่าง พ.กับบุคคลอื่นหรือโจทก์ เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 350 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ได้ทำสัญญาใหม่กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้