คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการออกใบแทนโฉนดที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์ กรณีทายาทผู้มีส่วนได้เสียโต้แย้งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของ ส.และ น.ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ส. กับ น.โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทจึงมีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ฟ้อง ค.ในฐานะผู้จัดการมรดกของส. ให้โอนที่ดินหลายแปลงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลแพ่งแล้วจำเลยที่ 1 กับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ตกลงโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ตามฟ้องรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีนี้ด้วย และในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว ค.มิได้แยกที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.ออกก่อน น.และโจทก์ทั้งสามจึงได้ยื่นฟ้อง ค.ขอให้แบ่งสินสมรสและขอให้แบ่งมรดกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10864/2534 ของศาลแพ่ง และ น.ได้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1กับ ค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นสินสมรสของ น. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16824/2534ของศาลแพ่ง ในระหว่างดำเนินคดีดังกล่าว ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ค.ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ค.ไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ศาล ศาลแพ่งจึงมีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่ 10 ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสามคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าออกใบแทนไม่ได้เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์มิได้สูญหายไป แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ยังฝ่าฝืนออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง ๆ ที่ปิดประกาศไม่ครบกำหนดและไม่ได้ปิดประกาศในที่ดินพิพาททุกแปลงอันเป็นการไม่ชอบแล้วโอนให้จำเลยที่ 1 เสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8รู้ว่าโจทก์ทั้งสามและ น.ได้ฟ้อง ค.ขอแบ่งสินสมรสและแบ่งมรดกและได้ฟ้องคดีขอให้มีคำพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523ของศาลแพ่ง ไม่มีผลผูกพันสินสมรสของ น. ทั้งนี้ จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 สมคบกันกระทำเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสามถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของนายสดที่โจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 ที่สมคบกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันนั้นทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย คำพิพากษาและการบังคับคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามในคดีนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว
แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันนั้นศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่น จึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดดังกล่าวและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ไม่มีเหตุตามกฎหมายใดในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน: โจทก์ผิดสัญญาเนื่องจากไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยต่อไปได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินกับโจทก์ครั้นถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้อันเป็นความผิดของฝ่ายโจทก์เองหาใช่ความผิดของจำเลยไม่โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทจนกว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้สิทธิอาศัยของจำเลยจึงยังคงมีอยู่ตามสัญญาเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินและอาคารพิพาทการที่จำเลยอยู่ในอาคารโดยมีสิทธิตามสัญญาจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การซื้อขายทอดตลาดและการเพิกถอนการจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว หากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 กับส่วนของ พ.ออกขายทอดตลาด จำเลยที่ 2 เป็นผู้ซื้อได้และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 2เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังประกาศขายทอดตลาดที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 และ พ. ตามคำสั่งศาล ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้คืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โดยนำมาวางไว้ต่อศาลชั้นต้น เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของการบังคับคดีที่กำหนดไว้ก่อนหลังตามคำพิพากษาจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายการที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 และ พ. จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลและจดทะเบียนการโอนที่ดินดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 2ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิของโจทก์เมื่อจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลชั้นต้นขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1แล้วหากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยที่1คืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์คดีถึงที่สุดแล้วต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1กับส่วนของพ.ออกขายทอดตลาดจำเลยที่2เป็นผู้ซื้อได้และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยที่2เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้จำเลยที่1โอนที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ให้แก่โจทก์นั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังประกาศขายทอดตลาดที่ดินส่วนของจำเลยที่1และพ. ตามคำสั่งศาลถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่1ไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้และเมื่อจำเลยที่1ได้คืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โดยนำมาวางไว้ต่อศาลชั้นต้นเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของการบังคับคดีที่กำหนดไว้ก่อนหลังตามคำพิพากษาจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายการที่จำเลยที่2ซื้อที่ดินส่วนของจำเลยที่1และพ. จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลและจดทะเบียนการโอนที่ดินดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ขายมีหน้าที่ชำระเอง แม้สัญญาจะระบุให้แบ่งจ่าย
ภาษีธุรกิจเฉพาะมิใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/2(6)ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)พ.ศ.2534ซึ่งบังคับให้ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งภาษีประเภทนี้มิใช่เป็นภาษีหักณที่จ่ายแต่เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการจะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/10เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเกิดจากลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์เองแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2กำหนดให้ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมดออกกันคนละครึ่งก็จะแปลให้จำเลยที่2ต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะครึ่งหนึ่งด้วยไม่ได้เพราะเท่ากับให้จำเลยที่2ต้องชำระภาษีในกิจการของโจทก์นอกเหนือไปจากภาษีที่ต้องจ่ายในขณะที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ขายมีหน้าที่ชำระ แม้สัญญาจะระบุให้แบ่งจ่าย
ภาษีธุรกิจเฉพาะมิใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่เป็นภาษีอากรที่ประมวลรัษฎากรมาตรา91/2(6)บังคับให้ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้เสียและมิใช่ภาษีหักณที่จ่ายแต่เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการจะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามมาตรา91/10โจทก์เป็นผู้ขายที่ดินให้แก่จำเลยโจทก์จึงเป็นผู้รับผิดชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมโจทก์และจำเลยจะตกลงกันให้ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมดออกกันคนละครึ่งก็จะแปลให้จำเลยต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะครึ่งหนึ่งด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ เจ้าหนี้จำเลยยึดทรัพย์ได้
ตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารมีใจความว่าจำเลยได้จดทะเบียนจำนองบ้านและที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคารคงมีหนี้ค้างชำระอยู่302,000บาทผู้ร้องยอมเป็นผู้ชำระเองเมื่อผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคารครบแล้วจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องต่อไปแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในทันที่แต่จะโอนกันเมื่อผู้ร้องได้ชำระหนี้จำนองของจำเลยแก่ธนาคารครบถ้วนแล้วสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายการครอบครองบ้านและที่ดินของผู้ร้องเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเท่านั้นกรรมสิทธิ์ในบ้านและสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่หาได้ตกเป็นของผู้ร้องไม่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยึดบ้านและที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการแบ่งแยกโฉนดและการสวมสิทธิของผู้จัดการมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อท. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วท. เป็นตัวแทนของโจทก์ไปยื่นเรื่องราวขอแบ่งแยกออกโฉนดใหม่และจะได้โอนให้โจทก์ต่อไปแต่ท. ถึงแก่ความตายเสียก่อนจำเลยซึ่งเป็นบุตรของท. ได้เข้าสวมสิทธิในการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทจนทางราชการออกโฉนดให้ในนามของจำเลยแต่จำเลยให้การเพียงว่าท. กับโจทก์จะตกลงกันเป็นตัวการตัวแทนเพื่อยื่นเรื่องราวขอให้ทางราชการแบ่งแยกที่ดินพิพาทหรือไม่จำเลยไม่ทราบไม่รับรองและไม่ปรากฏหลักฐานดังนี้จำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุการณ์แห่งการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าท. ได้ขอออกโฉนดที่ดินส่วนที่ขายให้โจทก์ในนามท. แล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ทั้งการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และท. ตกเป็นโมฆะเพราะทำการซื้อขายที่ดินโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีนั้นจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ไว้ย่อมไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินด้วยการโอนชื่อในหลักฐานภาษีบำรุงท้องที่ มิใช่การโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน คู่สัญญาตกลงกันเองได้
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน 6 แปลง จากจำเลยในราคา 1,200,000 บาท โดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน 350,000 บาท และจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกัน ดังนั้น ข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า "คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน" จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเอง ซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้ว แต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอน ฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา
of 56