คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมต้องแจ้งความประสงค์ต่อหน้าพยานโดยผู้ทำพินัยกรรมต้องมีสติสัมปชัญญะ พินัยกรรมที่ทำโดยไม่มีสติสมบูรณ์หรือโดยฉ้อฉลเป็นโมฆะ
การทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658(1) บัญญัติว่าผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน แต่ขณะปลัดอำเภอ ค. สอบถามความประสงค์ของผู้ตายในการทำพินัยกรรมนั้น ผู้ตายนอนป่วยอยู่บนรถพยาบาลไม่สามารถลงจากรถได้ และ พ. ซึ่งเป็นผู้พิมพ์ข้อความในพินัยกรรมและลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม ไม่ได้เห็นตัวผู้ทำพินัยกรรมปลัดอำเภอ ค. กับผู้ร้องเป็นคนบอกให้ พ. พิมพ์พินัยกรรมจากนั้นปลัดอำเภอ ค. กับผู้ร้องได้นำพินัยกรรมไปอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมฟังแล้วนำกลับมาให้ พ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานจึงฟังได้ว่าผู้ตายมิได้แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน ซึ่งการอยู่ต่อหน้าพยานนั้นจะต้องอยู่ต่อหน้าโดยพยานได้เห็นได้ยินผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความมิใช่เพียงแต่เห็นมีการทำพินัยกรรมและข้อความในพินัยกรรมเท่านั้น ดังนั้นพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7970/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแฟ็กเตอริงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม ไม่เป็นโมฆะ
สัญญาแฟ็กเตอริงระหว่างโจทก์กับจำเลยมีสาระสำคัญว่า จำเลยตกลงขายลดหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ให้โจทก์ โดยโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดให้โจทก์รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้จำเลยไปก่อน เมื่อหนี้ที่ได้รับโอนถึงกำหนดชำระ โจทก์จะดำเนินการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ของจำเลยแทน เมื่อเรียกเก็บเงินได้ หักค่าใช้จ่ายแล้วมีเงินเหลือจะคืนให้จำเลย หากหนี้รายใดเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์พร้อมเบี้ยปรับ ส่วนลดและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ฯลฯ สัญญาดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในการดำเนินการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ของจำเลยให้โจทก์ดำเนินการแทน เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งคู่กรณีสามารถตกลงทำสัญญากันได้ ไม่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยสัญญาไม่โมฆะ คดีใหม่ยกเหตุเดิมจึงต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีก่อน ป. ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาที่ดินที่ค้างชำระโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินร่วมสัญญาร่วมลงทุนกับ ป. โดยมีข้อสัญญาเอาเปรียบ ป. สัญญาดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงขอให้บังคับจำเลยชำระราคาที่ดินที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ ป. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ป. โจทก์ในคดีก่อนถือว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับคดีก่อน การที่โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่า ป. และจำเลยแสดงเจตนาลวงทำสัญญาการซื้อขายที่ดินร่วมสัญญาร่วมลงทุนโดยไม่มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามสัญญาจึงเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนสัญญาการซื้อขายที่ดินร่วมสัญญาร่วมลงทุน แม้จะเป็นการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงที่ ป. ฟ้องคดีก่อน แต่ศาลก็ต้องวินิจฉัยคดีนี้อีกว่า สัญญาการซื้อขายร่วมสัญญาร่วมลงทุนระหว่าง ป. กับจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่ ดังนั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6919/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความที่มีลักษณะซื้อขายความเป็นโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงให้เงินรายละ 400,000 บาทและจำเลยที่ 4 ตกลงให้เงินจำนวน 300,000 บาท แก่โจทก์เป็นค่าทนายความนั้นหมายถึงกรณีที่ฝ่ายจำเลยชนะคดีมรดกแล้วไม่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นที่ดิน แต่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นเงินที่ได้มาจากการขายที่ดินพิพาทนั่นเอง ซึ่งจำเลยทั้งสี่จะต้องแบ่งให้โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ในบันทึกข้อตกลง บันทึกข้อตกลงจึงถือได้ว่าเป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความเมื่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกความชนะคดีเท่านั้นหากจำเลยทั้งสี่ตกเป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์ย่อมไม่ได้รับส่วนแบ่งตามข้อตกลง อันมีลักษณะเข้าทำนองซื้อขายความกัน
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหลายประการผู้ที่ได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการจรรโลงความยุติธรรมในสังคม ทนายความจึงไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตนในลักษณะที่ตนเองเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในผลคดีโดยตรงในทำนองซื้อขายความกันย่อมไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติทนายความฯ จะมิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ก็มีผลเพียงว่าการทำสัญญาระหว่างทนายความกับลูกความทำนองนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลให้ลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกลับมีความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6536/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้สัญญาซื้อขายจะตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยได้กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องและให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวโจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เพียงประการเดียว อันจะเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1) แต่โจทก์ยังขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อโจทก์อีกทั้งห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกด้วย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องตามมาตรา 55 ประกอบกับมาตรา 172 วรรคหนึ่ง
แม้หลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทจะระบุชื่อว่า "หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ" ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าหนังสือดังกล่าวได้ระบุข้อความอันเป็นข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กับจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันหรือไม่ เมื่อใด ประกอบกับข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทจำนวน 60,000 บาท ให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญานั้นเอง และจำเลยก็ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันทำหนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นต้นไป เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งฝ่ายโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด มิใช่เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย
แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้นเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว มิใช่เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลย โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6449/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก การโอนที่ดินโดยไม่คำนวณราคาตลาดเป็นโมฆะ
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ทายาทย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์มรดกและกระทำ นิติกรรมใด ๆ กับบุคคลภายนอก ทั้งนี้จนกว่าจะแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จ ผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่รับชำระหนี้ แทนผู้ตายได้ จำเลยเพิ่งโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่อ้างว่าโอนเพื่อชำระหนี้ตามฟ้องภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็น ผู้จัดการมรดกแล้ว แม้จำเลยร่วมจะเป็นทายาทของผู้ตายก็ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้แทนผู้ตาย
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นข้อตกลงการโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระเงินที่จำเลยทำกับจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าได้มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินใน วันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการตกลงชำระหนี้เงินกู้ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นแทน จำนวนเงินที่กู้ยืมโดยไม่มีการคำนวณหนี้เงินที่ค้างชำระเท่ากับราคาท้องตลาดของที่ดิน จึงเป็นข้อตกลงที่ขัดกับ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคท้าย ดังนั้นการจดทะเบียนโอน ขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยร่วมและการทำข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับลง จำเลยต้องชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6449/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก: การโอนที่ดินโดยไม่คำนวณราคาตลาดเป็นโมฆะ
ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. เมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2540 นับแต่วันดังกล่าวทายาทย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์มรดกและกระทำนิติกรรมใด ๆ กับบุคคลภายนอกโจทก์เท่านั้นที่มีอำนาจรับชำระหนี้เงินกู้ยืมแทน ป. จำเลยโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยร่วมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540แม้จำเลยร่วมจะเป็นทายาทของ ป. ก็ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้แทน ป. ประกอบกับการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินในวันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคท้ายจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินกฎหมายและการหักกลบลบหนี้: จำเลยไม่สามารถนำดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วซึ่งเป็นโมฆะมาหักกลบลบหนี้ได้ และดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดชอบแล้ว
การที่จำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราตามกฎหมายให้แก่โจทก์ไปแล้วเท่ากับเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจำนวนที่ชำระไปแล้วคืนไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำไปหักกลบลบหนี้กับต้นเงินที่จำเลยยังไม่ได้ชำระหรือถือเอาว่าเป็นการชำระหนี้ต้นเงินกู้บางส่วนตามสัญญาแล้วได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลยแต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเริ่มนับแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม ดังนั้น ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด หาใช่ดอกเบี้ยตามสัญญาซึ่งโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยไม่ เมื่อหนังสือทวงถามครบกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 29 ตุลาคม 2541ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6211/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประสานงานเสนอขายที่ดินให้หน่วยงานรัฐมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินให้เสนอขายที่ดินแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์คลังพัสดุและได้มีการยื่นซองประกวดราคาแล้ว ต่อมาจำเลยได้ขอให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการขายที่ดินดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินให้โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท ในวันที่ทำการโอนขายที่ดินให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลังจากนั้นจำเลยได้ทำข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าใช้จ่ายแก่โจทก์เพิ่มเป็นเงินจำนวน 8,000,000 บาท ในที่สุดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้เสนอขาย แต่ในการจัดซื้อที่ดิน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องปฏิบัติไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ. ศ. 2497 และข้อบังคับที่ออกสืบเนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าว การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรอยู่ในฐานะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีโอกาสเหนือกว่าเอกชนรายอื่นในการเสนอขายที่ดินให้แก่รัฐวิสาหกิจด้วยกัน ได้ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินดังกล่าวให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จึงมีความหมายยิ่งกว่าการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงธุรกิจ เมื่อโจทก์และ ศ. ซึ่งเป็นประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต่างเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการบริหารและยุติธรรมของวุฒิสภาด้วยกันโดยโจทก์ได้รับเลือกจาก ศ. ให้เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ดังนั้นสายสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ศ. จึงผูกพันลึกซึ้งยิ่งกว่าการรู้จักกันโดยปกติธรรมดาทั่วไป อาจทำให้เอกชนรายอื่นที่ต้องเสนอราคาแข่งขันกับจำเลย ตกเป็นผู้เสียเปรียบจำเลย ทั้งยังกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐที่อาจต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อที่ดินในราคาที่ขาดการแข่งขันตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพที่ดินนั้น ถือได้ว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์กรของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารราชการในองค์กรของรัฐ จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินตามที่จำเลยจะให้เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6211/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประสานงานเสนอขายที่ดินให้หน่วยงานรัฐส่อขัดประโยชน์และขัดต่อความสงบเรียบร้อย จึงเป็นโมฆะ
จำเลยได้รับมอบอำนาจจาก จ. เจ้าของที่ดินให้เสนอขายที่ดินแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และได้มีการยื่นซองประกวดราคาแล้ว ต่อมาจำเลยได้ขอให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการขายที่ดินดังกล่าวโดยจำเลยตกลงจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่ง และได้มีการทำบันทึกข้อตกลงไว้ ต่อมาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดินดังกล่าว ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวหาใช่ข้อตกลงในทางธุรกิจตามปกติธรรมดาไม่ แต่เป็นการมอบให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยอันเป็นองค์กรแห่งรัฐ ประเภทรัฐวิสาหกิจซึ่งในการจัดซื้อที่ดินนั้นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องปฏิบัติไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฯ และข้อบังคับที่ออกสืบเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยโจทก์รู้จักเป็นส่วนตัวกับ ศ. ประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการการบริหารและยุติธรรมของวุฒิสภาด้วยกันกับโจทก์ และยังได้ตั้งโจทก์เป็นเลขานุการของ ศ. ในฐานะประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ดังนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ศ. จึงผูกพันลึกซึ้งยิ่งกว่าการรู้จักกันโดยปกติธรรมดาทั่วไปการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรอยู่ในฐานะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจด้วยกัน ได้ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินดังกล่าวให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงมีความหมายยิ่งกว่าการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงธุรกิจและอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างเอกชนกับรัฐกล่าวคือ ทำให้โจทก์ใช้ความสนิทสนมและสถานะทางการงานที่ใกล้ชิดกับผู้บริหารสูงสุดขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเอื้อประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยคำนึงถึงค่าจ้างที่ได้รับจากจำเลยเป็นส่วนตัว การช่วยเหลือดังกล่าวอาจทำให้เอกชนรายอื่นที่ต้องเสนอราคาแข่งขันกับจำเลยตกเป็นผู้เสียเปรียบจำเลยเนื่องจากมิได้จ้างโจทก์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยคอยประสานงานและช่วยเหลือให้เกิดความเป็นธรรมดังเช่นการเสนอราคาของจำเลย ทั้งยังกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐที่อาจต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อที่ดินในราคาที่ขาดการแข่งขันตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพที่ดินนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์กรของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารราชการในองค์กรของรัฐ จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
of 132